กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การอยู่รอดของภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy Viability)

ในภาวะตั้งครรภ์ คำว่าการอยู่รอดสามารถใช้ได้กับสภาวะต่างๆกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การอยู่รอดของภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy Viability)

ในภาวะตั้งครรภ์ คำว่าการอยู่รอดสามารถใช้ได้กับสภาวะต่างๆกัน

อย่างเช่น แพทย์อาจพูดว่า “การตั้งครรภ์อยู่รอดได้” หมายถึง ไม่มีสันญาณของภาวะแท้งบุตร จะให้กำเนิดทารกที่มีชีวิต
ภาวะแท้งคุกคาม (nonviable pregnancy) คือการตั้งครรภ์ที่ทารกไม่สามารถเติบโดได้เช่น ท้องนอกมดลูก (ectopic pregnancy) การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy) หรือภาวะครรภ์ที่ทารกไม่มีการเต้นของหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ครรภ์ไข่ปลาอุก คือครรภ์ที่เนื้อรกผิดปกติ อาจเป็นก้อนใสๆเหมือนไข่ปลา มักไม่มีทารก

เมื่อใช้คำว่าอยู่รอดกับทารกในครรภ์ หรือทารกในระยะพัฒนา หมายถึงโอกาสที่ทารกมีชีวิตรอดและถือกำเนิดออกมาดูโลก จากสถิตของการแพทย์ การอยู่รอดของทารกสามารถคลอดออกมาได้ จะยึดกันที่อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 24 ถ้วนเรียกว่า “ age of viability”

เมื่อไหร่อย่างไรจึงจะถือว่าเกิดภาวะแท้งคุกคาม (Nonviable pregnancy) ?

ภาวะแท้งคุกคาม (Nonviable pregnancy) และกลายเป็นภาวะแท้งบุตร   โดยเมื่อทำอัลตราซาวด์จะพบสันญาณต่อไปนี้

  • ถุงน้ำคร่ำว่างเปล่าไม่มีตัวทารก (empty gestational sac)
  • ไม่มีส่วนของทารกที่ต่อกับมดลูก (no fetal pole)
  • ไม่มีการเต้นของหัวใจ (fetal heartbeat)
  • ระดับฮอร์โมน (Human Chrorionic Gonardotropin (HCG)) ในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ต่ำเกินไป
  • การตายของทารกในครรภ์

เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนด ภาวะแท้งคุกคาม (Pregnancy  Nonviability)

สมาคมแพทย์รังสีวิทยาอัลตราซาวด์ (The Society of Radiologists in Ultrasound) ได้กำหนดเกณฑ์ ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินการอยู่รอดของภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy Viability) ได้ถูกต้องขึ้นเพื่อลดการสูญเสียจากการประเมินผิด เป็นเกณฑ์ประเมินภาวะแท้งคุกคาม (Pregnancy  Nonviability) ที่เข้มงวดมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ดังนี้

  • CRL (Crown-Rump Length) คือความยาวตัวอ่อนตั้งแต่ยอดศีรษะ ถึง ส่วนล่างมากกว่า 7 มิลลิเมตรและไม่พบการเต้นของหัวใจ
  • Mean Sac Diameter (MSD) ถุงที่หุ้มทารกไว้ซึ่งจะเห็นได้ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ยาว มากกว่า 25 มิลลิเมตร แต่มีไม่มีตัวอ่อน
  • การไม่พบตัวอ่อนที่มีการเต้นของหัวใจเป็นระยะเวลามากกว่า 2 สัปดาห์หลังทำการสแกน และพบถุงตั้งครรภ์ (gestational sac) แต่ไม่มีถุงไข่แดง (yolk sac)
  • ในเมื่อไม่พบตัวอ่อนที่มีการเต้นของหัวใจเป็นระยะเวลามากกว่า 7 ถึง 10 วันหลังทำการสแกน และพบถุงตั้งครรภ์ (gestational sac) แต่ไม่มีถุงไข่แดง (yolk sac)
  • ไม่พบตัวอ่อน นานกว่า 6 สัปดาห์หลังประจำเดือนครั้งสุดท้าย
  • ถุงน้ำคร่ำ (amnion) ว่างเปล่า (เห็นถุงน้ำคร่ำอยู่ติดกับถุงไข่แดง แต่ไม่เห็นตัวอ่อน)
  • ถุงไข่แดงขยายมากกว่า 7 มิลลิเมตร
  • สมาคมนี้ยังเพิ่มเติมอีก 8 เกณฑ์วัด เพื่อลดประเด็นน่าสงสัยของการสิ้นสุดภาวะตั้งครรภ์และยังเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเพิ่มเติม

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Pregnancy Viability (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12528163)
verywellfamily.com, Pregnancy Viability (https://www.verywellfamily.com/viable-pregnancy-viability-2371666)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม