กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

เจ็บช่องคลอด (Vaginal Pain)

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เจ็บช่องคลอด เป็นอาการเจ็บบริเวณปากช่องคลอด หมายรวมถึง บริเวณรอบช่องคลอด รูเปิดของช่องคลอด หัวเหน่า แคมเล็ก แคมใหญ่ และคลิตอริส (clitoris) เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง
  • อาการเจ็บช่องคลอดเรื้อรังมักได้แก่ ปวดแสบปวดร้อนบริเวณรอบๆ ด้านนอกปากช่องคลอด และอาจมีอาการเจ็บช่องคลอดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ใส่ผ้าอนามัยแบบสอด นั่งนานๆ ใส่เสื้อผ้าคับเกินไป รวมทั้งการขี่จักรยาน
  • สาเหตุการเจ็บช่องคลอดที่พบบ่อย ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อรา ติดเชื้อหนองในเทียม ติดเชื้อหนองในแท้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากช่องคลอดแห้งในวัยทอง มะเร็งปากมดลูก ภาวะทางจิตบางอย่าง
  • การรักษาภาวะนี้ประกอบด้วยการใช้ยาทา ยารับประทาน การฉีดยา และการรักษาแบบอื่น ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเจ็บช่องคลอด
  • การดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อป้องกันภาวะนี้ เช่น อย่าใช้น้ำยาสวนล้างช่องคลอด ใส่กางเกงและกางเกงในที่ไม่คับ หรือรัดแน่นจนเกินไป ใช้เจลหล่อลื่นเวลามีเพศสัมพันธ์ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหญิง

การเจ็บช่องคลอด เป็นอาการเจ็บบริเวณปากช่องคลอด หมายรวมถึง บริเวณรอบช่องคลอด รูเปิดของช่องคลอด หัวเหน่า แคมเล็ก แคมใหญ่ และคลิตอริส (clitoris) 

สถิติของสถาบันสุขภาพแห่งชาติพบว่า ผู้หญิงอายุระหว่าง 18-64 ปี จำนวน 9-18% ต่างเคยมีอาการเจ็บช่องคลอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของภาวะเจ็บช่องคลอด

อาการของภาวะนี้ในแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ได้แก่

  • ปวดแสบปวดร้อน หรือปวดเหมือนของมีคมบาด
  • คันช่องคลอด
  • เจ็บปวด หรือรู้สึกระคายเคือง มีความรู้สึกคล้ายมีของขรุขระมาถู
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ปวดตุบๆ

ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดในบางบริเวณโดยเฉพาะ เช่น คลิตอริส หรือบริเวณรูเปิดของช่องคลอด ในขณะที่บางคนมีอาการปวดทั่วๆ ทั้งช่องคลอด 

อาการปวดอาจเป็นตลอดเวลา หรืออาจปวดเฉพาะเวลามีอะไรมาสัมผัสบริเวณนั้น ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดเวลาล้างทำความสะอาดช่องคลอด หรือขณะมีเพศสัมพันธ์

อาการเจ็บช่องคลอดเรื้อรัง (Vulvar vestibulitis)

Vulvar vestibulitis คือ อาการเจ็บเรื้อรังบริเวณรอบปากช่องคลอด (Vulvar vestibule) บางครั้งอาจเรียกว่า "กลุ่มอาการเจ็บช่องคลอดเฉพาะที่" ส่วนมากมักไม่มีสาเหตุชัดเจน

ผู้ป่วยมักอธิบายว่า มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณรอบๆ ด้านนอกปากช่องคลอด และอาจมีอาการเจ็บช่องคลอดเรื้อรังเมื่อทำกิจกรรมดังต่อไปนี้

  • มีเพศสัมพันธ์
  • ใส่ผ้าอนามัยชนิดสอด
  • นั่งนานๆ
  • ใส่เสื้อผ้าที่คับเกินไป
  • ขี่จักรยาน

อาการเจ็บช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์

ผู้หญิงหลายคนมีอาการเจ็บช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากการติดเชื้อรา สังเกตได้จากการอาการคัน หรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณช่องคลอดรวมทั้งมีตกขาวสีขาวขุ่นและเหนียว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ เส้นเลือดขอดบริเวณปากช่องคลอด หรือมีแรงกดเพิ่มขึ้นบริเวณเส้นประสาทพูเดนดัล (Pudendal nerve) ซึ่งอยู่ระหว่างอวัยวะเพศและรูทวาร

