กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมวเป็นสมุนไพรใกล้ตัว ชื่อแปลกที่แม้จะมีประโยชน์มาก แต่ต้องรู้จักอย่างถ่องแท้ก่อนจะนำไปใช้จริงเพื่อประสิมธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดนั่นเอง  

รู้จักหญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. มีชื่อท้องถิ่นว่า พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) อีตู่ดง (เพชรบุรี) หญ้าหนวดเสือ ส่วนลักษณะนั้นหญ้าหนวดแมวเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ดอกออกเป็นช่อสวยงาม ลักษณะคล้ายฉัตรเป็นชั้นๆ สีขาว หรือสีม่วง มีเกสรตัวผู้ยาวคล้ายหนวดแมว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนที่ใช้เป็นยาคือใบ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา คือการเก็บใบที่สมบูรณ์ ในช่วงที่กำลังออกดอกเพราะเป็นช่วงที่มีสารสำคัญมากที่สุด (แต่ไม่ใช้ดอก) ใช้ใบที่ไม่แก่ หรือไม่อ่อนจนเกินไป ล้างให้สะอาดและนำมาตากในที่ร่มให้แห้ง

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสรรพคุณของหญ้าหนวดแมว

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของหญ้าหนวดแมวที่กล่าวถึงกันมาก คือ ฤทธิ์ขับปัสสาวะทำให้กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะหดตัว แต่กล้ามเนื้อเรียบของท่อปัสสาวะคลายตัวจึงเอื้อต่อการขับปัสสาวะ สามารถใช้กับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ เนื่องจากหญ้าหนวดแมวสามารถลดความดันโลหิตลงและยังสามารถลดภาวะหลอดเลือดหดตัวได้ด้วย นอกจากนี้ยังทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดลดลงเพราะยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase และ α-amylase รวมทั้งลดพิษจากการได้รับกลูโคสปริมาณสูงจึงสามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างปลอดภัย 

นอกกจากนี้หญ้าหนวดแมวเป็น hypourecimic agent คือ สามารถขับกรดยูริกออกจากกระแสเลือด ลดการเกิดนิ่วจากกรดยูริกได้อีกด้วย

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ยังไม่มีงานวิจัยที่รายงานความเป็นพิษ หรือรายงานความปลอดภัยสำหรับการใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ทางที่ดี ควรหลีกเลี่ยงการใช้หญ้าหนวดแมวเพื่อความปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์และระหว่างให้นมบุตรและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

วิธีใช้หญ้าหนวดแมว

  • ใช้ขับปัสสาวะ ทำได้โดยเอาใบแห้ง 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ นำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 750 ซีซี เหมือนชงชา แล้วนำมาดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวันนานประมาณ 1-6 เดือน จะช่วยทำให้ปัสสาวะใสและปัสสาวะได้คล่องขึ้น (การใช้ใบสดอาจจะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่นได้ ควรใช้ใบตากแห้งจะดีที่สุด)

ข้อควรระวังการใช้หญ้าหนวดแมว

ใบของหญ้าหนวดแมวพบเกลือของโปแตสเซียมสูงจึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต และหญิงมีครรภ์ 

นอกจากนี้ในต่างประเทศระบุให้ระวัง ผลข้างเคียงจากการใช้หญ้าหนวดแมว ได้แก่ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ผิวหนังผื่น หรือบวมแดง 

อย่างไรก็ตาม ควรใช้หญ้าหนวดแมวหลังอาหารและค่อยๆ จิบกินในกรณีที่ใช้ครั้งแรกๆ เพราะหญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ หากผู้ใช้กำลังกระหายน้ำและดื่มน้ำหญ้าหนวดแมวทั้งแก้วอาจทำให้น้ำตาลลดและเกิดอาการใจสั่นเพราะหิวได้ นอกจากนี้สารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้นจึงไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

หญ้าหนวดแมวแม้จะมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้จริง แต่ในการใช้แต่ละครั้ง ควรศึกษาให้ดีและอ่านข้อควรระวังและผลข้างเคียงให้ดีก่อนนำมาใช้ด้วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวผู้ใช้เอง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝ่ายวิชาการการแพทย์แผนไทย,หญ้าหนวดแมว : สมุนไพรช่วยผู้ป่วยนิ่วในไตได้, 14 มีนาคม 2554
จันทร์เพ็ญ ตั้งจิตรเจริญกุล, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา,หญ้าหนวดแมวเพื่อประโยชน์ในการขับปัสสาวะ, April 2017
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,หญ้าหนวดแมว (http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=298)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)