โรคมะเร็งผิวหนังเป็นโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ พบได้เรื่อย ๆ ในประเทศไทย แต่พบมากในชาวตะวันตก โรคมะเร็งผิวหนังจะให้การรักษาโดยแพทย์โรคผิวหนัง และศัลยแพทย์ หรืออาจเป็นแพทย์รังสีรักษา และ/หรือ อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา
ลักษณะทั่วไปของโรค
โรคมะเร็งผิวหนังแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามความรุนแรงของโรค คือ โรคมะเร็ง ผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (ความรุนแรงของโรคต่ำ) และโรคมะเร็งผิวหนังชนิด เมลาโนมา (ความรุนแรงของโรคสูง) ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคมะเร็งผิวหนัง ทุกชนิด คือการได้รับแสงแดดจัดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาการสำคัญของโรคมะเร็งผิวหนัง คือ ผิวหนังมีก้อนเนื้อผิดปกติ อาจ เป็นก้อนเนื้อ แตกเป็นแผลเรื้อรังเหมือนดอกกะหล่ำ หรือเป็นไฟที่โตเร็ว กินลึก หรือแตกเป็นแผล การพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค
ขั้นตอนการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังจะเริ่มจากการไปพบ แพทย์ด้วยอาการสำคัญ ทั้งนี้เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนัง ดังนั้น การสังเกตผิวหนังตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเมื่อมีอาการผิดปกติ ดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เสมอ ซึ่งแพทย์คนแรกที่ผู้ป่วยพบ อาจเป็นแพทย์ ผิวหนัง ศัลยแพทย์ หรือแพทย์อายุรกรรมทั่วไป หรือให้เจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาล เป็นผู้แนะนำ
หากแพทย์ที่ตรวจคนแรกไม่ใช่ศัลยแพทย์ เมื่อตรวจพบความผิดปกติ ดังกล่าวจะปรึกษาศัลยแพทย์ ซึ่งมักตัดก้อนเนื้อออกทั้งก้อนเมื่อก้อนเนื้อมีขนาด เล็ก แต่หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่จะตัดเพียงชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งเมื่อผลตรวจวินิจฉัยพบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จึงประเมินสุขภาพผู้ป่วย และ ระยะโรคเพื่อให้การรักษาต่อไป
การประเมินสุขภาพผู้ป่วย
ขั้นตอนประเมินสุขภาพผู้ป่วยในโรคมะเร็งผิวหนังจะเหมือนกับที่ได้กล่าวแล้วในบทที่ 2
การประเมินระยะโรค
โรคมะเร็งผิวหนังทุกชนิดแบ่งเป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยขั้นตอนจะเหมือนกับที่ได้กล่าวแล้วในบทที่ 2 รวมถึงการตรวจการแพร่กระจาย ของโรค แต่สิ่งที่แตกต่างคือการตรวจเฉพาะที่และการตรวจการแพร่กระจาย ของโรค
การตรวจเฉพาะที่จะเป็นการตรวจด้วยตาเปล่า ตรวจคลำต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้กับส่วนที่เกิดโรคและตำแหน่งที่โรคอาจแพร่กระจายไป
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การแพร่กระจายของโรค
- โรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา มักไม่ค่อยมีการแพร่กระจาย (อาจแพร่กระจายเข้าสู่ปอดได้บ้าง) ดังนั้น การตรวจการแพร่กระจายจึงมักเป็น เพียงการถ่ายภาพปอดด้วยเอกซเรย์ธรรมดา
- โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมามีการแพร่กระจายของโรคสูง ซึ่งเมื่อ แพร่กระจาย มักเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลจากก้อน/แผลมะเร็ง ปอด กระดูก และสมอง แต่ช่วงที่ยังไม่มีอาการ แพทย์มักตรวจเพียงภาพเอกซเรย์ปอด เพราะการตรวจขณะไม่มีอาการมักตรวจไม่พบ อาจเพราะก้อนเนื้อยังมีขนาดเล็กเกินกว่า เครื่องมือตรวจในปัจจุบันจะตรวจพบ
การรักษา การประเมินผลในช่วงรับการรักษา และหลังครบการรักษา
วิธีรักษาหลักของโรคมะเร็งผิวหนังคือการผ่าตัด แต่บางครั้งและบาง ระยะโรค อาจรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ส่วนยารักษาตรงเป้ายังอยู่ ในระหว่างการศึกษา
ภายหลังผ่าตัด ศัลยแพทย์จะประเมินผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาเมื่อพบ การลุกลามของโรค จึงส่งผู้ป่วยไปพบอายุรแพทย์มะเร็งวิทยาและ/หรือแพทย์รังสี รักษา โดยมีขั้นตอนเหมือนกับที่กล่าวแล้วในบทที่ 3
