กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ถ้าตั้งครรภ์หลังอายุเกิน 35 ปีจะมีผลกับทารกในครรภ์อย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ถ้าตั้งครรภ์หลังอายุเกิน 35 ปีจะมีผลกับทารกในครรภ์อย่างไร

โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ที่ดีคือเมื่ออายุประมาณ 23 - 27 ปี แต่ในปัจจุบันที่สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้หญิงแต่งงานช้าลง หรืออาจจะตั้งครรภ์ช้าลง จนบางครั้งกว่าจะเริ่มสร้างครอบครัวก็อายุปาไป 30 - 35 ปี หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำที่ว่า 

พออายุเยอะแล้วจะมีลูกจะลำบาก จะมีอันตราย ฯลฯ จริงๆ แล้วการตั้งครรภ์เมื่ออายุ เกิน 35 ปีนั้นจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลสถิติ รวมถึงคำแนะนำต่างๆ ในการเตรียมตัวมาฝาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตั้งครรภ์หลังอายุ 30 มีความเสี่ยงไหม?

หากคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป ทารกในครรภ์จะมีภาวะเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะผิดปกติหรือดาวน์ซินโดรม โดยมีสถิติความเสี่ยงที่รวบรวมเกี่ยวกับทารกดังนี้

  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุประมาณ 20 ปี ทารกในครรภ์มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมเพียง 1 ใน 10,000
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุประมาณ 35 ปี ทารกในครรภ์มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรม 0-3 ใน 1,000 ซึ่งมีโอกาสมากกว่าตอนอายุ 20 ปี
  • และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ทารกในครรภ์มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมถึง 1 ใน 100 หรือ 1% เลยทีเดียว

สามารถป้องกันได้ไหม?

ภาวะดาวน์ซินโดรมเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์จึงควรไปฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์และควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่อายุเกิน 35 ปีจะได้รับการวินิจฉัยนี้ 

หากพบว่าเกิดความผิดปกติ คู่สมรสจะต้องเป็นผู้เลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อหรือจะยุติการตั้งครรภ์ นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุเกิน 35 ปีมีโอกาสเกิดภาวะความดันสูง เบาหวาน โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด และที่สำคัญคือมีโอกาสแท้งบุตรสูงกว่า 

แต่หากได้รับการดูแลอย่างดี ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก็ไม่น่าวิตกกังวลมากนัก นอกจากนี้ว่าที่คุณแม่ควรทำตามคำแนะนำของคุณหมอ ดูแลตัวเองด้วยอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ใม่เครียดและบำรุงร่างกายอยู่เสมอ ก็จะแข็งแรงปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Reeta L., A Review of Pregnancy in Women Over 35 Years of Age (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), 6 August 2009
Pregnancy After 35 (https://www.webmd.com/baby/gui...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
หญิงตั้งท้องให้มองรูปเด็กน่ารักเมื่อคลอดลูกออกมาจะน่ารักจริงหรือ?
หญิงตั้งท้องให้มองรูปเด็กน่ารักเมื่อคลอดลูกออกมาจะน่ารักจริงหรือ?

การมองรูปเด็กหน้าตาน่ารักๆ ทุกวันแล้วลูกจะเกิดมาน่ารักหรือเป็นเด็กอารมณ์ดี? ร่วมวิเคราะห์ไปกับบทความนี้

อ่านเพิ่ม