ผลเสียที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผลเสียที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง

การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ใช้ยาปริมาณน้อยหรือมากเกินไป ใช้ผิดวิธี ระยะเวลาไม่เหมาะสม เลือกยาไม่ถูกกับเชื้อแบคทีเรียตลอดจนใช้บ่อยหรือพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็น จะทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ใช้ ดังนี้

1. เกิดการดื้อยา

เชื้อแบคทีเรียโดยทั่วไปมีคุณสมบัติที่จะมีวิวัฒนาการโดยการผ่าเหล่าให้ตนเองดื้อยา และยังสามารถถ่ายทอดคุณสมบัติการดื้อยาจากแบคทีเรียตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งได้ดื้อยาได้ การใช้ที่ไม่ถูกต้องจะมีผลให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยาอันจะนำไปสู่การใช้ยาที่ไม่ได้ผลรวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้แบคทีเรียที่ดื้อยาเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้นเรื่อยๆจนต้องเปลี่ยนชนิดของยาให้แรงขึ้นหรือเปลี่ยนกลุ่มยาใหม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน

การติดเชื้อแทรกซ้อนนี้มักเกิดจากการใช้ยาที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างเป็นประจำ หรือใช้ในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน

การติดเชื้อแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ การติดเชื้อราแคนดิด้าในปาก ทำให้ปากและลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือการติดเชื้อราแคนดิด้าในบริเวณช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดอักเสบ เกิดตกขาวที่ผิดปกติอย่างไรก็ตามเชื้อราแทรกซ้อนเหล่านี้มักจะหายเองได้หลังจากหยุดยา

3. เกิดการแพ้ยา

ยาปฏิชีวนะเป็นกลุ่มหนึ่งที่พบอาการแพ้ยาได้บ่อย อาการแพ้ที่พบมีตั้งแต่การแพ้ยาเพียงเล็กน้อย เช่น ผิวหนังเป็นผื่นแดง คันเกิดลมพิษ ไปจนถึงการแพ้อย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิตที่เรียกกันว่าช็อกจากการแพ้ยา จึงควรใช้ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนและใช้ด้วยความระมัดระวัง

4. เกิดพิษและอาการข้างเคียงจากการใช้ยา

เช่น อิริโธรมัยซินทำให้เกิดพิษต่อตับ คลอแรมเฟนิคอลเกิดพิษต่อไขกระดูก เป็นต้น

อาการพิษเหล่านี้นอกจากจะเกิดกับผู้ป่วยโดยตรงแล้ว ยังอาจมีผลต่อทารกในครรภ์หรือทารกขณะที่ได้รับนมแม่ที่ได้ยาเหล่านี้ เช่น แม่ที่ได้รับยาเตตร้าซัยคลิน จะทำให้เกิดคราบเหลืองน้ำตาลที่ฟันของทารกที่ได้รับนมแม่ เป็นต้น

5. ขาดวิตามินบางชนิด

ยาปฏิชีวนะมีผลทำลายแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ที่สร้างวิตามินบี วิตามินเคและกดโฟลิก ดังนั้นถ้าใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายขาดวิตามินเหล่านี้ได้

จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นว่ายาปฏิชีวนะเป็นกลุ่มยาที่สำคัญมากในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆและมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เราควรศึกษาข้อมูลของยาต่างๆให้มากพอ เพื่อจะได้ใช้ยาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อผู้ป่วย ควรต้องคำนึงถึงตลอดเวลาว่า การใช้ยากลุ่มนี้อย่างไม่ถูกต้องเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการทำให้เชื้อโรคเกิดการดื้อยา และมีปัญหาอื่นตามมามากมาย ก่อนการจ่ายยาจึงควรศึกษาถึงผลต่างๆของยาในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการรักษา อาการข้างเคียง ปฏิกิริยาต่อกันของยาที่อาจเกิดขึ้นกรณีที่มีการใช้ยาอื่นๆร่วมด้วย เพื่อช่วยให้การใช้ยาเป็นไปอย่างถูกต้องมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Antibiotic Resistance, Food, and Food-Producing Animals. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/features/antibiotic-resistance-food/index.html)
Antibiotic Pollution in the Environment: From Microbial Ecology to Public Policy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6616856/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม