โดยสามัญสำนึกแล้วการดูแลลูกต้องใช้ความเอาใจใส่อย่างมากอยู่แล้ว ซึ่งประเด็นที่ควรให้ความสนใจมีอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือดวงตาของลูกน้อย เมื่อพวกเขาเกิด ตาของพวกเขาจะเริ่มวิวัฒนาการและเจริญเติบโตตามวัย ดวงตาของลูกน้อยต้องการการดูแลเป็นพิเศษเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนของพวกเขา ทำให้การพาพวกเขาไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภัยของดวงตาเป็นสิ่งจำเป็น การตรวจดวงตาครั้งแรกของเด็กมักให้ทำกันในช่วงที่พวกเขาอายุห้าถึงหกขวบ หากลูกของคุณมีปัญหาตาหรี่ หรือถ้าคุณเป็นภาวะสายตาสั้นก็ยิ่งต้องพาลูกไปตรวจตอนอายุยังน้อย รายละเอียดต่อไปนี้คือภาวะที่ส่งผลต่อทัศนวิสัยและดวงตาของลูกของคุณ
ภาวะกำลังหักเหแสงของตาผิดปกติ
ลูกของคุณจะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเนื่องจากความหักเหของแสงจากภายนอกเข้าไปรบกวนประสาทตา (ประสาทที่ช่วยรับภาพเข้าไปสู่สมอง)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สายตายาว
เด็กทุกคนจะเกิดมาโดยมีกำลังไดออปเตอร์ที่ +2.5 (สายตายาว) ในช่วงไม่กี่ปี (มักจะเป็นช่วงสามปีแรกของชีวิต) ดวงตาของพวกเขาจะเติบโตขึ้น จนค่าสายตาลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ในช่วงอายุ 12 ขวบ ในบางกรณีดวงตาของเด็กจะเล็กกว่าปกติ ทำให้มองวัตถุใกล้สายตาพวกเขาลำบาก ทำให้พวกเขาต้องหรี่ตาเพื่อมองดูวัตถุนั้น ๆ โดยผู้ปกครองต้องตระหนักดีว่าพฤติกรรมการหรี่ตาจ้องมองของลูกนั้นไม่ปกติ และต้องทำการตรวจกับจักษุแพทย์ หรือกุมารจักษุแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจสอบความผิดปรกติของกำลังหักเหแสงของดวงตาลูก
สายตาสั้น
โดยทั่วไปภาวะนี้จะเกิดขึ้น ณ ช่วงอายุ 11 ถึง 12 ปี และจะเพิ่มขึ้นระหว่างช่วงอายุ 11 ถึง 15 ปีตามการเจริญเติบโตของร่างกาย หลังจากนี้ ความผิดปรกติจะเริ่มคงที่ แต่หากพ่อแม่ทั้งสองเป็นภาวะสายตาสั้นเช่นเดียวกัน ลูกก็อาจมีภาวะนี้เมื่ออายุ 4 ถึง 5 ปีได้ อีกทั้งการให้เด็กเล่น อ่าน หรือเขียนในสถานที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอตั้งแต่ยังเด็กก็ก่อให้เกิดภาวะสายตาสั้นอีกเช่นกัน
สายตาเอียง
เป็นความผิดปรกติทางสายตาที่ไม่อาจจับจุดโฟกัสของสายตาได้ โดยภาวะสายตาเอียงจะเริ่มอาการตั้งแต่อายุน้อยเนื่องจากความแตกต่างทางความโค้งระหว่างแกนทั้งสองของกระจกตาตั้งแต่เกิด
โรคสายตาขี้เกียจ
เป็นภาวะที่สมองเพิกเฉยต่อสัญญาณจากตาข้างหนึ่ง ทำให้เด็กมองด้วยตาข้างนั้นได้ไม่ดีนัก ซึ่งปรากฏตั้งแต่ช่วงอายุ 8 หรือ 9 ขวบ และจะเป็นเช่นนี้ตลอดชีวิต ดังนั้นทางผู้ปกครองควรทำการวินิจฉัยหาความผิดปรกติของสายตาของลูกตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เพื่อป้องกันโรคสายตาขี้เกียจไม่ให้ร้ายแรงมากไปกว่านี้
อีกทั้งการรักษาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงในเด็กนั้นสามารถทำได้ด้วยการให้พวกเขาสวมแว่น บางกรณีที่ตาข้างเดียวมีความผิดปรกติสูงจนต้องใช้คอนแทกเลนส์ หรือการผ่าตัดเลซิกเพื่อแก้ไข ซึ่งการผ่าตัดดังกล่าวมักทำกับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป หลังจากสวมแว่นแล้ว หากสายตาของลูกยังคงไม่พัฒนาสมบูรณ์ ต้องมีการบำบัดด้วยการปิดตาข้างที่ดีเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงขณะที่พวกเขาใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ตาข้างที่มีปัญหาทำงานมากกว่าเดิม ซึ่งช่วยพัฒนาสายตาให้ดียิ่งขึ้น หากจำเป็นต้องใช้การบำบัดเช่นนี้ ต้องขอคำแนะนำจากกุมารจักษุแพทย์เสียก่อน เนื่องจากการบำบัดวิธีนี้ต่อเนื่องจนเกินไปจะเป็นผลเสียต่อตาทั้งสองข้าง
ตาบอดกลางคืน
