กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาโรฮิบนอล

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาโรฮิบนอล

ยาโรฮิบนอล (Rohypnol)

ยาโรฮิบนอล (Rohypnol) เป็นยาระงับประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “ยามอมสาว” ลองดูข้อมูลเกี่ยวกับยาตัวนี้เพราะน่าจะเป็นประโยชน์และเตือนกลุ่มวัยรุ่นได้

ยาโรฮิบนอล (Rohypnol) คืออะไร

ยาโรฮิบนอล (Rohypnol) เป็นยี่ห้อของยาที่เรียกว่า flunitrazepam ซึ่งอยู่ในกลุ่มของยาคลายกล้ามเนื้อพวกยาซาแน็กซ์ (Xanax) และยาแวเลียม (Valium) แต่ยาโรฮิบนอลมีฤทธิ์แรงกว่า ซึ่งฤทธิ์ของยาระงับประสาทชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมและความจำเสื่อมชั่วขณะได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาโรฮิบนอลถือเป็นยาที่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศยาดังกล่าวถูกกฎหมายและถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคนอนไม่หลับ นอกจากนี้ ยาโรฮิบนอลยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ยามอมสาว” ซึ่งผู้ที่มีความประสงค์ทางเพศจะใช้ยานี้เพื่อมอมหญิงที่ตนต้องการ

โรฮิบนอลจะถูกใช้ด้วยการนำไปละลายในน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม โดยยาตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวและเมื่อใส่ลงไปในน้ำเม็ดยาจะละลายกลายเป็นสีฟ้าทำให้สังเกตเห็นได้โดยง่ายหากใส่ลงไปในน้ำเปล่า ส่วนยาอีกรุ่นหนึ่งจะมีลักษณะเป็นเม็ดสีขาว พิมพ์คำว่า “ROCHE” บนตัวยา ยาตัวนี้จะไม่ปรากฏสีใดๆ ไม่มีกลิ่น หรือรสชาติ

เมื่อใส่ลงไปในเครื่องดื่มหรือน้ำเปล่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ มีวิธีการใช้ยาหลายวิธี เช่น กินทั้งเม็ด บดเป็นผงเพื่อผสมน้ำ หรือสูดผงผ่านทางจมูก เป็นต้น

ผลกระทบระยะสั้น

ยาโรฮิบนอลออกฤทธิ์ทำให้ผู้ใช้ยามีอาการง่วงซึมและผ่อนคลาย แต่ก็มีผู้ใช้ยาอีกจำนวนหนึ่งที่เกิดอาการตื่นตัว กระสับกระส่าย และก้าวร้าว โดยยาจะออกฤทธิ์หลังจากการเสพประมาณ 15 – 20 นาที และจะมีฤทธิ์ค้างอยู่ประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง สำหรับการใช้ปริมาณที่มากขึ้นอาจทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานถึง 12 ชั่วโมง

การใช้ยาในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถควบคุมตัวเอง เป็นลมหมดสติ และความจำเสื่อมชั่วขณะได้ นอกจากนี้ การใช้ยาร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดอื่นๆ จะทำให้ผู้ใช้เป็นลมหมดสติและสูญเสียความทรงจำในช่วงเวลาที่ยาออกฤทธิ์

ผลกระทบระยะสั้นอื่นๆ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
  • อาเจียน
  • เกิดอาการสับสน
  • มีอาการสั่น ชัก
  • ฝันร้าย
  • พูดไม่ชัด พูดตะกุกตะกัก หรือมีปัญหาในการพูด
  • ระบบการทำงานของสมองและการคิดตัดสินบกพร่อง
  • ระบบการควบคุมแขนขาและกล้ามเนื้อผิดปกติ
  • ความจำเสื่อม

ผลกระทบระยะยาว

แม้ยาโรฮิบนอลเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นยามอมสาว แต่หลายคนใช้ยาชนิดนี้เพื่อให้พวกเขามีอาการเมายา บางคนมีการใช้ยานี้มาเป็นระยะเวลานานจนเกิดอาการดื้อยา ทำให้พวกเขาต้องใช้ยาในปริมาณมากยิ่งขึ้น และแน่นอนที่การใช้ยาอย่างเป็นประจำในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้นคืออาการเสพติดยานั่นเอง

ผลกระทบระยะยาว ดังนี้

  • ความบกพร่องทางเพศ
  • นอนไม่หลับ
  • มีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ
  • เกิดภาวะซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ 

ปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

การใช้ยาโรฮิบนอลในปริมาณที่มากเกินในคราวเดียว หรือใช้ยาร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดอื่นๆ จะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติและหายใจไม่ออกหรือหายใจช้าลงจนอาจถึงขึ้นเสียชีวิตได้

บางคนใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับการใช้โคเคนหรือเฮโรอีน ซึ่งแน่นอนที่พฤติกรรมนี้สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงและอาจถึงขึ้นเสียชีวิตได้

การใช้ยาโรฮิบนอลส่งผลต่อภาวะการคิดและตัดสินใจ รวมไปถึงการยับยั้งชั่งใจเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์หรือการป้องกันโรค ทำให้ผู้เสพเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือกามโรคได้

เนื่องจากยาโรฮิบนอลเป็นยาที่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา จึงถูกจัดลำดับให้เป็นยาเสพติดควบคุมประเภท 4 ที่ไม่อนุญาตให้มีการเสพ ซื้อขาย หรือนำเข้า โดยผู้ที่ฝ่าฝืนจะได้รับโทษทางกฎหมายเช่นเดียวกับผู้ใช้ยาเสพติดควบคุมประเภท 1 (เช่น ยาแอลเอสดีหรือเฮโรอีน) นอกจากนี้ การใช้ยาโรฮิบนอลกับผู้ที่ไม่ต้องการเสพหรือเมื่อบุคคลนั้นไม่รู้ตัว อย่างการมอมยาเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ มีโทษจำคุกเพิ่มขึ้นอีก 20 ปี จากโทษการครอบครองยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แล้วจะเลิกเสพได้อย่างไร

การใช้ยาโรฮิบนอลทำให้ผู้ใช้ยาเสพติดและเลิกยาได้ยาก การเลิกแบบหักดิบอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการสั่น มีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นลมชัก เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงจากการเลิกยาที่รุนแรง ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัดยาและขอคำแนะเกี่ยวกับวิธีการเลิกที่ถูกต้องเหมาะสม วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยค่อยๆ เลิกยาโดยที่ไม่ต้องกดดันตัวเองมากเกินไปจนทำให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ การร่วมกิจกรรมหรือเข้ากลุ่มบำบัดถือเป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งเช่นเดียวกัน

หลีกเลี่ยงการใช้ยาโรฮิบนอล

ปฏิเสธ หากมีคนชักชวนให้คุณลองใช้ยา แต่จะทำอย่างไร? หากคุณเผลอดื่มเครื่องดื่มที่ผสมยาเข้าไป เนื่องจากยาบางรุ่นไม่มีสี กลิ่น หรือรสชาติ ทำให้คุณไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ลดความเสี่ยงจากการใช้ยาโดยไม่รู้ตัวโดยคุณต้องเพิ่มความระมัดระวังเมื่อไปเที่ยวยามราตรีหรือไปงานเลี้ยงกับเพื่อนๆ คุณไม่ควรรับเครื่องดื่มใดๆ จากคนแปลกหน้าหรือจากคนที่คุณไม่ได้สนิทชิดเชื้อด้วย เมื่อต้องลุกไปไหนควรหยิบเครื่องดื่มของตัวเองไปด้วย อย่าวางทิ้งไว้ เพราะมันจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีใส่ยาที่เราไม่ต้องการลงไปในเครื่องดื่มของคุณได้

เมื่อไปกับเพื่อน ควรต่างช่วยเป็นหูเป็นตาให้กันและกัน และหากเพื่อนคนใดคนหนึ่งของคุณเป็นลมหมดสติไปจะต้องรีบนำเพื่อนของคุณส่งโรงพยาบาลโดยทันที

หากคุณสังเกตเห็นว่ามีผู้ไม่หวังดีกำลังมอมยาใครสักคนเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศหรือเพื่อการข่มขืน คุณต้องรีบโทรแจ้งตำรวจ แม้ว่าคนๆ นั้นจะเป็นเพื่อนคุณ เพราะคุณควรเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องแม้ต้องเสียเพื่อนไปก็ตาม และหากคุณรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างแต่คุณไม่ยอมแจ้งตำรวจหรือบอกใคร คุณเองก็จะมีความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดด้วย

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/rohypnol.html


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rohypnol (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/rohypnol.html)
Date-Rape Drugs: GHB & Rohypnol Explained. WebMD. (https://www.webmd.com/mental-health/addiction/date-rape-drugs)
Rohypnol: Effects, Hazards & Methods of Abuse. Drugs.com. (https://www.drugs.com/illicit/rohypnol.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป