พยาธิ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายต่างๆ แก่มนุษย์และสัตว์ที่มันอาศัยอยู่
พยาธิ มีหลายชนิด สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ชอนไชเข้าทางผิวหนัง หรือปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกด้วยความร้อน แล้วเมื่อมีผู้รับประทานอาหารนั้นเข้าไป ก็รับเอาพยาธิเข้าไปด้วย
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
พยาธิใบไม้ตับ เป็นหนึ่งในชนิดของพยาธิที่พบได้บ่อยในอาหาร และเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วย
พยาธิใบไม้ตับคืออะไร?
พยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) คือ หนอนพยาธิที่มีรูปร่างแบนคล้ายใบไม้ แต่ส่วนหัวกับท้ายลำตัวเรียว ความยาวประมาณ5-10 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีสีส้มแสดคล้ายกับสีเลือดจาง
พยาธิใบไม้ตับมีระบบสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมียในตัวเดียว มีอายุขัยประมาณ 20 ปี พบได้มากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบตะวันออกเฉียงเหนือ แถบภาคเหนือของไทย และประเทศลาว
วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับ
วงจรชีวิตพยาธิใบไม้ตับจะเกี่ยวข้องกับอวัยวะของคนด้วย ซึ่งได้แก่ ท่อน้ำดี และถุงน้ำดีที่อยู่ในตับ โดยพยาธิใบไม้ตับที่โตเต็มที่มักจะอาศัยอยู่ในท่อน้ำดีในตับคน สุนัข หรือแมว
เมื่อพยาธิใบไม้ตับผสมพันธุ์แล้วออกไข่ ไข่ของพยาธิชนิดนี้ก็จะปะปนไปกับน้ำดี แล้วไหลลงไปสู่ลำไส้เล็ก จากนั้นก็จะถูกขับออกจากร่างกายผ่านอุจจาระ
หลังจากไข่พยาธิถูกขับออกจากอุจจาระลงสู่แหล่งน้ำ หอยน้ำจืดขนาดเล็กก็จะกินไข่พยาธิเข้าไป ซึ่งนับเป็นพาหะชั้นที่ 1 ระหว่างนั้นไข่พยาธิก็จะเจริญเติบโตอยู่ในหอยประมาณ 6-8 สัปดาห์
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หลังจากนั้นตัวอ่อนพยาธิก็จะว่ายน้ำออกจากหอยแล้วไชเข้าไปใต้เกล็ดปลาน้ำจืด เช่น ปลาขาว ปลาสร้อย ปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาขาวนา ปลาซิว แล้วใช้ระยะเวลาติดต่ออยู่ในเนื้อปลาประมาณ 4 สัปดาห์
เมื่อปลาที่มีพยาธิตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ถูกจับเพื่อนำไปรับประทาน และไม่ผ่านการปรุงอาหารที่ทำให้สุก ตัวอ่อนพยาธิในระยะติดต่อก็จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ สุนัข หรือแมว ผ่านน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแล้วเข้าสู่ระบบท่อน้ำดี ไปเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวเต็มวัยในร่างกายมนุษย์ สุนัข หรือแมว ในที่สุด
อาหารที่มักพบพยาธิใบไม้ตับ
อาหารที่พบพยาธิใบไม้ตับได้แก่อาหารที่มีส่วนประกอบของปลาน้ำจืด ซึ่งทำแบบดิบๆ หรือปรุงไม่สุก ทำให้ตัวอ่อนพยาธิยังไม่ตายและยังปนเปื้อนอยู่
มักพบมากในอาหารพื้นถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ก้อยปลา ลาบปลา ปลาร้า แจ่วบอง ปลาปิ้ง ส้มตำใส่ปลาร้า
ซึ่งนอกเหนือจากพยาธิใบไม้ตับแล้ว อาหารประเภทที่กล่าวไปข้างต้นยังพบสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ใช้วิธีหมักดองหรือเนื้อสัตว์ผสมดินประสิว เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม แหนม หมูส้ม กุนเชียง ปลาเค็ม
โรคที่มักเกิดจากโรคพยาธิใบไม้ตับ
พยาธิใบไม้ตับมักก่อให้เกิดโรคหลักๆ อยู่ 2 โรค ได้แก่ โรคพยาธิใบไม้ตับ และโรคมะเร็งท่อน้ำดี
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
1. โรคพยาธิใบไม้ตับ (Liver fluke)
เกิดจากพยาธิใบไม้ตับได้เข้าเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดีและถุงน้ำดี จนเกิดอาการอุดตันและอักเสบ รวมถึงกัดกินเนื้อเยื่อตับ ทำให้เกิดแผลและมีอาการเลือดออก ปล่อยสารพิษซึ่งขัดขวางการสร้างเม็ดเลือดแดง
ผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ออกมาในช่วงแรก แต่เมื่อจำนวนพยาธิที่สะสมอยู่มีมากขึ้นก็จะเกิดอาการดังนี้
- ท้องอืด
- ท้องเฟ้อ
- ท้องเสีย
- แน่นท้อง
- เจ็บชายโครงขวา
- ตัวเหลือง
- ตาเหลือง
- มีไข้ต่ำ หรืออาจไข้สูงจนถึงขั้นหนาวสั่น
หลังจากนั้นเมื่อจำนวนพยาธิมากขึ้น และไปอุดตันท่อน้ำดีในตับ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องด้านบน ผอมลง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อาจมีภาวะตับวายเนื่องมาจากเสียหายหนักมาก และอาจถึงแก่ชีวิตได้
วิธีวินิจฉัยและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้โดยการตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิ หรืออาจตรวจทางรังสีวินิจฉัย ตรวจทางวิทยาภูมิคุ้มกันร่วมด้วย
หลังจากพบว่าเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ แพทย์จะรักษาโดยให้รับประทานยาฆ่าพยาธิใบไม้ตับก่อน โดยตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคนี้มากที่สุด คือ ยาพราซิควอนเทล (Praziquantel)
อย่างไรก็ตาม นอกจากการรับประทานยา ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินประกอบด้วย โดยให้งดรับประทานปลาดิบที่เสี่ยงมีพยาธิใบไม้ตับอาศัยอยู่
โรคพยาธิใบไม้ตับสามารถลุกลามทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้ โรคมะเร็งชนิดนี้จึงเป็นโรคมะเร็งอีกชนิดที่มักเกิดขึ้นหากร่างกายของคุณมีพยาธิใบไม้ตับมากเกินไป
2. โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma)
โรคมะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากเซลล์บริเวณเยื่อบุทางเดินน้ำดีแบ่งตัวผิดปกติ ทั้งยังสามารถลุกลามไปที่อวัยวะใกล้เคียงได้ เช่น ตับอ่อน ลำไส้เล็ก เส้นเลือดแดงที่เลี้ยงตับ เส้นเลือดดำที่เลี้ยงตับ
โรคมะเร็งท่อน้ำดีถือเป็นโรคมะเร็งอันดับต้นๆ ที่ผู้คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมักเป็นกัน และยังพบในผู้ป่วยชายมากกว่าผู้หญิง
โรคมะเร็งท่อน้ำดีเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับทั้งสิ้น
- เกิดจากการรับประทานยาฆ่าพยาธิใบไม้ตับอย่างต่อเนื่อง เมื่อพยาธิใบไม้ตับตายในปริมาณมากๆ เซลล์บุท่อน้ำดีก็จะตายไปด้วย ทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานผิดปกติ และพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง
- เกิดจากสารไนโตรซามีนซึ่งแฝงอยู่ในอาหารประเทศที่ใช้ดินประสิวประกอบด้วย เช่น แหนม กุนเชียง ปลาร้า ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง
โรคมะเร็งท่อน้ำดีแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ โรคมะเร็งท่อน้ำดีในตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ
2.1 โรคมะเร็งท่อน้ำดีในตับ (peripheral cholangiocarcinoma)
เป็นประเภทของโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นโรคมะเร็งตับ เพราะผู้ป่วยจะมีอาการตับโต เนื่องจากเซลล์มะเร็งไปเจริญเติบโตบริเวณเยื่อบุ่อน้ำดีในตับ แล้วขยายตัวออกไป
นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะยังมีอาการไม่สบายท้อง ปวดตัว โดยเฉพาะบริเวณหลังกับไหล่ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน
2.2 โรคมะเร็งท่อน้ำในดีนอกตับ (Extrahepatic cholangiocarcinoma)
มักเกิดบริเวณท่อทางเดินน้ำดีใกล้กับตับ (Porta hepatis) ข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจเกิดบริเวณท่อน้ำดีตับร่วม (Common hepatic bile duct)
ผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับมักจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง โอกาสรอดชีวิตค่อนข้างน้อย เนื่องจากมักตรวจพบโรคเมื่อโรคมะเร็งลุกลามไปถึงขั้นร้ายแรงแล้ว อีกทั้งความซับซ้อนของโรคมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับยังซับซ้อนกว่าประเภทในตับด้วย
วิธีวินิจฉัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี
วิธีวินิจฉัยโรคมะเร็งท่อน้ำดีสามารถทำได้หลายวิธี โดยเริ่มจากการซักประวัติสุขภาพผู้ป่วยก่อน อาจมีการตรวจเลือดว่า เป็นดีซ่านหรือไม่ จากนั้นอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น
- การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound)
- การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI Scan (Magnetic Resonance Imaging)
- การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan (Computerised Tomography)
- การตรวจดูค่าการทำงานของตับ (Liver function test)
- การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker)
ผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ คือ กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีมากที่สุด ทางที่ดี หากคุณเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับแล้ว ก็ควรเข้ารับการตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีไว้ด้วย
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีในระยะเริ่มต้นแล้ว ก็ควรตรวจอัลตราซาวด์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อดูความคืบหน้าของอาการโรค
วิธีรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี
วิธีรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีให้หายขาดได้ คือ การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกให้หมด จากนั้นแพทย์จะติดตามผลการรักษาผ่านการอัลตราซาวด์ หรือทำ CT Scan ทุกๆ 3 เดือน
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดเนื้องอกออกได้ทั้งหมด แพทย์อาจพิจารณาให้ตัดเนื้องอกออกบางส่วน หรือรักษาแบบประคับประคอง การใช้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีบำบัด
โรคมะเร็งท่อน้ำดีมีความซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับการทำงานของตับเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยบางรายอาจถูกพิจารณาให้ผ่าตัดเปลี่ยนตับ หรือตัดตับทิ้ง หากมีอาการเหลืองมาก
วิธีป้องกันพยาธิใบไม้ตับ
คุณสามารถป้องกันไม่ให้พยาธิใบไม้ตับเข้าสู่ร่างกายได้ ผ่านการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาดเท่านั้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง มีสารก่อมะเร็ง ใส่ดินประสิว
- หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดแบบดิบ หรือปรุงไม่สุก
- ดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาด ขับถ่ายในห้องน้ำที่สะอาดเท่านั้น
- งดบริโภคแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
ทางที่ดี เพื่อให้คุณมีความสุขกับการรับประทานอาหารควบคู่ไปกับการมีสุขภาพที่แข็งแรง จึงควรไปตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ให้มากที่สุด
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android