เด็กที่มีปัญหาในการมองในเวลากลางคืนจะถูกคาดการณ์ว่าเป็นโรคขาดวิตามิน A (VAD) โดยเด็กที่เป็นความบกพร่องนี้มักจะเป็นกลุ่มเด็กที่มีอาการป่วยทางร่างกายรุนแรง หรือกลุ่มที่มีแม่ที่ขาดสารอาหาร VAD เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของการเกิดภาวะตาบอดในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง ซึ่งสามารถป้องกันได้จากการบริโภคอาหารอุดมวิตามิน A เช่นแครอท มันเทศ มะม่วง ถั่ว มะเขือเทศ และผักโขม เป็นต้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคกระจกตาโปนเนื่องจากภูมิแพ้
เป็นภาวะที่ซึ่งกระจกตาของเด็กเริ่มบางลงกว่าปกติเนื่องมาจากภาวะภูมิแพ้ ซึ่งชนิดของภาวะภูมิแพ้ที่กล่าวมาที่มักพบเห็นได้มากคือภูมิแพ้เกสรดอกไม้ แพ้ละอองฝุ่น ไรฝุ่น หรือแพ้ขนสัตว์ เป็นต้น ส่วนอาการแพ้ที่มีผลต่อตาก็เช่นอาการคัน แสบตา มีสารคัดหลั่งออก และตาแดง เป็นต้น เด็กที่เป็นภูมิแพ้มักจะขยี้ตาโดยไม่ตั้งใจทำให้กระจกตาบางลง ส่งผลให้เป็นกระจกตาโปน หรือมีภาวะหักเหแสงของดวงตาผิดปรกติ การป้องกันสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้เช่นนี้ทำได้ง่าย ๆ คือการหักห้ามไม่ให้ขยี้ตาตัวเอง ซึ่งหากเกิดความรู้สึกระคายเคืองที่ตา ก็สามารถใช้การประคบความเย็นนอกเปลือกตา หรือล้างดวงตาด้วยน้ำสะอาดเย็น หรือไปรับยาหยอดตาสำหรับภูมิแพ้จากแพทย์ได้อีกเช่นกัน อีกวิธีการในการป้องกันภูมิแพ้ที่ดวงตาของเด็กคือการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่ของพวกเขาให้ปลอดสิ่งกระตุ้นอาการ ส่วนในกรณีที่เป็นภูมิแพ้ที่ดวงตาอย่างรุนแรงนั้นอาจต้องใช้การรักษาด้วยยาหยอดตาที่มีสเตอรอยด์เข้ามาช่วย
ภาวะเปลือกตาอักเสบ
เป็นภาวะที่เด็กจะรู้สึกระคายเคืองและคันที่ขอบเปลือกตา หากให้แพทย์ตรวจด้วยการส่องจะพบสะเก็ดอยู่บนเปลือกตา สามารถดูแลเด็กเป็นภาวะดังกล่าวด้วยการเช็ดออกด้วยผ้าสะอาด หรือล้างออกด้วยแชมพูสำหรับเด็กสองครั้งต่อวัน หลังจากนั้นให้ทาครีมขี้ผึ้งที่ทางแพทย์จัดหามาให้ทับบริเวณที่เป็นสองครั้งต่อวันเป็นเวลาติดต่อกันไม่กี่สัปดาห์ แต่ถ้าผ่านไปนาน ปัญหานี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ควรพาเด็กไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเปลือกตาต่อไป
ท่อน้ำตาอุดตัน
เด็กที่มีช่วงอายุหกเดือนอาจประสบกับปัญหาน้ำตาหรือสารคัดหลั่งไหลออกจากตาทั้งแบบข้างเดียวหรือสองข้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในช่วงเวลาดังกล่าวร่างกายยังคงพัฒนาท่อน้ำตาอยู่ (ช่องที่ต่อให้น้ำตาไหลลงสู่จมูก) ซึ่งหากผ่านช่วงอายุนี้ไปแล้วแต่ท่อปิดอยู่ ทางแพทย์ก็แนะนำให้ใช้วิธีการนวดถุงน้ำตาเพื่อเปิดช่องดังกล่าวซึ่งทำได้สี่ถึงห้าครั้งในหนึ่งวัน พร้อมกับการทำความสะอาดรอบดวงตาและหยอดยาปฏิชีวนะ หากท่อดังกล่าวยังคงปิดอยู่ ทางแพทย์จะแก้ไขด้วยวิธีการให้ยาระงับประสาทเพื่อทำการกระตุ้นเปิดท่อ ซึ่งหากยังคงปิดอยู่ ต้องใช้วิธีการผ่าตัดเปิดช่องเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูกเป็นตัวเลือกสุดท้าย ดังนั้นทางผู้ปกครองต้องสังเกตและสื่อสารกับบุตรหลานเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของพวกเขาเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุขสมบูรณ์ทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน
สาเหตุและการรักษาแก้ไขจมูกตัน
อาการคัดจมูกเป็นความรู้สึกที่เหมือนมีบางอย่างมาปิดกั้นรูจมูกซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณภาพชีวิต พลังงาน ความสามารถในการหายใจ การนอนหลับ และอื่น ๆ สำหรับผู้คนทั่วไป อาการคัดจมูกมักจะเกิดในช่วงฤดูหนาวเป็นปรกติอยู่แล้วจึงเพิกเฉยต่ออาการดังกล่าวไป ในความเป็นจริงแล้ว อาการจมูกตันนั้นสามารถก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้อีก บทความนี้จึงได้รวบรวมคำแนะนำรับมือกับอาการนี้ในช่วงฤดูหนาวดังนี้
อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาคัดจมูก?
