คุณผู้อ่านเคยได้ยินคำว่า “ยาขยะ” และ “ยาเหลือใช้” กันมาบ้างไหมคะ… แล้วทราบหรือเปล่าคะว่ามันมีความหมายว่าอย่างไรถ้ายังไม่เคยได้ยิน… ไม่ทราบความหมาย… หรือไม่แน่ใจ… มานั่งข้าง ๆ ดิฉันเลยค่ะ เดี๋ยวจะเม้าท์มอย เอ๊ย! เล่าให้ฟัง…
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยาเหลือใช้ หมายถึง ยาที่ผู้ป่วยได้รับไปแล้วใช้ไม่หมด ก็จะมีบางส่วนเหลือไว้ไม่ได้นำไปใช้ต่อ
ส่วน… ยาขยะ ก็จะหมายถึง ยาเหลือใช้ที่…
- เสื่อมสภาพ
- หมดอายุ
- ไม่มีฉลาก
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ยาเหลือใช้ หมายรวมถึงทั้งยาที่ยังใช้ได้(แต่ไม่ได้ใช้) และยาที่ไม่ควรนำมาใช้อีก ในขณะที่ยาขยะ จะหมายถึงเฉพาะยาที่ไม่ควรนำมาใช้อีกเท่านั้น …ถ้าพูดแบบนักคณิตศาสตร์ ก็คงต้องบอกว่า “ยาขยะเป็น Subset ของยาเหลือใช้” นั่นแหละค่ะ ^_^
สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเหลือใช้ ได้แก่…
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- แพทย์สั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วยมากเกินกว่าที่จะใช้จริง
- แพทย์มีการเปลี่ยนแปลงการรักษา เช่นลดขนาดการใช้ หรือเปลี่ยนชนิดยา
- ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนใช้ยาหมด
- ผู้ป่วยหยุดใช้เนื่องจากโรค / อาการเจ็บป่วยหายดีแล้ว
- ผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่อเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- ผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยาตามแพทย์สั่ง
และสาเหตุที่ทำให้ยาเหลือใช้ กลายเป็นยาขยะ ได้แก่..
- การเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม ทำให้ยาเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุจริง
- การเก็บยาไว้นานเกินไปจนยาหมดอายุ
- เปลี่ยนภาชนะบรรจุโดยไม่เก็บฉลากเดิมของยาไว้ด้วย หรือฉลากยาฉีกขาด / ลบเลือน
มีการทำการศึกษาวิจัยทั้งในและนอกประเทศ สรุปได้สอดคล้องกันว่า
เกือบทุกครัวเรือนล้วนมียาเหลือใช้ – ยาขยะ
(ไม่ทราบว่า… เช่นเดียวกับบ้านของคุณผู้อ่านด้วยหรือไม่คะ ^_^)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ ที่พบได้เป็นปกติไปซะแล้ว
ถึงเวลาลุกขึ้นมาปฏิวัติการสร้าง “ยาเหลือใช้ – ยาขยะ” กันเสียทีจะดีไหมคะ
ก็แล้วทำไมต้องปรับเปลี่ยนล่ะ… สงสัยกันมั้ย…
เงียบบบบบบบ อืมม์…ดิฉันคิด(เอาเอง)ว่าคุณผู้อ่านก็สงสัยแต่ไม่อยากถามก็แล้วกันนะคะ ไม่เป็นไร ดิฉันถามเองตอบเองเลยก็ไม่ …ไม่ถือฮ่ะ ^_^ ว่า…
“ก็แหม… เพราะยาเหลือใช้ – ยาขยะนั้นมันมีผลเสียน่ะสิคะ”
ผลเสียของยาเหลือใช้ – ยาขยะ ได้แก่…
