กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์: ร่างกายคุณจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์: ร่างกายคุณจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

อาการและอาการแสดงของการตั้งครรภ์

อาการของการตั้งครรภ์สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ในระยะแรก ผู้หญิงบางคนอาจเริ่มมีการขาดประจำเดือนเป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์และทำให้ไปทดสอบการตั้งครรภ์ บางคนอาจพบว่าอาการของการตั้งครรภ์ของตนเองมีความแปลกไปจากปกติและไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การดูแลก่อนคลอด

ผู้หญิงส่วนมากจะต้องการการตรวจครรภ์ระยะแรกจากแพทย์หรือผดุงครรภ์ แต่มักพบว่าจะไปฝากครรภ์ครั้งแรกระหว่างสัปดาห์ที่ 8 -12 ของการตั้งครรภ์ (แต่หากคุณมีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์ทันที) การฝากครรภ์ครั้งแรกมักเป็นครั้งที่ใช้เวลานานที่สุด เพราะจะต้องมีการซักประวัติทางสังคมและประวัติสุขภาพ อาจจะต้องมีการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจ ultrasound และคุณจะได้ทราบวันกำหนดคลอด

การเจริญเติบโตของทารก

ในช่วง 2 เดือนหลังจากการปฏิสนธิของไข่และเสปิร์มจนเกิดเป็นตัวอ่อน เซลล์จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการสร้างอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ สมอง ปอด และไต หัวใจของทารกทารกจะเริ่มเต้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็จะเริ่มมีการพัฒนาของแขน ขา และส่วนอื่นๆ ของร่างกายตามมา

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณ

ร่างกายคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยสามารถมีอาการได้ตั้งแต่อาการแพ้ ท้องในตอนเช้า อ่อนเพลีย อยากทานอาหารแปลกไป และความเปลี่ยนแปลงที่อาจฟังดูน่าตลกได้อีกหลายอย่าง

 


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
A Week-by-Week Pregnancy Calendar (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/pregnancy-calendar-intro.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป