หูอุดตันเกิดจากอะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หูอุดตันเกิดจากอะไร

หูคุณสามารถอุดตันได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • มีขี้หูมากเกินไป
  • มีน้ำในหู
  • เวลาเปลี่ยนระดับความสูงเช่นเวลาเครื่องบินบินขึ้นหรือบินลง
  • การติดเชื้อในโพรงจมูก
  • การติดเชื้อหูชั้นกลาง
  • ภูมิแพ้

ภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่เด็กอาจจะเกิดได้มากกว่าโดยเฉพาะเวลาที่เป็นหวัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำแนะนำ

มีหลายวิธีที่สามารถช่วยแก้ปัญหาหูอุดตันได้ บางครั้งอาจจะหมายถึงการใช้ยา แต่ก็มีหลายวิธีที่สามารถทำได้ที่บ้าน แต่ในบางกรณีอาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อใช้ยา

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำในการแก้ปัญหาหูอุดตัน วิธีส่วนใหญ่นั้นเป็นการทำให้ขี้หูนั้นนิ่มลงและทำให้ขี้หูหลุดออกมาได้

  • Valsalva maneuver เป็นวิธีที่สามารถทำได้โดยการอุดจมูกก่อนเป่าลมแบบปิดปาก (จะทำให้แก้มทั้ง 2 ข้างโป่งแทน) แต่อย่าเป่าแรงเกินไปเพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหากับเยื่อแก้วหูได้
  • น้ำมัน ลองใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันทาผิวเด็กทารกหยดลงในหูข้างที่อุดตัน โดยให้นำน้ำมัน 2-3 ช้อนโต๊ะไปอุ่นก่อน แต่อย่าให้ร้อนเกินไป ตรวจสอบกับมือก่อนว่าร้อนหรือระคายเคืองผิวหนังหรือไม่ ก่อนที่จะใช้ที่หยอด หยอดลงในหู 1-2 หยด เอียงศีรษะทิ้งไว้ 10-15 นาที ทำซ้ำวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วันจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • Hydrogen peroxide หรือ carbamide peroxide สารเคมีทั้งสองชนิดนี้สามารถหยดลงในหูได้ ลองผสมสารเคมีลงในน้ำอุ่นในชามก่อน ก่อนนำไปหยอดหูโดยใช้วิธีเดียวกับการหยอดน้ำมัน คุณอาจจะรู้สึกซ่าๆ เล็กน้อย ให้เอียงศีรษะค้างไว้จนกว่าอาการซ่าๆ ดังกล่าวนั้นจะหายไป
  • ยาหยอดหู คุณสามารถซื้อยาหยอดหูที่ใช้ละลายขี้หูได้ที่ร้านขายยา ให้ใช้ตามวิธีที่เขียนไว้บนผลิตภัณฑ์
  • สเปรย์ลดอาการคัดจมูก สเปรย์ลดอาการคัดจมูกนั้นจะมีประโยชน์มากเวลาที่นั่งเครื่องบิน และมีประสิทธิภาพในการรักษาพอๆ กับการป้องกัน
  • การล้างหู การล้างหูอาจจะช่วยได้หากคุณมีการอุดตันมาก โดยสามารถทำได้ที่บ้าน เมื่อขี้หูนั้นนิ่มลงแล้ว การล้างหูจะช่วยทำให้ขี้หูหลุดออกมาได้
  • การประคบอุ่นหรือใช้ไอน้ำ ลองใช้การประคบอุ่นที่หูหรือลองอาบน้ำร้อน ไอน้ำที่เกิดขึ้นนั้นจะเข้าไปในรูหู แต่ควรอาบน้ำนานอย่างน้อย 5-10 นาที

ใช้อย่างระมัดระวัง

อย่าลืมว่าหูนั้นเป็นอวัยวะที่ไวต่อสิ่งต่างๆ มาก และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักจะไม่แนะนำให้ผู้ป่วยนั้นทำความสะอาดหูเป็นประจำ

หากคุณทำ ควรทำอย่างระมัดระวังและทำอย่างเบาๆ การใช้ไม้แคะหูนั้นอาจจะดูเหมือนเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันขี้หูอุดตันแต่มันสามารถทำให้เกิดปัญหาต่อหูได้ ดังนั้นเวลาที่ทำความสะอาดหู ให้ทำเบาๆ เวลาที่ล้างหู ให้ใช้ผ้าเปียกชุบน้ำอุ่นที่หูส่วนนอกเท่านั้น

เมื่อไหร่ควรต้องไปพบแพทย์

มีหลายวิธีที่สามารถใช้ในการรักษาหูอุดตันที่บ้าน แต่บางครั้งการไปพบแพทย์นั้นสามารถทำให้หายได้เร็วขึ้นได้ ตัวอย่างเช่นหากมีการติดเชื้อในโพรงจมูกและหูชั้นกลางนั้นการไปพบแพทย์เพื่อได้รับยานั้นจะช่วยได้มาก เวลาที่คิดว่าต้องไปพบแพทย์หรือไม่ ให้พิจารณาอาการที่คุณเป็น

หากคุณมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์

สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่จำเป็นว่ามีบางอย่างผิดปกติเสมอไป แต่จะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้

สรุป

หูที่อุดตันนั้นถึงแม้ว่าอาจจะเป็นปัญหาแต่ก็สามารถรักษาให้หายได้ แม้ว่าในบางรายอาจจะต้องใช้หัตถการทางการแพทย์ช่วย

ภาวะนี้เป็นภาวะที่น่ารำคาญ ดังนั้นคุณอาจจะอยากรีบรักษาให้หายให้เร็วที่สุด เวลาที่ใช้ในการรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดหูอุดตันและคุณตัดสินใจเริ่มรักษาเร็วแค่ไหน หูที่อุดตันจากน้ำหรือความดันอากาศนั้นอาจจะหายได้อย่างรวดเร็ว การติดเชื้อและขี้หูนั้นอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ก่อนจะหาย ในบางสาเหตุ โดยเฉพาะการติดเชื้อในโพรงจมูกอาจจะต้องใช้เวลานานกว่านั้น การได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมนั้นจะช่วยทำให้คุณให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, ขี้หู อุดตัน...ทำอย่างไรดี (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=748), 23/11/2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง

ผิวหนังที่บางนั้นอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายแม้แต่เวลาที่คุณพยายามจะรักษามัน

อ่านเพิ่ม