กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เมื่อท้องผูก ควรทำอย่างไรดี จะได้หายปกติในเร็ววัน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 21 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

คนเราเกิดมาก็ต้องกินอาหารเพื่อให้ชีวิตอยู่รอดและเมื่อกินอาหารเข้าไปแล้วก็จำเป็นต้องถ่ายกากอาหารหรือที่เรียกว่า อุจจาระ ออกมา ถ้าหากเป็นเช่นนี้ก็ถือได้ว่ากลไกการทำงานของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ

แต่หากกลไกการทำงานของร่างกายดังกล่าวเกิดขัดข้องขึ้นมา ส่งผลให้แทนที่กินอาหารเข้าไปแล้วจะต้องถ่ายเป็นอุจจาระออกมากลับกลายเป็นไม่ถ่ายเลยหรือถ่ายอุจจาระด้วยความยากลำบาก เบ่งอย่างไรก็ไม่ออก หรือมีการถ่ายอุจจาระ น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งเราเรียกอาการนี้กันว่า ท้องผูก นั่นเอง

ทำอย่างไรดีเมื่อท้องผูก

  1. ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตรต่อวัน
  2. ออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 7 ชั่วโมงต่อวัน
  3. หากมีอาการปวดท้องอยากถ่ายต้องรีบไปเข้าห้องน้ำเพื่อทำการถ่ายอุจจาระทันที ห้ามอั้นเอาไว้โดยเด็ดขาดและควรฝึกนิสัยให้มีการขับถ่ายให้ตรงเวลาเป็นกิจวัตรประจำวัน
  4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเส้นใยหรือไฟเบอร์น้อย เช่น ชีส ไอศกรีม ควรกินแต่อาหารที่มีเส้นใยหรือไฟเบอร์สูงอย่างเช่น ผัก ผลไม้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มจำพวก ชา กาแฟ แอลกอฮอล์
  5. หลีกเลี่ยงการกินยาถ่ายเพราะจะทำให้กลไกการขับถ่ายทางร่างกายเสียสมดุลได้
  6. หลีกเลี่ยงการกินยาบางประเภท เช่น ยาคลายความเครียด ยาลดอาการซึมเศร้า อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณสูง เพราะจะทำให้กระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้นได้ช้าลง ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
  7. ทานมะขามเปียก โดยใช้มะขามเปียกประมาณ 2- 3 ฝัก มาบดผสมกันกับน้ำอุ่นประมาณ 3 แก้วแล้วทำการเติมเกลือลงไปสักหน่อย ดื่มน้ำมะขามเปียกก่อนนอน จะทำให้ช่วงเช้าสามารถขับถ่ายได้อย่างสะดวก
  8. ทานเม็ดแมงลัก โดยการใช้เม็ดแมงลักประมาณ 2 ช้อนแกงผสมกับน้ำประมาณ 1 แก้ว รอจนเม็ดแมงลักพองตัวเต็มที่จึงดื่มก่อนเข้านอน เนื่องจากเม็ดแมงลักมีลักษณะเป็นเมือกจึงทำให้ขับถ่ายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  9. เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ให้หาน้ำอุ่นมาดื่มประมาณ 2 แก้ว เพราะการดื่มน้ำตอนขณะที่ท้องยังว่างจะทำให้ลำไส้บีบตัวส่งผลให้เกิดอาการปวดอุจจาระทันที
  10. เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ให้ทำการแขม่วท้องสลับกันไปมา ให้มากที่สุดเพราะเป็นการทำให้ลำไส้เกิดการบิดตัวจึงมีส่วนช่วยให้การขับถ่ายดียิ่งขึ้น

ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการขับถ่ายที่สุด

ช่วงเวลาประมาณ ตี 5 จนกระทั่งถึง 7 โมงเช้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงานพอดี หากร่างกายไม่มีการขับถ่ายเกิดขึ้น ร่างกายจะดูดน้ำจากอุจจาระกลับ ทำให้อุจจาระมีลักษณะแข็งตัวส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกและขับถ่ายยากตามมาในที่สุด


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Constipation after surgery: What to know and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323264)
Constipation After Surgery: What to Expect. Healthline. (https://www.healthline.com/health/digestive-health/constipation-after-surgery)
Natural ways to relieve constipation. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/bladder-and-bowel/natural-ways-to-relieve-constipation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป