ในช่วงสัปดาห์ที่ 17-20 ปอดทารกเริ่มขับน้ำคร่ำออก มีการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบปัสสาวะ ตุ่มรับรสมีการพัฒนา ตอบสนองต่อแสงและเสียงดังภายนอกครรภ์มารดา และมีการสร้างไขปกคลุมตัวทารกในช่วงเวลานี้
สัปดาห์ที่ 17
ทารก: ทารกของคุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มมีไขมันสร้างขึ้นในร่างกายทารก ช่วยให้ทารกสร้างความร้อนและเผาผลาญพลังงานได้ ปอดเริ่มมีการขับน้ำคร่ำออก และระบบไหลเวียนโลหิตและปัสสาวะเริ่มทำงานในช่วงนี้ มีผมที่ศีรษะ มีคิ้ว และขนตา
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณแม่: ครรภ์จะเริ่มใหญ่ขึ้น โดยน้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 2.3 – 4.5 กิโลกรัม คุณอาจรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น
เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเวียนศีรษะ คล้ายเป็นลม ให้เปลี่ยนท่าทางช้าๆ โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่านั่ง หรือเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน หากคุณรู้สึกเวียนศีรษะ ให้นั่งลง และลดระดับศีรษะให้ต่ำลง หรือนอนราบสักครู่
สัปดาห์ที่ 18
ทารก: การเจริญเติบโตของทารกอย่างรวดเร็วจะเริ่มลดลง แต่จะเริ่มมีปฏิกิริยาการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น ทารกจะเริ่มหาว แสดงสีหน้าท่าทางต่างๆ แม้กระทั่งขมวดคิ้ว ตุ่มรับรสเริ่มมีการพัฒนา และสามารถแยกรสหวานออกจากรสขมได้ ทารกสามารถกลืนและมีอาการสะอึกได้ จอตา (retina) มีความไวต่อแสง ดังนั้นถ้ามีแสงสว่างจ่ออยู่ที่หน้าท้องของมารดา ทารกอาจขยับตัวหนีเพื่อป้องกันดวงตาของตนเอง
คุณแม่: มดลกของคุณมีขนาดประมาณแคนตาลูป อาจรู้สึกได้ที่บริเวณด้านล่างของสะดือ ในช่วงนี้คุณจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารก การตรวจอัลตราซาวน์ในช่วงกลางของการตั้งครรภ์จะทำในสัปดาห์นี้จนถึงสัปดาห์ที่ 22 ของการตั้งครรภ์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก และช่วยประเมินวันครบกำหนดคลอด ถ้าทารกอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง การอัลตราซาวด์ในช่วงนี้อาจแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หัวใจของมารดาจะทำงานหนักกว่าปกติ 40-50% เพื่อรองรับการตั้งครรภ์ในช่วงนี้
เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: คุณสามารถพาแฟนไปตรวจอัลตราซาวด์ด้วยกันได้หรือไม่? เพราะเป็นโอกาสที่จะได้เห็นภาพแรกของลูกน้อยไปด้วยกัน
สัปดาห์ที่ 19
ทารก: ผิวของทารกมีการพัฒนาและโปร่งแสงและมองเห็นสีแดงในช่วงนี้ เป็นเพราะเป็นสีของเส้นเลือดภายในผิวหนัง ในช่วงนี้จะมีไขสีขาวสร้างขึ้นมาปกคลุมผิวทารก หรือเรียกว่า vernix
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณแม่: เมื่อลูกน้อยโตขึ้นเรื่อยๆ คุณอาจเริ่มรู้สึกปวด และไม่สบายตัว ได้แก่ ปวดท้องส่วนล่าง เวียนศีรษะ แสบร้อนกลางอก ท้องผูก ตะคริวที่ขา บวมเล็กน้อยที่ข้อเท้าและเท้า และปวดหลัง
การขยายตัวของหลอดเลือดอาจทำให้เกิดรอยแดงชั่วคราวที่ผิวหนังคล้ายแมงมุม (เรียกว่า spider nevi) โดยจะพบที่ใบหน้า หัวไหล่ และแขน
เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ดูแลตัวคุณเองเป็นอย่างดี! พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าให้ร่างกายเหนื่อยมากเกินไปในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
สัปดาห์ที่ 20
ทารก: ทารกสามารถได้ยินเสียงในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงคุณ เสียงหัวใจคุณ และเสียงร้องของกระเพาะอาหารคุณ รวมถึงเสียงจากภายนอกร่างกายคุณด้วย ทารกจะเอามือมาปิดหู หากมีเสียงดังใกล้ๆ ตัวคุณ ทารกมักจะเคลื่อนที่บ่อยครั้งในช่วงนี้ เช่น บิดตัว หมุนตัว แกว่งตัวไปมา ต่อย เตะ
คุณแม่: ขอแสดงความยินดีด้วย! คุณใกล้ถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์แล้ว รอบเอวของคุณจะหายไป ช่วงนี้คุณจะมีโอกาสติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะง่าย เพราะกล้ามเนื้อในทางเดินปัสสาวะคลายตัว คุณจะหายใจลึกขึ้น และอาจมีเหงื่อออกมาก เพราะต่อมไทรอยด์ของคุณทำงานมากขึ้น
เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: รู้สึกปวดหลังหรือไม่? ให้สังเกตท่าทางของคุณ แนะนำให้นั่งบนเก้าอี้ที่มีที่วางเท้า หรือใช้เก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระของร่างกาย หลีกเลี่ยงการยืนยานเกินไป ขณะนอน ให้วางหมอนเล็กๆ ไว้ด้านข้างใต้เอว
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เกิดอะไรขึ้นภายในร่างกายในช่วงเวลานี้
ผมกำลังงอกขึ้นที่ศีรษะทารก มีขนละเอียดเล็กๆ เรียกว่า ลานูโก ปกคลุมที่หัวไหล่ แผ่นหลัง และขมับ โดยขนนี้จะปกป้องร่างกายทารกและหลุดร่วงไปหลังคลอด (ไม่เกิน 1 สัปดาห์หลังคลอด)
ที่ผิวหนังของทารกจะมีไขสร้างมาปกคลุมตัวทารก เรียกว่า vernix caseosa เพื่อปกป้องผิวของทารกจากการสัมผัสกับน้ำคร่ำที่นานเกินไป และไขนี้จะหายไปหลังจากคลอดแล้ว
ในช่วงนี้คุณอาจรู้สึกว่าทารกมีการเคลื่อนไหว เพราะทารกกำลังมีการพัฒนากล้ามเนื้อ เราเรียกการเคลื่อนไหวนี้ว่า การดิ้นครั้งแรกของทารก (quickening)
https://www.webmd.com/baby/guide/your-pregnancy-week-by-week-weeks-17-20#1