อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือความเจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ โดยเฉพาะการใช้ข้อมือที่หนักจนเกินไปอย่างเช่นการเล่นวอลเล่ย์บอล เทนนิส หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากเอ็นอักเสบ รวมทั้งเป็นอาการกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ อาการเหล่านี้สามารถรักษาและบรรเทาให้เจ็บปวดน้อยลง หรือหายได้ด้วยตนเองโดยที่ยังไม่ต้องไปพบแพทย์ก็ได้ โดยการใช้ผ้าสำหรับพันเพื่อกระชับกล้ามเนื้อส่วนที่บาดเจ็บไว้นั่นเอง
ผ้าสำหรับพันเพื่อกระชับกล้ามเนื้อคืออะไร
เป็นผ้าที่ออกแบบมาด้วยการทออย่างยืดหยุ่น มีลักษณะเป็นยางยืดหรือสามารถหดตัวได้เป็นอย่างดี ประกอบกับความนุ่มบางเบาสบาย สำหรับพันกล้ามเนื้อที่แขน ขา ข้อเข่า และข้อศอก เพื่อบรรเทาหรือป้องกันอาการเจ็บปวด บวม ช้ำ เคล็ด และแพลงที่บริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่อาจถูกกระแทกได้ เมื่อใช้แล้วยังคงสามารถนำมาซักสำหรับใช้ซ้ำได้อีกหลายครั้ง และยังมีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดีด้วยเช่นกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ประโยชน์ของผ้าสำหรับพันเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
- เพื่อเป็นการลดอาการปวดบวมของอวัยวะ และช่วยลดการขยับเขยื้อนของอวัยวะที่บาดเจ็บให้น้อยลง จนกระทั่งส่งผลให้การเจ็บปวดหรือบวมนั้นยุบบรรเทาดีขึ้นหรือหายจากการปวดหรือบวมได้
- ช่วยไม่ให้เกิดการรัดพยุงหรือป้องกันไม่ให้ท่อน้ำเหลืองกับหลอดเลือดดำอุดตัน
- ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไปที่แขนและขาได้ดีขึ้น
- ช่วยพันห่อรอบแขนและขาขณะเกิดการบาดเจ็บจนถึงกับต้องเข้าเฝือก
ผ้าสำหรับพันเพื่อกระชับกล้ามเนื้อมีวิธีใช้อย่างไร
ผ้าสำหรับพันเพื่อกระชับกล้ามเนื้อมีหลายขนาด แบ่งออกเป็นชนิดธรรมดาและชนิดผ้ายืด ซึ่งมีขนาดความกว้างดังนี้ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 นิ้ว หากเป็นผ้ายืดจะดีกว่าเพราะมีความยืดหยุ่นและนิ่ม สามารถยืดหรือหดได้นั่นเอง ทั้งนี้ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดของอวัยวะที่จะใช้ด้วย ถ้าอวัยวะที่ต้องการพันมีขนาดใหญ่อย่างเช่นศีรษะก็ควรใช้ขนาด 6 นิ้ว ส่วนแขนก็อาจจะเป็นขนาด 3 – 4 นิ้ว โดยให้มีความกว้างกว่าขอบของบาดแผลหรือบริเวณที่ฟกช้ำประมาณ 1 นิ้ว จึงจะเหมาะสม
การใช้ผ้าพันเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
สำหรับการใช้ผ้าพันเพื่อกระชับกล้ามเนื้อกับอวัยวะต่างๆ มีวิธีการใช้ดังนี้
ผู้ที่ใช้ผ้าพันกับผู้ที่ต้องการพันกล้ามเนื้อให้หันหน้าเข้าหากัน โดยผู้ที่ถูกพันจะต้องอยู่ในท่าที่สบายๆ ไม่เกร็ง
- หากบริเวณที่ต้องการพันนั้นไม่ใช่อาการบวม เจ็บปวด หรือมีบาดแผลเกิดขึ้นด้วย จะต้องทำความสะอาดบริเวณนั้นให้สะอาดและปิดแผลด้วยผ้าสะอาดก่อน หรืออาจจะใช้ปลาสเตอร์ปิดทับก็ได้
- แล้วจึงใช้ผ้าพันกล้ามเนื้อพันลงไปทับอีกครั้ง ข้อควรระวังคืออย่าพันผ้าให้แน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้บาดแผลเกิดอันตรายและรุนแรงมากขึ้น
- สำหรับบริเวณขาและสะโพกควรมีคนช่วยพยุงผู้ป่วยไว้
- ถ้าส่วนที่จะพันผ้านั้นเป็นท่อนแขนหรือท่อนขา ควรพันบริเวณข้อศอกหรือข้อเข่าด้วย
ลักษณะการพันผ้าเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
การพันผ้าโดยทั่วไปจะใช้การพันอยู่ 3 ลักษณะ โดยสามารถดูได้จาก
การพันเป็นรอบหรือการพันเป็นวงกลม อวัยวะที่เหมาะจะใช้วิธีนี้เพราะค่อนข้างสั้นและกลม ได้แก่ ศีรษะ ข้อมือ นิ้วมือ หรือข้อขา โดยมักจะใช้เริ่มและตอนจบของการพันอีกด้วย
การพันเป็นเกลียวรอบอวัยวะ เหมาะกับอวัยวะที่มีลักษณะยาวเรียว เช่น ต้นแขน ต้นขา หน้าแข้ง และลำตัว
การพันแบบสลับไปมาเหมือนเลขแปด เหมาะกับอวัยวะที่เป็นส่วนสั้นๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก หัวไหล่ และสะโพก
ผ้าสำหรับพันเพื่อกระชับกล้ามเนื้อเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ลดความเจ็บปวดหรืออาการบาดเจ็บ อีกทั้งผลเสียก็มีน้อยรวมทั้งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สะดวกและประหยัด เป็นการบรรเทาอาการเจ็บป่วยของอวัยวะนั้นได้เป็นอย่างดี แต่หากพบว่าเมื่อพันผ้าแล้วอาการไม่ดีขึ้นอย่างเช่นมีอาการปวดหรือบวมมากกว่าเดิมแบบนี้ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจแต่รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องต่อไป