ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Uterine Polyps)

ภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยทอง ภาวะนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีเลือดไหลทางช่องคลอดที่ไม่ใช่เลือดประจำเดือนได้
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Uterine Polyps)

หากคุณกำลังเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนหรือช่วงวัยทอง (Menopause) และประสบกับภาวะเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือนตามปกติ ภาวะนี้อาจเป็นผลมาจากภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Uterine Polyps) ที่สามารถรักษาให้หายได้

ภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก คือการเกิดติ่งเนื้อบนผนังเยื่อบุของมดลูก (Endometrium) เป็นภาวะที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยประจำเดือน ติ่งเนื้อขนาดเล็กที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ และหายไปได้เอง หรืออาจจะทำให้เกิดเลือดออกจากช่องคลอดได้บ้าง แต่ในกรณีรุนแรง (แต่โอกาสเกิดน้อยมาก) ติ่งเนื้อนี้อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก

สัญญาณและอาการของภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก มีดังนี้

  • มีเลือดออกระหว่างประจำเดือนแต่ละรอบ หรือหลังจากหมดประจำเดือนอย่างไม่สม่ำเสมอ
  • มีประจำเดือนแต่ละครั้งแตกต่างกันออกไป ทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาที่เป็น
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • ตั้งครรภ์ยาก

สาเหตุของภาวะติ่งเนื้อในมดลูก

ภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เกิดขึ้นเมื่อผนังเซลล์ของโพรงมดลูกเพิ่มจำนวนออกมามากเกินไป จนกลายเป็นก้อนหรือติ่งเนื้อขนาดเล็กขึ้น โดยมีลักษณะคล้ายถุงหรือเห็ดห้อยอยู่ ขนาดของติ่งเนื้อมักจะมีขนาดเล็กเพียงไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงเส้นผ่าศูนย์กลางหลายเซนติเมตร ติ่งเนื้อสามารถมีจำนวนไม่กี่ก้อน ไปจนถึงหลายก้อนได้  

ภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก มีความคล้ายคลึงกับโรคเนื้องอกมดลูก (Uterine Fibroids) ประเภทหนึ่งที่มีเนื้องอกเกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อภายในมดลูก แต่ความแตกต่างระหว่างโรคทั้งสองที่เห็นได้ชัด คือเนื้องอกจะทำให้เกิดอาการบางอย่างในช่วงตั้งครรภ์ และอาจจะหายไปเองหลังหมดประจำเดือน ในขณะที่ภาวะติ่งเนื้อมักจะทำให้เกิดอาการบางอย่างในช่วงวัยหมดประจำเดือนแทน

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

ภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูกขนาดเล็กมักจะไม่แสดงอาการใดๆ และจะหายไปเอง แต่สำหรับติ่งเนื้อที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคโลหิตจาง (Anemia) ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้หากติ่งเนื้อทำให้มีเลือดออกปริมาณมาก ดังนั้น หากพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดมาก โดยที่ไม่ใช่ประจำเดือนปกติ แนะนำให้ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป

แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูกได้อย่างไร?

หากแพทย์คาดว่าคุณมีภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ก็จะมีการวินิจฉัยด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การอัลตราซาวด์ผ่านช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound) : การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงจับภาพความผิดปกติที่เกิดขึ้นในมดลูก
  • การส่องกล้องโพรงมดลูก (Hysteroscopy) : กระบวนการสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปในมดลูก
  • การเจาะตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy): การใช้เครื่องมือขนาดเล็กเข้าไปในมดลูกเพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมา

วิธีการรักษาภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูก

ภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูกขนาดเล็ก สามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ และเริ่มรบกวนต่อการใช้ชีวิต แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การใช้ยาฮอร์โมน : เช่น การใช้ครีม Gonadotropin Releasing Hormone (GnRH) agonists เข้าไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนบางตัวอย่าง Progesterone
  • การผ่าตัดแบบที่ไม่แทรกแซง: ภาวะติ่งเนื้อในโพรงมดลูกขนาดเล็ก (มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1 เซนติเมตร) สามารถรักษาได้ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Hysteroscopic Excision

ที่มาของข้อมูล

Uterine polyps: A common reason for irregular bleeding around menopause (https://helloclue.com/articles/life-stages/uterine-polyps-common-reason-for-irregular-bleeding-around-menopause), 24 ตุลาคม 2017


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Endometrial polyps. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/007636.htm)
Endometrial polyps: Pathogenesis, sequelae and treatment. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6501471/)
Uterine (Endometrial) Polyps: Causes, Symptoms, Treatments, and Prevention. WebMD. (https://www.webmd.com/cancer/cervical-cancer/uterine-polyps#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)