คนที่เคยถูกข่มเหงทางเพศในตอนเด็ก มักกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์แบบกดขี่ข่มเหงต่อ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำ เป็นการยากที่จะอธิบายว่าทำไมพวกเขาจึงกลับเข้ามามีความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้
Maureen Canning อดีตผู้รอดชีวิตจากการข่มเหงทางเพศ และปัจจุบันเป็นผู้ให้การบำบัดอาการติดเซ็กซ์และความสัมพันธ์ ได้กล่าวถึงเหตุผลเหล่านี้ในหนังสือชื่อ “หลง โกรธ รัก: เข้าใจอาการติดเซ็กซ์และวิธีในการมีความสัมพันธ์ที่ดี” (Lust, Anger, Love: understanding sexual addiction and the road to healthy intimacy) โดยแบ่งออกเป็น 10 สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
1. รู้สึกคุ้นเคย
หากมีการเชื่อมโยงการข่มเหงเข้ากับความรักในตอนเด็ก ความรู้สึกอับอายหรือโกรธที่มักจะตามมาหลังการถูกข่มเหง จะถูกแปลความหมายว่าเป็นความรู้สึกรักและปรารถนา คนเหล่านี้อาจไม่สามารถนึกถึงความรู้สึกในความสัมพันธ์รูปแบบอื่นได้ พวกเขาจะเข้าใจว่าตนเองมีความรักต่อผู้กระทำ และเมื่อต่อมาพวกเขาเป็นผู้กระทำในความสัมพันธ์ พวกเขาก็จะรู้สึกคุ้นเคยกับความรู้สึกอับอาย และความโกรธที่หมายถึงความรักและความปรารถนานั้น
2. เป็นความพยายามที่จะรักษา
การเป็นผู้กระทำทำให้ผู้ที่เคยถูกกระทำมาก่อนตอนเด็ก สามารถลองแก้ไขการกดขี่นั้นโดยการทำสิ่งที่ตรงกันข้าม และมีอำนาจมากกว่า หรือหากเป็นผู้ถูกกระทำในอีกความสัมพันธ์ พวกเขาก็จะได้พยายามปลดปล่อยความรู้สึกไม่ดีที่เคยเกิดกับผู้กระทำคนก่อน และหวังว่าครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
3. พวกเขารู้สึกว่าตนเองไม่ดีพอ
คนที่เคยถูกข่มเหงมาก่อนตอนเด็กอาจมีความเชื่อว่าตนเองไม่ดีพอที่จะมีความสัมพันธ์ในรูปแบบปกติ พวกเขารู้สึกว่าตนเองอยู่ในสถานะที่ต่ำกว่าคนอื่น ทำให้การยอมรับความรักนั้นยากขึ้น และพวกเขาอาจถูกชักจูงจากผู้กระทำว่าตนสมควรถูกกระทำ
4. พวกเขารู้สึกยิ่งใหญ่
คนที่เป็นผู้กระทำมักจะรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น และเป็นการยากที่จะเคารพว่าผู้อื่นอยู่ในระดับเดียวกับตน ทำให้ยากที่จะมีความสัมพันธ์ที่ต้องการการดูแลและเคารพซึ่งกันและกัน พวกเขาอาจรู้สึกว่าตนเองต่ำกว่าหรือสูงกว่าบางคนในขณะที่เริ่มความสัมพันธ์ที่มีการข่มเหงกับบุคคลอื่น
5. เป็นเครื่องมือในการมีอำนาจและการควบคุม
ผู้ที่เคยถูกกระทำมาก่อนอาจต้องการเป็นผู้กระทำ เพื่อให้ตนมีบทบาทที่มีอำนาจกว่า เพื่อให้ตนเองสามารถก้าวข้ามอดีตที่รู้สึกไม่มีอำนาจในตอนที่ถูกกระทำ
6. พวกเขาอาจเกิดอารมณ์ทางเพศจากพฤติกรรมของผู้กระทำ
ในบางกรณีหากในช่วงเริ่มต้นมีเพศสัมพันธ์มีการกดขี่ข่มเหงรวมอยู่ด้วย อาจทำให้พวกเขารู้สึกเกิดอารมณ์ทางเพศได้เมื่อพบกับพฤติกรรมข่มขู่แบบเดียวกัน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพวกเขาต้องการการถูกข่มเหงหรือมีความสุขกับการกระทำดังกล่าว และไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ถูกกระทำทุกคน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
7. พวกเขารู้สึกโกรธ
คนที่ถูกกระทำมาก่อนแบกรับความโกรธที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง และการเป็นผู้กระทำจึงเป็นวิธีหนึ่งในการระบายความโกรธแค้นนี้ออกมา
8. พวกเขาอาจต้องการทำร้ายผู้อื่นก่อนที่คนอื่นจะทำร้ายเขา
หากผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าการถูกข่มเหงหรือความเจ็บปวดนั้นไม่สามารถหยุดยั้งได้ เขาอาจจะมองการมีความสัมพันธ์เป็นเหยื่อ และต้องจำกัดก่อนที่ตนจะถูกกำจัด
9. พวกเขาต้องการความรุนแรง
เมื่อเด็กถูกทำทารุณกรรมทางเพศ เด็กเหล่านี้อาจรู้สึกสับสนระหว่างความรุนแรงกับความสุข ทำให้อาจดึงดูดให้เข้าสู่การกดขี่ข่มเหงผู้อื่นหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้ตนเองเกิดความสุข เนื่องจากพวกเขาต้องการเข้าใกล้อันตรายเพื่อให้ตนเองรู้สึกตื่นตัวหรือเข้าสู่จุดสุดยอด
10. เพราะการอาศัยอยู่ในโลกของจินตนาการนั้นปลอดภัยกว่าในความเป็นจริง
ผู้ถูกกระทำอาจหลบเข้าสู่จินตนาการเพื่อหลีกหนีจากความจริงที่เจ็บปวด จินตนาการนี้รวมถึงการยกย่องผู้กระทำหรือมองว่าการถูกกระทำนั้นเป็นผลมาจากความผิดหวังอย่างรุนแรงเมื่อพวกเขาไม่สามารถอยู่ในจินตนาการของตนได้