สาเหตุของอาการเจ็บช่องคลอด

สาเหตุของอาการเจ็บช่องคลอดที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อรา ติดเชื้อหนองในเทียม ติดเชื้อหนองในแท้ 

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บช่องคลอดได้เช่นกัน คือ

  • การได้รับบาดเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์ การคลอด การผ่าตัด หรือกระบวนการทางแพทย์อื่นๆ 
  • ช่องคลอดแห้งเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตเจนลดลงหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • ภาวะเจ็บช่องคลอดเรื้อรัง
  • มะเร็งปากมดลูก
  • ภาวะทางจิต เช่น เคยถูกล่วงละเมิด หรือถูกกระทำรุนแรงทางเพศ

การรักษาอาการเจ็บช่องคลอด

ไม่มีการรักษาแบบใดแบบหนึ่งที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับทุกคน ดังนั้นเมื่อมีอาการเจ็บช่องคลอดควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาซึ่งมีด้วยกันหลายวิธี ได้แก่

  • การใช้ยาทาประเภทขี้ผึ้ง หรือครีมที่มีส่วนผสมของฮอร์โมน
  • การรับประทานยา เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาแก้ปวด
  • การฉีดยาชาเฉพาะที่
  • การทำกายภาพบำบัด เช่น การออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
  • การรักษาเสริมอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวด 

ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเจ็บช่องคลอดจากบางสาเหตุอาจจำเป็นต้องผ่าตัด โดยมักเป็นการผ่าตัดเพื่อตัดเนื้อส่วนที่เจ็บออกไป 

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดไม่ได้เป็นการรักษาที่แนะนำในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการเจ็บช่องคลอด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการเจ็บช่องคลอด

คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้อาการเจ็บช่องคลอดดีขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงใน หรือกางเกงที่แน่นเกินไป
  • ใส่กางเกงในที่ทำจากผ้าฝ้ายแท้ 100%
  • อย่าใช้น้ำยาล้างช่องคลอด
  • ล้างช่องคลอดด้วยน้ำเปล่าเท่านั้น 
  • หลีกเลี่ยงการถูช่องคลอด การใช้น้ำหอม โฟมอาบน้ำ หรือสบู่ที่ผสมน้ำหอม
  • ใช้เจลหล่อลื่นเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ประคบเย็นบริเวณช่องคลอดเมื่อมีอาการเจ็บและคัน
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมใดๆ ที่ก่อให้เกิดแรงกดที่ช่องคลอดโดยตรง เช่น การขี่จักรยาน หรือการขี่ม้า
  • นั่งแช่ช่องคลอดในน้ำอุ่นประมาณ 5-10 นาที ตามด้วยการทาครีม เพื่อรักษาความชุ่มชื้นบริเวณช่องคลอดในกรณีผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน

หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง หากมีความผิดปกติให้ลองหาสาเหตุว่า น่าจะเกิดจากอะไรแล้วพยายามดูแลตนเอง หรือปฐมพยาบาลตนเองก่อนในเบื้องต้นก่อน 

แต่หากอาการเจ็บช่องคลอดรุนแรงมากขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นใด ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องต่อไป 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
William C. Shiel Jr., MD, Vaginal Pain: Symptoms & Signs (https://www.medicinenet.com/vaginal_pain/symptoms.htm), 9 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ตอนนนี้ท้อง7เดือนกว่าค่ะแต่เจ็บตรงจิมิเปนไรป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้ตังครรภ์ได้ 35 วีคค่ะ น้ำหนักเด็กตอนนี้ 2,249 กรัม แม่สูง 142 ถ้าจะคลอดธรรมชาติสามารถคลอดเองได้ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการคันในช่องคลอดเกิดจากสาเหตุใดบ้าง และมีวิธีรักษาอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หลังคลอดบุตรตอนนี้ผ่านมา3ปีกว่าแล้วค่ะแต่บางทีเวลาเดินจะมีลมออกทางช่องคลอดพยายามขมิบแต่ก็ไม่หายต้องทำยังไงค่ะกังวลมากค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้ตั้งครรภ์อยู่ค่ะ จะสอบถามวิธีรักษสุขภาพและเตรียมตัวก่อนคลอดต้องทำอย่างไรบ้าง?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)