กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจวินิจฉัย รักษา และติดตามผลในโรคมะเร็งรังไข่

ทำความรู้จักการตรวจวินิจฉัย แนวทางการรักษา และการติดตามผลหลังการรักษาครบในโรคมะเร็งรังไข่
เผยแพร่ครั้งแรก 19 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การตรวจวินิจฉัย รักษา และติดตามผลในโรคมะเร็งรังไข่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งรังไข่มีทั้งชนิดที่พบในเด็ก (ความรุนแรงของโรคต่ำกว่า) และชนิดที่พบมักในผู้ใหญ่ ซึ่งโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ใหญ่จัดเป็นโรคที่มีความรุนแรงค่อนข้างสูง
  • ตัวอย่างอาการของโรคมะเร็งรังไข่ เช่น ประจำเดือนผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด คลำพบก้อนเนื้อในท้องน้อย มีอาการผิดปกติในทางเดินอาหาร เช่น แน่นท้อง ท้องอืด เนื่องจากก้อนเนื้อ กดหรือเบียดทับลำไส้
  • การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ทำได้โดยการผ่าตัด ร่วมกับให้ยาเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา ขึ้นอยู่กับระยะของโรค สุขภาพของผู้ป่วย
  • โรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ ไม่มีอาการแสดงชัดเจน และยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การตรวจภายในจะช่วยให้พบก้อนเนื้อในรังไข่ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงโรคมะเร็งรังไข่ได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) เป็นโรคมะเร็งอีกชนิดที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย

โรคมะเร็งรังไข่มีทั้งชนิดที่พบในเด็ก (ความรุนแรงของโรคต่ำกว่า) และชนิดที่พบมักในผู้ใหญ่ ซึ่งโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ใหญ่จัดเป็นโรคที่มีความรุนแรงค่อนข้างสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แพทย์ผู้ให้การดูแลรักษาอาจเป็นนรีแพทย์มะเร็งวิทยา หรือแพทย์สูตินรีเวชร่วมกับอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า โรงพยาบาลนั้นมีแพทย์เฉพาะทางสาขามะเร็งวิทยานรีเวช หรือไม่

อาการของโรคมะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการแน่ชัด แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมีอาการผิดปกติ ดังนี้

  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • คลำพบก้อนเนื้อในท้องน้อย (อุ้งเชิงกราน)
  • มีอาการผิดปกติทางปัสสาวะเนื่องจากก้อนเนื้อกด หรือเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่)
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติในทางเดินอาหาร เช่น แน่นท้อง ท้องอืด เนื่องจากก้อนเนื้อ กดหรือเบียดทับลำไส้

ผู้ที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว หรือมีคนในครอบครัว หรือญาติสายตรงป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ ควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งไข่

การพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ที่มีประสิทธิภาพ

แพทย์จะใช้วิธีการตรวจภายในเพื่อดูว่า มีก้อนเนื้อรังไข่หรือไม่ หากสงสัยว่าเป็นก้อนเนื้อในรังไข่ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูลักษณะของก้อนเนื้อ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ และเมื่อผลตรวจต่างๆ ยืนยันว่า มีก้อนเนื้อในรังไข่ (อาจเป็นก้อนเนื้องอกธรรมดา หรือก้อนเนื้อมะเร็ง) แพทย์จะปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับวิธีรักษา และการดูแลตัวเองต่อไป

โรคก้อนเนื้อในรังไข่ทุกชนิด แพทย์มักไม่ตัดชิ้นเนื้อ หรือเจาะดูดเซลล์ไปตรวจก่อน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง หรือแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เลือดออก ลำไส้ทะลุ หรือทำให้เซลล์มะเร็งหลุดรอด และลุกลามในช่องท้อง (หากก้อนเนื้อในรังไข่เป็นมะเร็ง)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่โดยเฉพาะแล้ว การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้รู้เท่าทันโรคนี้ได้ เพราะโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงมักรวมการตรวจภายใน และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงอยู่แล้ว

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งไข่

วิธีรักษาโรคเนื้องอกในรังไข่ทุกชนิดคือ การผ่าตัด โดยก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด แพทย์จะประเมินสุขภาพผู้ป่วย และประเมินระยะโรคอยู่เสมอ มีรายละเอียดดังนี้

  • การตรวจประเมินระยะโรคก่อนผ่าตัด ได้แก่ การตรวจคลำช่องท้อง ช่องท้องน้อย (อุ้งเชิงกราน) ต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้า และขาหนีบ
  • การตรวจประเมินระยะโรคในขณะผ่าตัด โดยแพทย์จะดู และคลำการลุกลามของก้อนเนื้อในอวัยวะข้างเคียงรังไข่อีกข้าง ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ช่องท้องน้อย เยื่อบุช่องท้อง ตับ และดูน้ำในช่องท้อง
  • การตรวจประเมินระยะโรคหลังผ่าตัด คือการประเมินผลชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดทางพยาธิวิทยา การแพร่กระจายของโรค ตรวจเลือดดูค่าสารมะเร็ง เพื่อประเมินผลการรักษา และติดตามผลระยะยาว