จมูกของคนเราจะเยื่อเมือกบุผิวชั้นบาง ๆ อยู่ ซึ่งสามารถบวมออกและทำให้เกิดการอุดตันได้ การบวมออกดังกล่าวมักเรียกกันว่า “เยื่อจมูกอักเสบ” และเกิดจากหลายสาเหตุ การติดเชื้อทางดวงตาเองก็เป็นสาเหตุทั่วไปของการบวมในชั้นเยื่อบุจมูก แต่นอกเหนือจากนี้ การอักเสบของเยื่อบุจมูกอาจมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียในจมูกและโพรงจมูก หรือแม้แต่ภูมิแพ้ก็เป็นได้
บางครั้งอาการคัดจมูกก็มาพร้อมกับอาการอื่น ๆ อีก อย่างเช่นน้ำมูกไหล ปวดบริเวณใบหน้า ภาวะจมูกไม่ได้กลิ่น จาม คันจมูก และมีสะเก็ดแห้งกรัง เป็นต้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การรักษาอาการคัดจมูก
การดูแลรักษาอาการคัดจมูกมีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของมัน:
- ถ้าสาเหตุของอาการคัดจมูกคือเยื่อบุจมูกอักเสบ แพทย์เฉพาะทางที่ดูแลอาจจะออกยาอย่างสเปรย์พ่นจมูกสเตรอยด์ ยาต้านฮิสตามีน หรือยาแก้คัดจมูกให้
- หากอาการตันของจมูกเกิดจากความผิดปรกติของโครงสร้างภายในจมูก อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วย
- หากเป็นการโตขึ้นของต่อมอดีนอยด์และทอนซิลก็ต้องพึ่งการผ่าตัดเช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อน
หากเพิกเฉยเป็นระยะเวลานาน อาการคัดจมูกจะส่งผลต่อความสามารถในการได้ยินและพูดคุยได้ มันยังทำให้เกิดการนอนกรนและอาจเกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สำหรับเด็กทารก มันนำไปสู่ภาวะหายใจลำบากซึ่งอันตรายถึงชีวิต อีกทั้งการละเลยต่อสัญญาณอาการที่เกี่ยวข้องกับจมูกต่าง ๆ อย่างการแน่นจมูก จาม หรือมีสารคัดหลั่งออกจากจมูกนั้นอาจเป็นผลเสียไปยังปอดอีกด้วย
จมูกมีหน้าที่กรองฝุ่นและละอองเกสรที่อยู่ในอากาศ มันช่วยทำให้อากาศที่คุณหายใจเข้าไปเกิดความชื้นเพื่อไม่ให้ปอดและหลอดลมของคุณแห้ง ดังนั้นคุณควรให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจมูกของคุณอย่างที่สุด
คำแนะนำเพื่อการบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก:
- จิบเครื่องดื่มร้อน ๆ : ผลของของเหลวร้อน ๆ จะเหมือนกับตัวต้านการอักเสบ และช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกชั่วคราวได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่ระบบจมูกของคุณ อีกทั้งการดื่มน้ำยังช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของร่างกายได้อีกด้วย
- ใช้ไอระเหย: ทั้งเครื่องพ่นไอระเหยหรือเครื่องทำความชื้นในอากาศจะช่วยทำให้กระบวนการหายใจเกิดขึ้นอย่างผ่อนคลาย หรืออาจใช้ไอระเหยกลิ่นหอมต่าง ๆ ช่วยก็สามารถทำได้เช่นกัน
- ใช้สเปรย์ลดน้ำมูก: สเปรย์น้ำเกลือจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในช่วงหน้าหนาว หรือสามารถใช้เพื่อล้างมูกเหนียวออกจากจมูกก็ได้
- สูดไอน้ำ: การสูดไอน้ำจะช่วยเปิดและบรรเทาอาการระคายเคืองในช่องจมูกได้
- ดื่มชามาก ๆ : การดื่มชาสะระแหน่จะช่วยเร่งการชำระล้างของเสียในจมูกได้
- พักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงการเกิดไข้หวัดได้ ผู้ที่นอนพักผ่อนน้อยกว่าเจ็ดชั่วโมงมักจะเจ็บไข้ได้ป่วยมากกว่าปกติถึงสามเท่า