แผ่นแปะคุมกำเนิดหลุด...ทำไงดี?!?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แผ่นแปะคุมกำเนิดหลุด...ทำไงดี?!?

คุณผู้อ่านที่ไม่เคยใช้ยาคุมชนิดแผ่นแปะผิวหนังมาก่อน เห็นหัวข้อบทความแล้วอาจกังวลใจว่าแผ่นแปะคุมกำเนิดจะหลุดออกง่ายและทำให้ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ได้หรือเปล่า ต้องขอบอกก่อนเลยว่าแผ่นยาดังกล่าวเหนียวมากนะคะ เกิดการหลุดออกได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

คำแนะนำในการติดแผ่นแปะคุมกำเนิด

  • ติดแผ่นยาเฉพาะในบริเวณที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ ได้แก่ หน้าท้อง, สะโพก, ลำตัวส่วนบน (ยกเว้นบริเวณเต้านม) และต้นแขนส่วนบน
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่แผ่นยาจะถูกเสียดสี เช่น ขอบเสื้อ/กางเกง/กระโปรง, ผิวหนังไม่ราบเสมอกัน เช่น ข้อพับและส่วนคอดของเอว หรืออยู่ภายนอกเสื้อผ้า เช่น ถ้าต้องใส่เสื้อแขนกุดก็ควรหลีกเลี่ยงการติดแผ่นยาบริเวณต้นแขน
  • ควรเปลี่ยนบริเวณที่ติดแผ่นยาทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่เพื่อลดการระคายเคืองเฉพาะที่
  • บริเวณที่ติดแผ่นยาควรสะอาดและแห้งสนิท ไม่มีความมันมากเกินไป เพราะจะทำให้แผ่นแปะหลุดลอกได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการทาแป้ง โลชันหรือครีมบำรุงผิวในบริเวณที่จะติดแผ่นแปะ
  • ผิวหนังที่จะติดแผ่นยาควรปราศจากขนและบาดแผล เพราะอาจรบกวนการซึมผ่านของยา และทำให้แผลเกิดการระคายเคืองได้
  • ไม่ควรใช้ฟัน, มีด, กรรไกร หรือของมีคมอื่น ๆ ตัดซองยา เพราะอาจทำให้แผ่นแปะคุมกำเนิดฉีกขาด มีการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกและเสื่อมสภาพ หรือได้รับตัวยาฮอร์โมนไม่เท่ากับขนาดที่กำหนด ทำให้ลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด
  • ในกรณีที่ติดแผ่นยาไม่เหมาะสม หรือเป็นรอยยับย่นไม่แนบสนิทไปกับผิวหนัง ให้รีบแกะแผ่นแปะออกแล้วติดใหม่ทันที
  • แผ่นแปะที่ใช้แล้ว ควรพับด้านที่เป็นกาวเหนียวเข้าหากัน แล้วห่อด้วยกระดาษให้มิดชิดก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่บุคคลอื่นหรือสัตว์ต่าง ๆ จะสัมผัสแผ่นแปะที่อาจมีตัวยาฮอร์โมนเหลืออยู่
  • ให้ติดแผ่นยาใหม่โดยเร็วที่สุดที่ทำได้
  • งดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางร่วมด้วยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไปจนกว่าจะใช้แผ่นแปะติดต่อกันครบ 7 วัน
  • ควรเปลี่ยนแผ่นยาแผ่นใหม่ตามกำหนดเวลาเดิม แม้จะใช้แผ่นยาล่าสุดยังไม่ครบ 7 วัน เพื่อไม่ให้สับสนเรื่องเวลาเปลี่ยนแผ่นยา
  • ถ้าแผ่นยาหลุดออกในสัปดาห์แรก (แผ่นที่ 1) และมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันไปแล้ว ควรพิจารณาการใช้ยาคุมฉุกเฉินภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ค่ะ
  • ถ้าแผ่นยาหลุดออกในสัปดาห์สุดท้าย (แผ่นที่ 3) ให้ข้ามสัปดาห์เว้นว่างไปเลย (ซึ่งอาจทำให้ในรอบเดือนนี้ไม่มีประจำเดือนนะคะ เพราะไม่ได้ปล่อยให้มีช่วงปลอดฮอร์โมน) แล้วเริ่มใช้แผ่นยาในกล่องใหม่ต่อทันทีที่ทำได้

