พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์ แพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา และเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
เขียนโดย
พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์ แพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา และเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

โรคอ้วน ภัยร้ายเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์

ข้อควรระวัง! ความเสี่ยงของสตรีมีครรภ์ที่มีน้ำหนักมาก อาจส่งผลรุนแรงต่อทารกในครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
โรคอ้วน ภัยร้ายเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โดยปกติผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป นอกจากจะทำให้รูปร่างไม่สวยแล้ว ยังเป็นสาเหตุของการเป็นโรคต่างๆ อีกด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังจะตั้งครรภ์ โรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวที่มากเกินกลับมีผลเสียต่อทารกในครรภ์มากกว่าเดิมหลายเท่า

ผลต่อการตั้งครรภ์

  • ภาวะแท้ง : ภาวะอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง 1.2 เท่า และภาวะแท้งซ้ำซาก 3.5 เท่า
  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ : ความผิดปกติของการคลอด เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง การทำงานของระบบหัวใจผิดปกติ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะตายคลอด
  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างช่วงเจ็บครรภ์คลอด : เพิ่มความเสี่ยงในการคลอดบุตรด้วยการผ่าตัดทางหน้าท้อง เนื่องจากทารกมักมีขนาดตัวใหญ่

ดังนั้นผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเกินและตั้งครรภ์จะได้รับการดูแลเหมือนกับกรณีมารดาที่ตั้งครรภ์แบบมีความเสี่ยงสูง คือ จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ได้รับการตรวจบ่อยครั้งมากขึ้น มีข้อปฏิบัติมากขึ้น และต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะการกินอาหาร ออกกำลังกาย และรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นทางที่ดี ก่อนที่จะตั้งครรภ์ ควรจะลดน้ำหนักให้กลับมาเป็นปกติ เพื่อประโยชน์ทั้งตัวมารดาและทารกในครรภ์ 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
พญ.วรรณพร สิงห์น้อย และ ผศ.พญ. กุณฑรี ไตรศรีศิลป์ (http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=1364%3Aobesity-in-pregnancy&catid=45%3Atopic-review&Itemid=561&fbclid=IwAR3Bt3jyq6gN6BCprJmxYLPNympJ7GMxly-auQ031oJapRE99IX0MKGTftg), 25 กุมภาพันธ์ 2562
Practice Bulletin No. 156: Obesity in Pregnancy: Correction. Obstetrics and gynecology. 2016;128(6):1450. (https://journals.lww.com/greenjournal/Citation/2015/12000/Practice_Bulletin_No_156__Obesity_in_Pregnancy.55.aspx), December 2015

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป