Rotator cuff tendinitis นั้นเป็นภาวะที่ส่งผลต่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยับข้อหัวไหล่ โดยเป็นภาวะที่เส้นเอ็นกล้ามเนื้อเหล่านี้นั้นมีการอักเสบหรือเกิดการระคายเคือง บางครั้งอาจจะเรียกว่า impingement syndrome
โรคนี้มักจะใช้เวลาในการเกิด โดยอาจจะเป็นผลจากการที่ให้หัวไหลนั้นอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน นอนทับหัวไหล่ด้านใดด้านหนึ่งทุกคืน หรือร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้การยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นักกีฬาที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้การยกแขนขึ้นเหนือศีรษะนั้นมักจะเกิดภาวะนี้ ทำให้บางครั้งมีการเรียกว่าเป็นหัวไหล่ของนักว่ายน้ำ นักขว้าง หรือนักเทนนิส
บางครั้งโรคนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้มักจะสามารถกลับมาใช้งานหัวไหลได้ตามปกติโดยไม่มีอาการปวด
อาการที่พบ
อาการของ rotator cuff tendinitis นั้นมักจะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป อาการในระยะแรกนั้นอาจจะสามารถบรรเทาได้ด้วยการพัก แต่ต่อมาจะเริ่มมีอาการต่อเนื่อง แต่อาการที่เป็นใต้ข้อศอกนั้นมักจะหมายความว่ามีปัญหาอื่นร่วมด้วย
อาการของโรคนี้ประกอบด้วย
- ปวดและบวมที่ด้านหน้าหัวไหล่และด้านข้างของต้นแขน
- ปวดเวลาที่ยกแขนขึ้นหรือลง
- ได้ยินเสียงคลิกเวลาที่ยกแขนขึ้น
- ข้อยึดหรือติด
- มีอาการปวดที่ทำให้ตื่น
- ปวดเวลาที่เอื้อมมือไปที่ด้านหลัง
- สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของแขนข้างที่มีอาการ
การวินิจฉัย
หากคุณมีอาการของโรคนี้ แพทย์มักจะเริ่มจากการตรวจที่หัวไหล่ เพื่อดูว่ามีอาการปวดหรือเจ็บหรือไม่ รวมถึงการทดสอบความสามารถในการเคลื่อนแขนไปตามทิศทางต่างๆ
นอกจากนั้นยังอาจจะมีการทดสอบความแข็งแรงของข้อหัวไหล่โดยการให้คุณออกแรงต้านกับแพทย์ มีการตรวจที่คอเพื่อดูภาวะอื่นๆ เช่นเส้นประสาทกดทับหรือข้ออักเสบที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคนี้ได้
แพทย์อาจจะมีการส่งตรวจทางรังสีวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและตัดโรคอื่นที่อาจทำให้เกิดอาการในลักษณะเดียวกันออกไป อาจมีการสั่งตรวจเอกซเรย์เพื่อดูว่ามีแนวกระดูกที่ยื่นออกมาผิดปกติหรือไม่ และอาจจะมีการส่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูการอักเสบของข้อหัวไหล่และดูว่ามีการฉีกขาดหรือไม่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การรักษา
การรักษาในระยะแรกนั้นจะเน้นที่การบรรเทาอาการปวดและบวมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟู เช่น
- การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด
- ประคบเย็นที่หัวไหล่วันละ 3-4 ครั้ง
- รับประทานยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เช่น ibuprofen และ naproxen
การรักษาอื่นๆ เพิ่มเติมประกอบด้วย
1.การทำกายภาพบำบัด
แพทย์อาจจะส่งให้ไปพบกับนักกายภาพบำบัด ในระยะแรกนั้นจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวโดยไม่ใช้แรงเพื่อทำให้กลับมาสามารถเคลื่อนไหวได้เท่าเดิมและลดอาการปวด
เมื่อสามารถควบคุมอาการปวดได้แล้ว จะเริ่มสอนการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความแข็งแรงให้กับแขนและหัวไหล่ต่อไป
2.การฉีดยาสเตียรอยด์
หากเกิดภาวะ rotator cuff tendinitis และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทั่วไป แพทย์อาจจะมีการแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปที่เส้นเอ็นที่มีการอักเสบเพื่อลดการอักเสบและลดอาการปวด
3.การผ่าตัด
หากรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด คนส่วนใหญ่สามารถฟื้นฟูร่างกายกลับมาได้เป็นปกติหลังจากที่เข้ารับการผ่าตัด
การผ่าตัดชนิดที่รุนแรงน้อยที่สุดนั้นจะเป็นการผ่าตัดโดยการส่องกล้องเข้าไปที่ข้อหัวไหล่ โดยจะมีแผลขนาดเล็ก 2-3 แผลรอบๆ หัวไหล่ ซึ่งจะเป็นบริเวณที่แพทย์ใส่เครื่องมือและกล้องเข้าไป
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การผ่าตัดเปิดหัวไหล่นั้นมักจะไม่จำเป็นในการรักษาภาวะนี้ อย่างไรก็ตามอาจจำเป็นต้องผ่าตัดในลักษณะนั้นหากมีปัญหาอื่นๆ ที่หัวไหล่เช่นมีเส้นเอ็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ขาด
การผ่าตัดนั้นจะต้องใช้เวลาในการพักฟื้นซึ่งรวมระหว่างการพักและการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กลับมามีความแข็งแรงและสามารถเคลื่อนไหวได้เท่าเดิม
การดูแลหัวไหล่ที่บ้าน
คุณสามารถทำหลายอย่างที่จะช่วยลดอาการปวดจากโรคนี้ได้ เทคนิคเหล่านี้ยังสามารถป้องกันการเกิดโรคนี้หรือการปวดซ้ำ
การดูแลหัวไหล่ประกอบด้วย
- นั่งในท่าที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการยกแขนขึ้นเหนือศีรษะซ้ำๆ
- หยุดพักจากการทำกิจกรรมใดซ้ำๆ
- หลีกเลี่ยงการนอนทับข้างใดข้างหนึ่งทุกคืน
- หลีกเลี่ยงการแยกของไว้ที่หัวไหล่ด้านใดด้านหนึ่ง
- ขนของให้อยู่ใกล้กับร่างกาย
- ยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่ในระหว่างวัน
คำถาม : ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคนี้คืออะไร
คำตอบ : ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยก็คืออาการปวดและการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ ซึ่งการมีอาการทั้ง 2 อย่างนี้นั้นจะลดความแข็งแรงและความยืดหยุ่น จำกัดความสามารถในการยกหรือชูของต่างๆ และส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้