โรคฮันนีมูนคืออะไร อาการ สาเหตุ วิธีการป้องกัน และวิธีการรักษา

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคฮันนีมูนคืออะไร อาการ สาเหตุ วิธีการป้องกัน และวิธีการรักษา

“โรคฮันนีมูน” ชื่อนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกันสักเท่าไรนัก แต่เชื่อว่าสาวๆ ที่แต่งงานแล้วอาจจะเคยประสบปัญหาโรคนี้กันมาบ้าง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดกับผู้หญิงโดยมีผู้ชายมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคชนิดนี้ และเหตุผลที่เรียกว่าโรคฮันนีมูน ก็เป็นเพราะมักจะเกิดขึ้นในช่วงฮันนีมูนหรือเวลาแห่งความรัก ทำให้มีเพศสัมพันธ์บ่อยๆ ในระยะเวลาอันสั้น

อาการของโรคฮันนีมูน

อาการทั่วไปของผู้หญิงที่เป็นโรคฮันนีมูน จะมีอาการปัสสาวะขัดหรือรู้สึกเจ็บแสบบริเวณปลายท่อปัสสาวะและช่องคลอด บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีการติดเชื้ออักเสบและลุกลามมากขึ้น ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยและรู้สึกปวดแสบปวดร้อนขณะที่กำลังปัสสาวะ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ปัสสาวะแล้วรู้สึกว่าไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรืออาจจะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงและมีเลือดปนมากับปัสสาวะด้วย อีกทั้งหากมีเพศสัมพันธ์ในระยะนี้ ก็อาจจะทำให้มีอาการปวดท้องน้อยตอนที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ด้วยอาการเหล่านี้จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่า ตัวเองน่าจะเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากมีอาการเบื้องต้นที่คล้ายกันนั่นเอง จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโรค ถึงจะสามารถระบุได้ว่าเป็นโรคฮันนีมูนใช่หรือไม่

สาเหตุของโรคฮันนีมูน

อันดับแรกๆ คือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์หลายครั้งในเวลาสั้นๆ เป็นประจำ ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะนานๆ มีพฤติกรรมการดื่มน้ำน้อย ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดหรือรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณอวัยวะเพศและกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งถ้าเราละเลยโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

หากมีการติดเชื้อโรคชนิดแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีโอกาสในการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนอย่างเช่นกรวยไตและหลอดไต ทำให้มีผลต่อไตโดยตรงในระยะยาว และอาจเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

วิธีการรักษาโรคฮันนีมูน

สิ่งแรกที่ผู้ป่วยโรคฮันนีมูนควรปฏิบัติโดยด่วนที่สุดคือ หยุดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น จากนั้นควรหมั่นดื่มน้ำเปล่ามากๆ จะช่วยระบายเชื้อโรคที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะออกมาในรูปของปัสสาวะ

แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากควรไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด ซึ่งอาจจะต้องมีการตรวจปัสสาวะโดยการเพาะเชื้อ หากพบว่ามีความผิดปกติจะต้องรับประทานยาประเภทยาปฏิชีวนะ รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

วิธีการป้องกันโรคฮันนีมูน

โดยปกติถ้าเราพักการมีเพศสัมพันธ์และดื่มน้ำเปล่ามากๆ โรคฮันนีมูนจะสามารถหายได้เองภายในเวลา 5 – 7 วัน แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว การมีเพศสัมพันธ์ก็ควรอยู่ในความเหมาะสม โดยไม่ใช้ท่าทางที่พิสดารจนทำให้อวัยวะเพศมีการบาดเจ็บได้ และหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ให้ปัสสาวะออกและทำความสะอาดอวัยวะเพศให้สะอาด รวมถึงในชีวิตประจำวันที่ไม่มีเพศสัมพันธ์ด้วยก็ตาม

นอกจากนี้เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะก็ไม่ควรกลั้นเป็นเวลานานๆ และหมั่นสังเกตพฤติกรรมการปัสสาวะของตัวเอง ว่ามีลักษณะที่ผิดปกติไปจากเดิมบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะหลังการเดินทางจากช่วงฮันนีมูน พร้อมกับตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคฮันนีมูนได้พอสมควร

การมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่ก็ควรอยู่ในความพอดีอย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน ไม่มากและไม่น้อยเกินไปจนทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง เพราะถ้าผู้หญิงอย่างเรามีกิจกรรมทางเพศบ่อยๆ ในระยะเวลาอันสั้น จะมีโอกาสกลับมาเป็นโรคฮันนีมูนซ้ำได้อีก แม้ว่าจะไม่ใช่โรคที่ดูร้ายแรงหรือรุนแรงมากก็ตาม แต่ก็ยังมีความอันตรายต่อโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะหรือโรคร้ายแรงอื่นๆ อีกด้วย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cystitis: Symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/152997)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?

เลือดออกอาจไม่ได้หมายความว่า "คุณคือคนแรกของเธอ" แต่อาจร้ายแรงยิ่งกว่านั้น หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขก่อนจะรุนแรงไปกว่านี้

อ่านเพิ่ม
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)

อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม
วงจรของความสัมพันธ์ที่มีการกดขี่ทางเพศ
วงจรของความสัมพันธ์ที่มีการกดขี่ทางเพศ

ทำไมเด็กที่ถูกข่มเหงทางเพศโตมาแล้วกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในความสัมพันธ์

อ่านเพิ่ม