การรักษาและประเมินผลในช่วงรับการรักษา จะมีขั้นตอนเหมือนกับที่ได้ กล่าวแล้วในบทที่ 3
การประเมินผลหลังครบการรักษา เมื่อครบการรักษาแล้ว แพทย์ที่ปรึกษา จะส่งผู้ป่วยกลับคืนแพทย์ที่ส่งผู้ป่วยมา ต่อจากนั้นแพทย์เจ้าของไข้หรือแพทย์ ผู้เป็นหลักในการรักษาจะประเมินผลหลังครบการรักษา ซึ่งมีขั้นตอนเหมือนกับ ที่กล่าวแล้วในบทที่ 3 แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การตรวจเฉพาะที่และการตรวจการแพร่กระจายของโรค ซึ่งจะเหมือนกับในหัวข้อย่อย การประเมินระยะโรค
เมื่อพบโรคมะเร็งหลงเหลือ และ/หรือ โรคแพร่กระจาย แพทย์จะเริ่มขั้นตอน การตรวจวินิจฉัยอีกครั้งเหมือนในผู้ป่วยใหม่ ซึ่งภายหลังได้ผลตรวจต่าง ๆ ครบแล้ว จึงพูดคุย ปรึกษา และแนะนำผู้ป่วยและครอบครัวถึงวิธีรักษาโรคในระยะนี้
ทั้งนี้ วิธีรักษาโดยทั่วไปยังคงเป็น 4 วิธีหลัก คือ การผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด และ/หรือ รักษาแบบประคับประคอง หรือ พยุงอาการ ด้วยวิธีการทางอายุรกรรมทั่วไป เช่น ให้ยาบรรเทาปวด โดยอาจเป็นวิธีใดวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการ อายุและสุขภาพผู้ป่วย ระยะโรคครั้งใหม่ วิธีรักษาเดิม ผลข้างเคียงจากการรักษาที่ผ่านมา ดุลพินิจของแพทย์ และความประสงค์ของผู้ป่วยและครอบครัว ส่วนยารักษาตรงเป้ายังอยู่ในระหว่างการศึกษา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เมื่อไม่พบโรคหลงเหลือ และ/หรือ โรคแพร่กระจาย แพทย์ที่ให้การรักษาจะนัดตรวจติดตามผลระยะยาวตลอดชีวิต ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ตรวจผิวหนังด้วยตนเอง (โดยการสังเกตและคลำ) เพราะโรคมะเร็งผิวหนังสามารถเกิดซ้ำในที่เดิมได้อีก และ/หรือ เกิดกับผิวหนังส่วนอื่น ๆ ทั่วตัว
การติดตามผลระยะยาวตลอดชีวิต
ขั้นตอนการติดตามผลระยะยาวในโรคมะเร็งผิวหนัง แพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ปกป้องผิวหนังเมื่อออกแดดจัด (เช่น กางร่ม ใส่หมวก หรือทาครีมกันแดด) และแนะนำให้สังเกตผิวหนังตนเองตลอดชีวิตด้วยเหตุผลดังที่กล่าวแล้ว ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ก่อนถึงวันนัด
ในโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา เนื่องจากเป็นโรคที่ความรุนแรงต่ำ การนัดตรวจจึงมักขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นกรณีไป และอาจเว้นระยะถึง 6 เดือน - 1 ปี ตั้งแต่แรกและตลอดไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะโรคและดุลพินิจของแพทย์
ในโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา การติดตามผลการรักษาในระยะยาวตลอดชีวิตจะเหมือนกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ดังที่กล่าวแล้วในบทที่ 3 รวมถึงในการตรวจวินิจฉัยการแพร่กระจายของโรค ส่วนการตรวจเฉพาะที่ คือ การตรวจดูและคลำผิวหนังส่วนต่าง ๆ และตรวจคลำต่อมน้ำเหลือง โดยอาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการผู้ป่วยขณะนั้นและดุลพินิจของแพทย์
เมื่อพบโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ และ/หรือ โรคแพร่กระจาย แพทย์จะเริ่มขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยอีกครั้งเหมือนในผู้ป่วยใหม่ เมื่อได้ผลตรวจครบแล้วจึงพูดคุย ปรึกษา และแนะนำผู้ป่วยและครอบครัวถึงวิธีรักษาโรคระยะนี้ ซึ่งมีวิธีรักษา เหมือนกับที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อย่อย
การประเมินผลหลังครบการรักษา
เมื่อไม่พบโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ และ/หรือ โรคแพร่กระจาย แพทย์จะนัดติดตามผลระยะยาวไปจนตลอดชีวิตผู้ป่วย โดยความถี่ของการนัดตรวจจะขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง ระยะโรค สุขภาพและอาการผู้ป่วยขณะนั้น ผลการตรวจแต่ละครั้ง และดุลพินิจของแพทย์
คุณสามารถอ่านข้อมูลดีๆมีประโยชน์แบบนี้ได้เพิ่มเติมที่หนังสือ "รู้ก่อน เข้าใจกว่า การตรวจรักษามะเร็ง โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด เพื่อสนับสนุนผู้แต่ง