Femoral hernia คืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Femoral hernia คืออะไร

กล้ามเนื้อของคุณมักจะมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะดูแลให้ลำไส้และอวัยวะภายในนั้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แต่ในบางครั้ง เนื้อเยื่อในช่องท้องก็อาจจะดันผ่านจุดที่กล้ามเนื้ออ่อนแอเวลาที่คุณเพิ่มความเครียด หากส่วนของเนื้อเยื่อที่ถูกดันออกมานั้นออกมาผ่าน femoral canal ก็จะเรียกว่า femoral hernia ทำให้เกิดก้อนนูนขึ้นบริเวณขาหนีบหรือต้นขา ใน femoral canal นั้นมีเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำและเส้นประสาทอยู่ภายในและอยู่ใต้ต่อ inguinal ligament ที่ขาหนีบ

ผู้หญิงนั้นจะมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะนี้มากกว่าผู้ชาย โดยทั่วไปแล้วภาวะนี้นั้นเกิดได้ไม่บ่อย โดยส่วนใหญ่ไส้เลื่อนที่เป็นมักจะเป็นไส้เลื่อนขาหนีบ และพบ femoral hernia เพียง 3% ของไส้เลื่อนทั้งหมด ส่วนมากมักไม่ได้ทำให้เกิดอาการ แต่ในบางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงได้หากไส้เลื่อนที่เกิดนั้นทำให้ลำไส้อุดตันและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงลำไส้นั้นอุดตันซึ่งจะกลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการผ่าตัดทันที

สาเหตุ

ส่วนมากไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนทั้งแบบ femoral และแบบอื่นๆ ได้ คุณอาจจะเกิดมาพร้อมกับการมีจุดอ่อนที่บริเวณ femoral canal หรือบริเวณดังกล่าวนั้นอาจจะค่อยๆ อ่อนแรงลงเมื่อเวลาผ่านไป

การเพิ่มความเครียดในช่องท้องนั้นจะทำให้ผนังกล้ามเนื้อนั้นอ่อนแรงลงได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดนั้นประกอบด้วย

  • การคลอดลูก
  • ท้องผูกเรื้อรัง
  • ยกของหนัก
  • น้ำหนักเกิน
  • ปัสสาวะลำบากจากการมีต่อมลูกหมากโต
  • ไอเรื้อรัง

อาการ

คุณอาจจะไม่ทันได้สังเกตด้วยซ้ำว่ามี femoral hernia เกิดขึ้น ไส้เลื่อนที่มีขนาดเล็กถึงปานกลางนั้นมักจะไม่ได้ทำให้เกิดอาการ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจะไม่ทันได้สังเกตก้อนที่เกิดจากไส้เลื่อนขนาดเล็ก

ไส้เลื่อนขนาดใหญ่นั้นอาจจะสังเกตได้ง่ายกว่าและอาจทำให้รู้สึกไม่สบายได้ คุณอาจจะสังเกตเห็นก้อนบริเวณขาหนีบใกล้กับต้นขาส่วนบน ก้อนนั้นอาจจะโตมากขึ้นหรือปวดเวลาที่ยืน ยกของหนักหรือมีการเพิ่มความเครียดในช่องท้อง ส่วนมากมักเกิดที่ใกล้กับกระดูกสะโพกและอาจทำให้เกิดอาการปวดสะโพกได้

อาการที่รุนแรงของภาวะนี้

อาการที่รุนแรงนั้นคือการที่ไส้เลื่อนนั้นทำให้ลำไส้อัดตัน ทำให้เนื้อเยื่อของลำไส้นั้นตายและทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อาการที่รุนแรงนั้นประกอบด้วย

ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังกล่าว หากไส้เลื่อนนั้นทำให้ลำไส้อุดตันจะทำให้ไม่มีเลือดไหลมาเลี้ยงลำไส้ การผ่าตัดฉุกเฉินนั้นสามารถรักษาและรักษาชีวิตของคุณได้

การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายด้วยการคลำเบาๆ หรือจับที่บริเวณที่สงสัยว่าเกิดไส้เลื่อน หากไส้เลื่อนนั้นมีขนาดใหญ๋อาจจะสามารถคลำได้

การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงที่ช่องท้องและขาหนีบนั้นสามารถยืนยันการวินิจฉัยได้ เนื่องจากจะทำให้เห็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่หน้าท้องและเนื้อเยื่อที่ยื่นออกไป

การรักษา

ไส้เลื่อนที่มีขนาดเล็กและไม่มีอาการนั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องรักษา แพทย์อาจจะนัดตรวจติดตามอาการเพื่อดูว่าอาการรุนแรงขึ้นหรือไม่ ไส้เลื่อนขนาดกลางถึงใหญ่นั้นต้องใช้การผ่าตัดซ่อมแซมโดยเฉพาะหากมันทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว

การผ่าตัดนั้นจะทำภายใต้การดมยาสลบ และสามารถทำได้ทั้งแบบการผ่าตัดแบบเปิดหรือแบบส่องกล้อง การผ่าตัดเปิดนั้นจะทำให้มีแผลใหญ่กว่าและใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า ในขณที่การผ่าตัดส่องกล้องนั้นจะมีแผลขนาดเล็กประมาณ 3-4 แผลและทำให้เสียเลือดน้อยกว่า วิธีการผ่าตัดที่ใช้นั้นจะขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น

  • ความเชี่ยวชาญของแพทย์
  • ขนาดของไส้เลื่อนและภาวะแทรกซ้อนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  • ระยะเวลาในการฟื้นตัว
  • ค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างเช่นการผ่าตัดส่องกล้องนั้นทำให้เกิดน้อยกว่าและมีแผลเป็นที่เล็กกว่า รวมถึงใช้เวลาในการฟื้นตัวสั้นกว่าแต่ก็มีราคาแพงกว่าเช่นกัน

การผ่าตัดทั้ง 2 แบบนั้น แพทย์จะทำการเปิดแปผลที่ขาหนีบเพื่อเข้าไปยังบริเวณที่เกิดไส้เลื่อน ก่อนที่จะดันให้กลับไปอยู่ในที่ปกติ และจึงเย็บปิดรูดังกล่าวและใส่อุปกรณ์เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับบริเวณดังกล่าว

ผลลัพธ์

Femoral hernia นั้นมักจะไม่ใช่ภาวะที่อันตรายถึงชีวิต

แต่ถ้าหากไส้เลื่อนนั้นทำให้ลำไส้อุดตันอาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน มีการประเมินว่าลำไส้นั้นสามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 8-12 ชั่วโมงหลังจากที่ขาดเลือด ดังนั้นหากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมผนังหน้าท้องนั้นเป็นอะไรที่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับไปทำกิจกรรมเบาๆ ได้ภายใน 2 สัปดาห์และหายเป็นปกติภายใน 6 สัปดาห์

ภาวะนี้มีการกลับเป็นซ้ำค่อนข้างต่ำ โดยคาดการณ์ว่ามีเพียง 1% ของผู้ป่วยทั้งหมดที่กลับเป็นซ้ำ


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
si.mahidol, ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/456_49_1.pdf)
Jennifer Whitlock, RN, MSN, FN, Overview of Femoral Hernia Surgery (https://www.verywellhealth.com/what-is-a-femoral-hernia-surgery-3157223), November 11, 2019
Saurabh (Seth) Sethi, M.D., MPH, How to tell if you have a femoral hernia (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324118.php), January 8, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)