สีปัสสาวะเกิดจากอะไรได้บ้าง

เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม แต่แท้จริงแล้วบ่งบอกถึงสุขภาพของคุณได้มากพอๆ กับเลือด
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สีปัสสาวะเกิดจากอะไรได้บ้าง

“ปัสสาวะ” เป็นของเสียและแร่ธาตุส่วนเกินในกระแสเลือดซึ่งร่างกายไม่ต้องการและขับออกมาทางไต  ปัสสาวะยังสามารถบอกถึงสุขภาพ หรือโรคได้มากมาย โดยเราสังเกตได้จาก "สี" ของปัสสาวะนั่นเอง อีกทั้งยังเป็นวิธีเบื้องต้นในการสังเกตโรคได้ง่ายที่สุดเพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

สีของปัสสาวะ

ปกติสีของปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนใสและไม่ขุ่น การที่สีจะอ่อน หรือเข้มนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดื่มน้ำว่า มีปริมาณมากน้อยเพียงใด หรือร่างกายได้รับวิตามินบี 2 มากเกินไปหรือเปล่า ถ้าเราดื่มน้ำมากก็จะทำให้ปัสสาวะมีสีเหลืองอ่อนเกือบใส แต่หากดื่มน้ำน้อยเกินไปก็จะทำให้สีของปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคไตแฝงมาก็ได้ ทั้งที่ดื่มน้ำเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้วโดยเฉพาะถ้ามีอาการตัวเหลืองร่วมด้วยนั้นจะหมายถึงภาวะดีซ่าน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สีของปัสสาวะที่ผิดปกติ

ปัสสาวะใส

เกิดจากการดื่มน้ำที่มากเกินไปทำให้ระดับเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติและอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม

ปัสสาวะสีอมแดง

ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะปกติ มักเกิดจากการรับประทานผักผลไม้ที่มีสีแดงอย่างเช่นบีทรูท หรือแบล็กเบอร์รี่ในปริมาณมาก หรือรับประทานยาที่ทำให้สีของปัสสาวะเป็นสีอมแดง เช่น phenothiazines, phenytoin แต่ถ้าไม่ได้รับประทานสิ่งเหล่านี้ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่า มีเม็ดเลือดแดงที่แตกอยู่ในหลอดเลือดมากผิดปกติทำให้ฮีโมโกลบินในเลือดสามารถผ่านไตลงมาปะปนในปัสสาวะได้

หรืออาจเกิดจากการมีเลือดออกในบริเวณทางเดินปัสสาวะที่เป็นอาการของโรคต่างๆ ได้แก่ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่ว และโรคเนื้องอก รวมถึงภายในร่างกายมีอวัยวะที่ฉีกขาดซึ่งเราสามารถตรวจพบได้จากการเจาะเลือดแล้วนำไปปั่นเอาเฉพาะน้ำเหลืองมาดู จะพบว่า น้ำเหลืองมีสีชมพูปนอยู่ด้วย

นอกจากนี้สีของปัสสาวะอมแดง ยังเกิดจากการมี Myoglobin ในปัสสาวะ ทั้งที่โดยปกติจะอยู่ในกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่หากกล้ามเนื้อถูกทำลายอย่างเช่นโรค Rhabdomyolysis ก็จะทำให้ Myoglobin ออกมาปนในปัสสาวะได้

ปัสสาวะสีน้ำตาล

เมื่อเรารับประทานถั่วในปริมาณมากๆ หรือรับประทานยาหลายชนิด จะทำให้สีของปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลได้ แต่ก็อาจหมายถึงในปัสสาวะมีลิ่มเลือดปะปนในนั้น หรือเกิดจากน้ำดีจากภาวะดีซ่านด้วยเช่นกัน และยังสามารถเกิดจากในปัสสาวะมี Myoglobin หรือ Hemoglobin ได้

การรับประทานยาควินินที่ใช้รักษาโรคมาลาเรียจนทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อย รวมถึงผู้ป่วยโรคเลือด G6PD Deficiency  ถ้าได้ยาที่แพ้จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกอีกด้วย หรืออาจเกิดจากการรับประทานยาดังต่อไปนี้ primaquine   methocarbamol  chloraquine  furazolidone ท nitrofurantoin  metronidazole cascara / senna laxatives และ sorbitol เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัสสาวะสีขาวขุ่นมาก

มักพบในผู้ที่รับประทานอาหารมากเกินไป หรือดื่มนมปริมาณมากๆ ซึ่งเกิดจากผลึกของ phosphate หรือเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือโรคกรวยไตอักเสบ รวมถึงเกิดจากการมีน้ำเหลืองปนในปัสสาวะที่เรียกว่า Chyuria 

ปัสสาวะสีน้ำนม

เป็นสีของหนองที่มาจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นสีของไขมันที่เกิดจากท่อน้ำเหลืองอุดตัน โดยมักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเท้าช้าง

ปัสสาวะสีส้ม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีสีของปัสสาวะเป็นสีส้ม อันเนื่องมาจากการรับประทานยาที่ใช้รักษาโรคคือ phenazopyridine เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการปัสสาวะขัด rifampin, sulfasalazine และ phenacetin คือ ยารักษาวัณโรค อีกทั้งยังเกิดจากการรับประทานอาหารบางชนิดเป็นจำนวนมาก เช่น แครอท วิตามินซี หรือวิตามินบี 2 เป็นต้น

ปัสสาวะสีน้ำเงิน

หากเรากำลังอยู่ในช่วงรับประทานยาเพื่อรักษาอาการไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ จะทำให้สีของปัสสาวะเป็นสีฟ้าอ่อน หรือสีน้ำเงิน โดยยาที่พบว่าใช้บ่อยคือ Methylene blue และยังมียาชนิดอื่นๆ เช่น triamterene, indomethacin, amitriptyline, cimetidine, Phenergan และ resorcinol เป็นต้น

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า สีของปัสสาวะนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยและยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถประเมินสุขภาพของตัวเองเบื้องต้นได้ว่า ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคแล้วรับการรักษาหรือไม่ หรือควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำอย่างไรให้เหมาะสม


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
"Urine". abnormal color: MedlinePlus Medical Encyclopedia. 2019-01-28. Retrieved 2019-02-10.
Aycock, Ryan D.; Kass, Dara A. (2012). "Abnormal Urine Color". Southern Medical Journal. Southern Medical Association. 105 (1): 43–47. doi:10.1097/smj.0b013e31823c413e. ISSN 0038-4348. PMID 22189666

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)