1. สิ้นเปลือง …ว่ากันตรง ๆ เลยนะคะ ไม่ต้องใช้ภาษาสละสลวยให้ยุ่งยาก ^_^ ถ้าเป็นยาที่ซื้อหามาเองก็เป็นการสิ้นเปลืองเงินในกระเป๋าโดยใช่เหตุ แต่สำหรับยาที่ได้รับจากโรงพยาบาล โดยใช้สิทธิ์การรักษาตามหลักประกันสุขภาพ แม้ไม่ได้ควักเงินออกมาจากกระเป๋าของเราโดยตรง แต่ก็เป็นการสิ้นเปลืองเงินงบประมาณของชาติ ซึ่งจะว่าไปแล้ว… ก็มาจากเงินภาษีของประชาชนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี่เองล่ะค่ะ
จากที่ ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด ทำการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับยาเหลือใช้ / ยาขยะ พบข้อมูลในประเทศต่าง ๆ มีความสอดคล้องกันว่า จากยาทั้งหมดที่มีการจ่ายออกไปให้กับผู้ป่วย จะมีร้อยละ 3 – 20 ที่กลายเป็นยาเหลือใช้ …ถ้าอ่านแล้วยังไม่ตกใจ เห็นเป็นเรื่อง “จิ๊บ ๆ” ล่ะก้อ… ลองคิดเป็นเม็ดเงิน (อ้างอิงจาก… มาลี งามประเสริฐ, ลดาทิพย์ สุวรรณ. บันทึกบทเรียน การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประจำสู่งานวิจัย) คิดเฉพาะในประเทศไทยก็ประมาณร้อยกว่าล้านบาทต่อปีเลย โห…น่าเสียดายใช่ไหมล่ะคะ
ใช่แล้ว! จะมาผลาญเงินภาษีไปกับการใช้ยาแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ อย่างนี่ไม่เข้าท่าที่สุด!!!
ใจเย็นค่ะคุณพี่… เพิ่งไปจ่ายภาษีช่วยชาติเป็นเงินก้อนใหญ่มาก..ก….ก……มาใช่ไหมคะ เลย “อิน” เป็นพิเศษ แหม… เดินกระปลกกระเปลี้ยหน้าซีดเผือดมาเลย มาค่ะ… มานั่งดมยาดมให้หายใจโล่งดีกว่านะคะ
2. การรักษาไม่ได้ผล หรือเกิดอันตรายต่อร่างกาย
อันเนื่องจาก สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดยาเหลือใช้ ก็คือการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้ไม่ครบจำนวนหรือระยะเวลาที่แพทย์สั่ง ซึ่งยาบางประเภท เช่นยารักษาโรคเรื้อรังจะต้องมีการใช้ต่อเนื่องเพื่อควบคุมภาวะของโรคหรืออาการเจ็บป่วยให้เป็นปกติหรือป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือยาปฏิชีวนะ จะต้องมีการใช้ติดต่อกันจนครบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้เชื้อถูกกำจัดไปจนหมด ไม่กลับมาเป็นซ้ำหรือเกิดการดื้อยาในภายหลัง การหยุดใช้ยาเพราะเห็นว่าไม่มีอาการเจ็บป่วยแล้ว จึงทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี
และหากยาที่เหลือใช้นั้น กลายเป็นยาขยะ ซึ่งไม่ทราบสรรพคุณที่แท้จริง (กรณีที่ฉลากลบเลือนหรือฉีกขาด) หรือเสื่อมสภาพไปแล้ว หากนำมาใช้ นอกจากจะทำให้รักษาไม่หาย ก็ยังอาจเกิดพิษจากยาอีกด้วย
ฝ่ายเภสัชกรรมของเรา เคยได้มีการสำรวจยาเหลือใช้ – ยาขยะที่ผู้รับบริการนำมาคืนในช่วงที่มีการจัดนิทรรศการ สัปดาห์เภสัชกรรม 2553 พบว่า ประมาณร้อยละ 40 ของยาที่นำมาคืนเป็นยาขยะ!!!
…ดูแล้วน่าตกใจนะคะ เพราะนั่นหมายถึง เกือบครึ่งหนึ่งของยาทั้งหมด หากไม่มีการนำมาคืน ก็จะยังอยู่ที่บ้านของผู้ป่วยบางท่าน ซึ่งอาจถูกนำไปใช้เองหรือโดยคนในครอบครัวในวันใดวันหนึ่ง และเกิดอันตรายตามมาได้
แล้วเราจะป้องกันการเกิด “ยาเหลือใช้” และ “ยาขยะ” ได้อย่างไร…
ติดตามอ่านต่อได้ในคราวหน้านะคะ