เกาต์คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เกาต์คืออะไร?

เกาต์นั้นเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวด บวม และอักเสบขึ้นที่ข้อ มันยังสามารถส่งผลต่อร่างกายส่วนต่างๆ เช่นหู ข้อมือ ข้าเข่า ข้อเท้า และข้อเล็กๆ ในมือ ส่วนมากมักเกิดจากการมีกรดยูริกในร่างกายสูง แต่บางกรณีอาจเกิดจาการไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์มาก ความเครียด การรับประทานโปรตีนมากเกินไปและพันธุกรรมได้ โรคเกาต์มักจะมีความเชื่อมโยงกับโรคอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่าดังนั้นจึงควรไปตรวจติดตามกับแพทย์ วิธีต่อไปนี้อาจจะช่วยลดอาการปวดข้อจากโรคเกาต์ได้

เชอร์รี่

เชอร์รี่นั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งดีต่ออาการปวดข้อจากโรคเกาต์ โดยจะช่วยลดการอักเสบและการกำเริบของโรคได้จากการที่มีสาร anthocyanin ลองรับประทานเชอร์รี่วันละ 15-20 ลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รากขิง

รากขิงนั้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและมีการนำมาใช้ในหลายวิธีเพื่อลดอาการปวดจากโรคเกาต์ วิธีหนึ่งคือการเติมลงไปในอาหารที่รับประทาน อีกวิธีหนึ่งก็คือการเติมรากขิงครึ่งช้อนชาลงในน้ำเดือด รอให้เย็นก่อนนำมาดื่ม อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการผสมเข้ากับน้ำเล็กน้อยก่อนนำมาทาที่บริเวณที่มีอาการและทิ้งไว้ 30 นาที

ดื่มน้ำมากๆ

หากคุณกำลังปวดข้อและมีข้อบวมจากโรคเกาต์ การดื่มน้ำให้เพียงพอนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกายและควบคุมโรคเกาต์

น้ำส้มสายชูจาก apple cider

กรดในน้ำส้มสายชูจาก apple cider นั้นจะช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้ ให้เติมน้ำส้มสายชูจาก apple cider 1 ช้อนชาลงในน้ำ 1 แก้วก่อนรับประทานวันละ 2-3 ครั้ง หากคุณพบว่ามันช่วยได้อาจลองเพิ่มปริมาณของน้ำส้มสายชูจาก apple cider ที่ใช้

น้ำเย็น

ความเย็นนั้นจะช่วยลดอาการบวมได้ ในผู้ป่วยโรคเกาต์ให้แช่ข้อที่กำลังมีอาการปวดลงในน้ำเย็นแทนการใช้น้ำแข็ง เนื่องจากน้ำแข็งนั้นจะทำลายผิวหนังและทำให้อาการแย่ลง

กล้วย

กล้วยมีโพแทสเซียมในปริมาณที่สูงซึ่งจะช่วยเปลี่ยนผลึกกรดยูริกในร่างกายให้กลายเป็นของเหลวซึ่งร่างกายสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ กล้วยยังมีวิตามินซีซึ่งช่วยลดอาการปวดและบวมได้ ลองเพิ่มการรับประทานกล้วยวันละ 1-2 ลูก

เบกกิ้งโซดา

เบกกิ้งโซดาสามารถช่วยลดระดับของกรดยูริกในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ และช่วยลดาอาการปวดที่เกิดขึ้น ให้ผสมเบกกิ้งโซดาครึ่งช้อนชาลงในน้ำ 1 แก้วก่อนดื่มวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หากคุณมีอายุมากกว่า 60 ปีให้รับประทานวันละ 3 ครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Activated charcoal

Activated charcoal นั้นจะช่วยดูดซึมกรดยูริกซึ่งจะช่วยลดผลของโรคเกาต์ที่ทำต่อร่างกาย วิธีใช้ให้อาบน้ำที่ผสมผงถ่านครึ่งถ้วยหรือทำครีมจากผงถ่านโดยนำมาผสมน้ำเล็กน้อยก่อนนำมาทาบริเวณที่มีอาการ

เกลือยิปซั่ม

เกลือยิปซั่มนั้นมีแมกนีเซียมสูงซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตได้ ให้แช่ส่วนที่มีอาการลงในน้ำอุ่นที่ผสมเกลือยิปซั่มเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการบวม

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนั้นช่วยลดระดับของกรดยูริกในร่างกายโดยการปรับให้อินซูลินเป็นปกติ และยังช่วยลดความถี่และความรุนแรงของโรคอีกด้วย

แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลนั้นมีกรด malic ซึ่งจะช่วยลดกรดยูริกในร่างกายได้ กรดนี้จะช่วยลดอาการบวมและบรรเทาอาการปวด

น้ำเลมอน

วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมจากโรคเกาต์ก็คือลดปริมาณกรดยูริกในเลือด น้ำเลมอนนั้นจะทำให้ร่างกายเป็นด่างและลดกรดที่อยู่ในร่างกายได้ ให้ผสมน้ำจากเลมอน 1 ลูกเข้ากับเบกกิ้งโซดาครึ่งช้อนชา เมื่อฟองหายไปแล้วให้ผสมลงในน้ำและดื่มทันที อีกวิธีหนึ่งก็คือการเติมน้ำเลมอนลงในน้ำและดื่มวันละ 3 แก้ว

หยุดรับประทานน้ำตาล น้ำอัดลม แอลกอฮอล์และคาเฟอีน

การลดระดับน้ำตาลที่รับประทานนั้นจะช่วยลดความรุนแรงของโรคเกาท์ที่เกิดขึ้น และแอลกอฮอล์ก็จะทำให้กรดยูริกในเลือดนั้นสูงขึ้นอีกด้วย


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gout. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/gout/)
Gout: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/144827)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)