กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โครงสร้างของการนอน (Sleep Architecture) คืออะไร?

โครงสร้างของการนอนนั้นได้รับผลกระทบจากอายุและความผิดปกติ
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โครงสร้างของการนอน (Sleep Architecture) คืออะไร?

หากคุณเคยสงสัยว่าการนอนของคุณมีโครงสร้างอย่างไรและทำไมถึงต้องนอนในช่วงเย็น คุณอาจจะอยากเรียนรู้หัวข้อโครงสร้างของการนอน เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมทั่วไป โครงสร้างของการนอนนั้นหมายถึงวิธีในการที่การนอนถูกสร้างขึ้นมา แนวคิดของหัวข้อนี้ช่วยให้เราเข้าใจกับรูปแบบการนอนในระยะต่างๆ รูปแบบเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อมีอายุมากขึ้น และความผิดปกติทางการนอนอะไรบ้างที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างการนอนหลับนี้

คำนิยามของโครงสร้างการนอนหลับ

โครงสร้างการนอนหลับนั้นหมายถึงรูปแบบของการนอนหลับที่มีการเปลี่ยนไประหว่างแต่ละระยะของการนอน ตั้งแต่ non-rapid eye movement (NREM) และช่วง rapid eye movement (REM) โครงสร้างการนอนนี้ทำให้เราเห็นภาพว่าการนอนของเรามีลักษณะอย่างไรในช่วงกลางคืน รวมถึงเรื่องของการนอนหลับลึกและการตื่น โครงสร้างการนอนหลับนี้ยังอาจอธิบายได้ในรูปแบบกราฟที่เรียกว่า hypnogram

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยทั่วไปแล้วในแต่ละคืนมักจะมีรอบของการนอนหลับที่แตกต่างกัน 5 รอบแต่ละรอบนั้นจะมีความยาวประมาณ 90-120 นาที ในช่วงแรกของการนอน คุณจะเริ่มเปลี่ยนจากระยะการนอนหลับตื้น (เรียกว่า N1) ไปสู่การนอนหลับที่ลึกขึ้นและมีคลื่นการอนหนลับแบบช้า (เรียกว่า N2 และ N3) อาจมีการนอนแบบ REM เกิดขึ้นได้มากขึ้นในช่วงหลังของการนอน สลับกับช่วง N2 โดยการนอนแบบ REM ซึ่งย่อยมาจาก Rapid Eye Movement Sleep นั้นเป็นช่วงที่เรานอนหลับลึกที่สุด

ระยะนี้เป็นระยะที่จะเกิดการฝัน การที่มีการขัดขวางการนอนแบบ REM บ่อยๆ นั้นอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่นภาวะ sleep paralysis

โครงสร้างของการนอนหลับเปลี่ยนแปลงไปตามอายุได้อย่างไร

โครงสร้างการนอนหลับนี้มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุเช่นเดียวกับโครงสร้างอื่นๆ ของร่างกาย  คุณเคยพบกับผู้สูงอายุที่พบว่ามีปัญหานอนหลับยากหรือไม่?

มันมีเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังกรณีนี้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ปริมาณและคุณภาพของการนอนหลับของเราก็จะเปลี่ยนไป โดยการนอนที่มีคลื่นการนอนหลับแบบช้านั้นมักจะลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้นและมีการนอนแบบตื้นในระยะ N1 มากขึ้นแทน ทำให้คุณอาจจะตื่นระหว่างคืนได้ง่ายขึ้นและนอนหลับได้ยากขึ้นเมื่อตื่นมาแล้ว ทำให้คุณตื่นมากขึ้นและกลายเป็นโรคนอนไม่หลับซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา หลายครั้งที่ผู้ป่วยหลายคนต้องนอนหลับในช่วงกลางวันแทนเพื่อชดเชยการนอนที่ลดลงในตอนกลางคืน

ผลของความผิดปกติของการนอนหลับต่อโครงสร้างของการนอนหลับ

ความผิดปกติของการนอนหลับบางชนิดอาจส่งผลต่อโครงสร้างของการนอนหลับได้ แน่นอนว่าความผิดปกติของโครงสร้างของการนอนหลับบางแบบนั้นอาจจะเกิดขึ้นร่วมกับความผิดปกติในการนอน โดยหากมีการนอนแบบ REM เกิดขึ้นเร็วกว่า 90-120 ในรอบของการนอน นั้นอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

  • โรค Narcolepsy : ผู้ที่เป็นโรคนี้มักเข้าสู่การนอนหลับแบบ REM อย่างรวดเร็วกว่าปกติ
  • มีจังหวะการตื่นและการนอนที่ผิดปกติ
  • ภาวะถอนจากยากลุ่ม tricyclic antidepressants หรือ ยากลุ่ม MAO inhibitors
  • โรคซึมเศร้า

ความผิดปกติของการนอนอื่นๆ เช่นภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับนั้นอาจทำให้เกิดการขัดขวางโครงสร้างการนอนหลับตามธรรมชาติด้วยการตื่นเป็นช่วงๆ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระยะการนอนและมีรอบของการนอนที่ผิดปกติ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The 4 Stages of Sleep (NREM and REM Sleep Cycles). Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-four-stages-of-sleep-2795920)
What Is Sleep Architecture?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-is-sleep-architecture-3014823)
Normal and Abnormal Sleep in the Elderly. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3142094/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป