ความดันโลหิตสูง หมายถึง ร่างกายมีระดับความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย แต่โดยปกติโรคนี้จะไม่มีอาการแสดงใดๆ ดังนั้นวิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงคือ ต้องวัดความดันโลหิตเป็นประจำ
บทนำ
ความดันเลือดสูง หรือความดันโลหิตสูง โดยทั่วไปหมายถึง ร่างกายมีระดับความดันโลหิตสูงต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ขึ้นไป
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เส้นแบ่งระหว่างความดันโลหิตปกติและความดันโลหิตสูงไม่ได้ถูกกำหนดไว้ตายตัว และขึ้นกับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามแพทย์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า ความดันโลหิตที่เหมาะสำหรับคนสุขภาพดีคือประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
หัวใจ (ทำหน้าที่สูบฉีดเลือด)
หัวใจคือกล้ามเนื้อที่ถูกออกแบบมาเพื่อการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง หัวใจจะสูบฉีดเลือดดำที่มีออกซิเจนต่ำไปยังปอดผ่านหลอดเลือดดำ (veins) ซึ่งปอดจะทำหน้าที่ฟอกเลือด ทำให้มีออกซิเจนเพิ่มกลับเข้ามาในเลือด
เมื่อเลือดได้รับการฟอกและมีปริมาณออกซิเจนเต็มที่แล้ว หัวใจจะสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนสูงนี้ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านหลอดเลือดแดง (arteries) โดยออกซิเจนจะถูกใช้โดยกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย
วิธีในการวัดความดันโลหิต
ความดันโลหิต คือความดันที่กระทำกับผนังของหลอดเลือดแดงขณะที่เหลือไหลผ่าน โดยวัดออกมาในหน่วยมิลลิเมตรปรอท (millimetres of mercury) ใช้สัญลักษณ์ย่อคือ mmHg
สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความดันโลหิตจะถูกอธิบายไว้ด้านล่างนี้
ในการวัดความดันโลหิต เราจะวัดค่าความดันทั้งหมด 2 ค่าด้วยกัน คือ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ความดันตัวบน หรือความดันขณะหัวใจบีบตัว (systolic pressure): เป็นการวัดความดันโลหิตขณะที่หัวใจเต้นเพื่อบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- ความดันตัวล่าง หรือความดันขณะหัวใจคลายตัว (diastolic pressure): เป็นการวัดความดันโลหิตขณะที่หัวใจพักระหว่างจังหวะการเต้นแต่ละครั้ง (ช่วงหัวใจคลายตัว)
ทั้งความดันตัวบน และความดันตัวล่าง จะถูกวัดออกมาในหน่วยมิลลิเมตรปรอท (mmHg)
ในการเขียนตัวเลขความดันโลหิต ตัวเลขด้านหน้าจะหมายถึงความดันตัวบน (ความดันขณะหัวใจบีบตัว) และตัวเลขด้านหลังหมายถึงความดันตัวล่าง (ความดันขณะหัวใจคลายตัว) เช่น ความดันโลหิตของคุณคือ 120/80 mmHg แพทย์จะอ่านให้คุณทราบว่าความดันโลหิตของคุณคือ “หนึ่งร้อยยี่สิบ แปดสิบ มิลลิเมตรปรอท”ซึ่งหมายความว่า ความดันตัวบนของคุณคือ 120 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างของคุณคือ 80 มิลลิเมตรปรอท
อาการของความดันโลหิตสูง
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการ หรือยังไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด
วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงก็คือ ต้องหมั่นวัดความดันโลหิตเป็นประจำ ดังนั้นให้สอบถามแพทย์ที่ดูแลคุณว่าคุณควรวัดความดันโลหิตอีกครั้งเมื่อไร
ความดันโลหิตสูงพบได้บ่อยแค่ไหน
ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบได้บ่อย ประมาณการณ์ว่า 18% ของผู้ใหญ่เพศชาย และ 13% ของผู้ใหญ่เพศหญิงมีภาวะความดันโลหิตสูงแต่ไม่ได้รับการรักษา
พบว่า 90-95% ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ไม่ได้มีสาเหตุเพียงสาเหตุเดียวที่ทำให้ความดันโลหิตสูง แต่ข้อมูลทางวิชาการในปัจจุบันพบว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตคือส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิตของคุณ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง ได้แก่:
- อายุ: โดยพบว่ายิ่งอายุมากขึ้น ความเสี่ยงในการมีความดันโลหิตสูงจะเพิ่มมากขึ้นด้วย ครึ่งหนึ่งของผู้ที่อายุมากกว่า 75 ปี มีภาวะความดันโลหิตสูง
- รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์
- ขาดการออกกำลังกาย
- น้ำหนักเกิน อ้วน
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ยังไม่สามารถเข้าใจเหตุผลได้ชัดเจน คือคนแอฟริกันแคริบเบียน (Afro-Caribbean) และ เอเชียใต้ (อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ) มีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูงมากกว่าคนเชื้อชาติอื่น
ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากมีความดันโลหิตสูงคืออะไร?
ความดันโลหิตสูงคือปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) เช่น:
- โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease): คือภาวะที่มีการอุดตันของไขมันที่หลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจ (coronary arteries)
- โรคหลอดเลือดสมอง (strokes): คือภาวะร้ายแรงที่เลือดไหลเวียนไปสมองถูกขัดขวางทำให้สมองขาดเลือด
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attacks): คือภาวะร้ายแรงที่เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของหัวใจถูกขัดขวาง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคเบาหวานและโรคไต มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง
การรักษาและการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงสามารถจัดการและควบคุมอาการได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น:
- รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ยังมียาสำหรับช่วยลดความดันโลหิตด้วย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้สั่งยาให้กับคุณ