ขั้นตอนและวิธีการใช้

  • ล้างมือและบริเวณที่ต้องการติดแผ่นยาให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง
  • ฉีกซองยาตามรอยบากตรงมุมซอง แล้วดึงแผ่นยาสีเนื้อพร้อมแผ่นพลาสติกใสที่ติดอยู่ออกจากซองยาพร้อม ๆ กัน โดยห้ามสัมผัสบริเวณที่เป็นกาว
  • ลอกแผ่นพลาสติกใสซีกหนึ่งออกและติดแผ่นยาบนผิวหนัง จากนั้นดึงแผ่นพลาสติกใสออกพร้อมกับติดแผ่นยาส่วนที่เหลือ
  • ใช้ฝ่ามือส่วนสันมือกดแผ่นแปะไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วรีดออกช้า ๆ เพื่อให้แผ่นยาติดสนิทกับผิวหนัง

หากปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ก็เลิกกังวลว่าแผ่นยาจะหลุดออกก่อนกำหนดไปได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะออกกำลังกายหนักหน่วงหรือเข้าห้องอบซาวน่าจนเหงื่อไหลโซมร่าง หรือจะไปว่ายน้ำ, อาบน้ำ หรือแช่ในอ่างน้ำวน แผ่นยาก็ยังติดสนิทแน่นเป็นตีนตุ๊กแกอยู่เหมือนเดิม (ฮ่า)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม หากแผ่นยามีการหลุดออกจริง ๆ ทั้งกรณีที่หลุดออกทั้งแผ่น หรือหลุดออกเป็นบางส่วน อนุญาตให้ตกใจนิดนึง (ฮ่า) แล้วรีบแก้ไขตามแนวทางคุมกำเนิดขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ.2016 ดังนี้นะคะ

ถ้าแผ่นยาหลุดออกหลังจากที่ติดไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง อาจลองติดแผ่นเดิมซ้ำอีกรอบ โดยกดทับแผ่นยาให้แนบสนิทไปกับผิวหนังสัก 10 วินาที แล้วดูว่ายังใช้ได้หรือไม่ ถ้าแผ่นยาติดสนิทดีก็สามารถใช้ต่อได้เลย

แต่ถ้าติดไม่ได้ หรือไม่มั่นใจว่าแผ่นยาเดิมจะหลุดซ้ำอีกหรือไม่ หรือแผ่นยาหลุดออกหลังจากที่ติดไปเกิน 24 ชั่วโมงแล้ว ก็ให้ติดแผ่นใหม่แทนค่ะ

ในกรณีที่แผ่นยาหลุดออกไม่เกิน 48 ชั่วโมง เมื่อติดใหม่แล้ว ถือว่ามีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องนะคะ ไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย

แต่ในกรณีที่แผ่นยาหลุดออกมากกว่า 48 ชั่วโมงแล้ว


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Female Contraception. Cleveland Clinic Center for Continuing Education. (http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/womens-health/female-contraception/)
Contraception - combined hormonal methods. NICE - National Institute for Health and Care Excellence. (https://www.evidence.nhs.uk/document?id=1643831&returnUrl=Search%3Fps%3D30%26q%3Dlogynon&q=logynon)
Combined Hormonal Contraceptives - US SPR - Reproductive Health. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/mmwr/spr/combined.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?

เลือดออกอาจไม่ได้หมายความว่า "คุณคือคนแรกของเธอ" แต่อาจร้ายแรงยิ่งกว่านั้น หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขก่อนจะรุนแรงไปกว่านี้

อ่านเพิ่ม
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)

อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม
วงจรของความสัมพันธ์ที่มีการกดขี่ทางเพศ
วงจรของความสัมพันธ์ที่มีการกดขี่ทางเพศ

ทำไมเด็กที่ถูกข่มเหงทางเพศโตมาแล้วกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในความสัมพันธ์

อ่านเพิ่ม