หากเป็นโรคมะเร็งรังไข่ในระยะลุกลาม และ/หรือแพร่กระจาย นอกจากการผ่าตัดแล้ว แพทย์จะรักษาต่อเนื่องด้วยการให้ยาเคมีบำบัด แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด แพทย์อาจรักษาด้วยรังสีรักษาแทน

ในช่วงที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แพทย์จะประเมินผลการรักษาเป็นระยะ โดยการตรวจเลือดดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของตับและไต และค่าสารมะเร็ง นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจภายใน และตรวจภาพช่องท้อง หรือรังไข่ด้วยอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นระยะร่วมด้วย

เมื่อครบการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจะเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินผลหลังครบการรักษาต่อไป

การประเมินผลหลังครบการรักษา

การประเมินผลหลังครบรักษาในโรคมะเร็งรังไข่จะเหมือนกับในโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยแพทย์อาจนัดตรวจติดตามการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังการรักษาประมาณ 2-6 เดือน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ การตรวจเฉพาะที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจเฉพาะที่เพื่อตรวจวินิจฉัยก้อนเนื้อมะเร็งที่อาจหลงเหลือภายหลังครบการรักษา ได้แก่

  • การตรวจคลำต่อมน้ำเหลือง ช่องท้อง และช่องท้องน้อย
  • ตรวจภายใน
  • ตรวจทางทวารหนัก
  • ตรวจเลือดดูค่าสารมะเร็ง
  • ตรวจภาพช่องท้อง หรือรังไข่ด้วยอัลตราซาวนด์ และ/หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • ในบางราย แพทย์อาจส่องกล้องตรวจภายในช่องท้อง หรือผ่าตัดช่องท้องซ้ำ ขึ้นอยู่กับผลตรวจต่างๆ และดุลพินิจของแพทย์

เมื่อพบโรคมะเร็งหลงเหลือ และ/หรือโรคแพร่กระจาย แพทย์จะเริ่มขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยอีกครั้งเหมือนเป็นผู้ป่วยใหม่ ซึ่งแพทย์จะปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับวิธีรักษาต่อไป

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ที่กลับมาเป็นซ้ำอีก

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ที่กลับมาเป็นซ้ำอีก อาจเป็นการผ่าตัดร่วมกับยาเคมีบำบัด หรือให้ยาเคมีบำบัดอย่างเดียวก็ได้

แพทย์อาจปรับปริมาณยา เปลี่ยนชนิดยา หรือเพียงเฝ้าติดตามโรค และรักษาตามอาการ หรือรักษาแบบประคับประคองด้วยวิธีการทางอายุรกรรมทั่วไป เช่น ให้ยาบรรเทาปวดก็ได้

แนวทางการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดและตำแหน่งก้อนเนื้อที่เหลืออยู่ อายุและสุขภาพผู้ป่วย วิธีรักษาเดิม ผลข้างเคียงจากการรักษาที่ผ่านมา ระยะโรคครั้งใหม่ ดุลพินิจของแพทย์ ความประสงค์ของผู้ป่วยและครอบครัว

เมื่อไม่พบโรคมะเร็งหลงเหลือ และ/หรือ โรคแพร่กระจาย ผู้ป่วยจะเข้าสู่ขั้นตอนการติดตามผลระยะยาวตลอดชีวิต

การติดตามผลระยะยาวตลอดชีวิต

ใน 3 ปีแรกหลังครบการรักษา แพทย์จะนัดตรวจทุก 1-3 เดือน เพราะโรคมักกลับเป็นซ้ำ และ/หรือ แพร่กระจายในระยะนี้

หลังจากนั้นจะค่อยๆ เว้นระยะห่างมากขึ้น เป็นทุกๆ 6 เดือนถึง 1 ปี หลังครบการรักษาไปแล้ว 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

แม้ว่า โรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงที่แน่ชัด แต่การรู้จักสังเกตตัวเอง และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้สามารถป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ หรือตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ovarian Cancer | Ovarian Cancer Symptoms. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ovariancancer.html)
Ovarian cancer: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159675)
Ovarian Cancer: Early Signs, Detection, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/cancer/ovarian-cancer-early-signs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง

เคมีบำบัดนั้นต่อสู้กับมะเร็งแต่สามารถทำให้เกิดผมร่วงได้เช่นกัน

อ่านเพิ่ม
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)

ความเป็นมาของโรคมะเร็ง: การค้นพบและรักษา โรคมะเร็งครั้งแรก

อ่านเพิ่ม
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่

ปรึกษาปัญหาเรื่องเหงื่อออกตอนกลางคืนกับแพทย์ของคุณ

อ่านเพิ่ม