ฮิสทีเรีย คืออะไร

อาการขาดผู้ชายไม่ได้ เป็นความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคฮิสทีเรีย มาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดกันดีกว่า
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ฮิสทีเรีย คืออะไร

ความเชื่อที่ว่าอาการขาดผู้ชายไม่ได้ เป็นหนึ่งในอาการของผู้ป่วยโรคฮิสทีเรีย เป็นความเชื่อที่ผิดเพราะความเป็นจริงแล้ว โรคฮิสทีเรียเป็นความผิดปกติทางด้านจิตใจที่ครอบคลุมอาการต่างๆ ไม่ใช่แค่เพียงความต้องการทางเพศอย่างเดียวเท่านั้น มาดูกันว่าโรคฮิสทีเรียแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร

โรคฮิสทีเรียคืออะไร

โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือโรคจิตเวชทางด้านประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะควบคุมอารมณ์หรือความวิตกกังวลไม่ค่อยได้ อีกทั้งความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมก็ทำได้ไม่ดีเท่าคนปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของโรคฮิสทีเรีย

อาการของโรคแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้

โรคประสาทฮิสทีเรีย (Conversation Reaction)

เป็นอาการของผู้ที่มีความเครียด หรือความขัดแย้งในใจ มักเกิดจากความผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหวและรับรู้ ในเวลาที่มีอาการเครียดหรือผิดหวังอย่างรุนแรง เช่น มีอาการชาตามแขน ขา เป็นอัมพาต เสียการทรงตัว จมูกไม่ได้กลิ่น บางรายมีอาการสูญเสียความทรงจำอย่างกะทันหัน

ตรวจพบยาก เพราะไม่พบอาการผิดปกติ หรือสาเหตุที่ส่งผลให้ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งผู้ที่เป็นโรคนี้ก็อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นอาการทางจิต และไม่ได้แกล้งทำ

โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder: HPD)

เป็นอาการของผู้ที่พยายามทำตัวโดดเด่น หรือพยายามเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นตลอดเวลา และมักแสดงออกมากจนเกินไปเหมือนกับเล่นละครเสแสร้ง รวมทั้งมักจะไม่สบายใจและรู้สึกไม่มั่นใจ หากตนเองไม่ได้เป็นจุดเด่นหรือไม่ได้เป็นจุดดึงดูดความสนใจของคนอื่น

ในบางครั้งอาจจะดูเหมือนยั่วยวนเพศตรงข้ามเพื่อเรียกร้องให้คนอื่นมาสนใจ หรือมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดความรักในวัยเด็ก ไม่รู้จักพอในความรัก ซึ่งไม่ได้เกิดจากความใคร่อย่างที่เข้าใจกัน

สาเหตุของโรคฮิสทีเรีย

สาเหตุของโรคฮิสทีเรียยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจมีปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น หรือมีความเกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มีปัญหากับครอบครัว ปัญหาด้านการงาน หรืออาจมีปัญหาด้านอื่นๆ ร่วมด้วย
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความกดดัน ไม่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างที่ควร หรือไม่สม่ำเสมอ
  • มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม โดยหากบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพฮิสทีเรียได้
  • เกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมของคนในครอบครัวที่เป็นโรคฮิสทีเรีย

การวินิจฉัยโรคฮิสทีเรีย

บางครั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคฮิสทีเรียก็ไม่ทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งการพบโรคมักเกิดจากการไปรักษาโรคอื่น โดยที่แพทย์พบสัญญาณผิดปกติทางกายและจิตใจ จึงได้ตรวจและวินิจฉัยโรคจนพบ อีกทั้งผู้ที่เป็นโรคฮิสทีเรียยังมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าร่วมด้วยสูง และมักเกิดการกระทบกระทั่งด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ง่าย

การรักษาและวิธีการดูแลตนเอง

การรักษาโรคฮิสทีเรียสามารถทำได้ด้วยการไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการบำบัดทางจิต โดยจะเป็นการพูดคุยหาสาเหตุ รวมทั้งปรับความคิด การเรียนรู้ และพฤติกรรมของผู้ป่วยให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และอาจต้องมีการใช้ยาร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

ไม่แนะนำให้ซื้อยาสมุนไพรมาใช้เอง เพราะนอกจากจะเสี่ยงทำให้อาการของโรคไม่ดีขึ้นเท่าที่ควรแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นได้อีกด้วย ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคนี้จึงควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดจะดีที่สุด

การป้องกันโรคฮิสทีเรีย

เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคฮีสทีเรียยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด การป้องกันจึงทำได้ยากไปด้วย แต่สามารถป้องกันเบื้องต้นได้ด้วยการสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแรงจากครอบครัว

สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก และควรให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ เลี้ยงดูให้มีพฤติกรรมอย่างเหมาะสม เช่น รู้จักวางตัวเวลาอยู่กับผู้อื่น รู้วิธีจัดการอารมณ์ และความเครียด เพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดี ก็พอจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคฮิสทีเรียได้

โรคฮิสทีเรียเป็นโรคที่ต้องรักษาทางด้านจิตใจ และต้องปรับหรือควบคุมพฤติกรรมทางกายให้สมดุลไปพร้อมกัน ทั้งยังต้องอาศัยเวลาและความละเอียดอ่อนในการรักษา คนรอบข้างของผู้ป่วยจึงควรเข้าใจและอดทนดูแลอย่างจริงใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยข้ามผ่านโรคนี้ไปได้ และกลับมามีจิตใจและพฤติกรรมทางกายปกติเหมือนบุคคลทั่วไปในที่สุด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
NHS, Personality disorders (https://www.nhs.uk/conditions/personality-disorder/), 2 October 2017
Owens C and Dein S. Conversion disorder: the modern hysteria. Advances in Psychiatric Treatment. 2006; 12:152-157.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)