กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เด็กพิเศษ หมายถึงอะไร? ต้องมีความผิดปกติแบบไหน ด้านใดบ้าง?

เด็กพิเศษมีหลายประเภท และอาการแบบไหนถึงเรียกว่า "เด็กพิเศษ"
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เด็กพิเศษ หมายถึงอะไร? ต้องมีความผิดปกติแบบไหน ด้านใดบ้าง?

เด็กพิเศษ คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษในการดูแลและส่งเสริมด้านต่างๆ เป็นพิเศษมากกว่าเด็กปกติทั่วไป อาจต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความพิเศษของเขา อย่างไรก็ตาม เด็กพิเศษไม่ได้ต้องการความสงสาร พวกเขาต้องการเพียงโอกาสและพื้นที่ในการแสดงความสามารถ ต้องการยอมรับ และความเข้าใจในการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง

เด็กพิเศษแยกออกเป็น 3 กลุ่ม

เด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือที่เรียกว่า เด็กอัจฉริยะ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เด็กพิเศษกลุ่มนี้จะมีความสามารถด้านต่างๆ สูงกว่าเด็กปกติทั่วไป โดยจะเป็นเด็กที่มีความฉลาด หรือระดับสติปัญญา (IQ) สูงกว่าเกณฑ์ปกติ (มากกว่า 130 ขึ้นไป) และมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) สูง เช่น เด็กปัญญาเลิศจะมีสติปัญญาสูง ฉลาด หรือมีความสามารถทางด้านกีฬา ดนตรี เป็นเลิศ ซึ่งผู้ปกครองจะเห็นจุดเด่นเหล่านี้ได้ชันเจน  

เด็กพิเศษกลุ่มนี้ต้องการการส่งเสริมที่ต่างจากเด็กปกติ เพราะสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าเด็กปกติมาก อาจส่งผลให้เกิดความแตกต่างในชั้นเรียน หรือได้รับการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสมกับความสามารถ

เด็กที่มีความบกพร่อง

เด็กพิเศษกลุ่มนี้จะมีปัญหาด้านต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กเรียนรู้ช้า หรือมีพัฒนาการบางด้านที่ไม่เท่าเด็กปกติในช่วงวัยเดียวกัน ดังนั้น เด็กกลุ่มนี้จึงต้องการความช่วยเหลือ และวิธีการดูแล ที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป โดยแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with mental retardation)
เด็กพิเศษกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในการทำงานของกระบวนการทางปัญญา และมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการปรับตัวตั้งแต่ 2 ประการขึ้นไป โดยระดับสติปัญญาจะต่ำกว่า 70 และอาการจะต้องปรากฏก่อนอายุ 18 ปี ตัวอย่างการบกพร่องทางสติปัญญา เช่น  

  • กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
  • กลุ่มอาการเวโลคาร์ดิโอเฟเชียล 
  • กลุ่มอาการของทารกที่ถือกำเนิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ 
  • โรคท้าวแสนปม 
  • ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด  
  • กลุ่มอาการวิลเลี่ยม 
  • กลุ่มอาการฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria)
  • กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi Syndrome: PWS)

2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Children with hearing impaired )
เด็กพิเศษกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยิน ทำให้รับฟังเสียงได้ไม่ชัดเจน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้จากการไม่ตอบสนองเมื่อเรียก พูดไม่ชัด หรือมีเสียงแปลกผิดปกติ นอกจากนี้ยังมักแสดงท่าทางมากกว่าพูด ไม่สามารถทำตามสั่งได้ ในบางรายอาจมีพฤติกรรมซนและสมาธิสั้นร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น (Children with visual impairments children)
เด็กบกพร่องทางการมองเห็น หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็นหรือเห็นแบบเลือนลาง และมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยเด็กอาจแสดงอาการได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ เคืองตา ขยี้ตาบ่อยๆ เพ่งอ่านหนังสือใกล้ๆ มีปัญหาในการแยกตัวอักษรหรือรูปทรง เหม่อลอย ไม่มีสมาธิ ไม่สนใจเรียน เดินซุ่มซ่าม และชนวัตถุบ่อยๆ

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with physical and health impairments)
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง หรือเฉียบพลัน บางรายอาจพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลำบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ

5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with speech and language disorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่พูดไม่ชัด  ลีลาจังหวะการพูดผิดปกติ ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดั่งตั้งใจ ทำให้เวลาต้องพูดคำที่ออกเสียงยาก ซับซ้อน หรือยาว จะมีปัญหามาก

นอกจากนี้ เด็กพิเศษอื่นๆ ที่มีอาการพูด และใช้ภาษาที่ผิดปกติ ก็จัดอยู่ในเด็กกลุ่มนี้เช่นกัน สังเกตอาการได้จากการพูดที่ผิดแปลกไปจากคนทั่วไป ทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง หรือสื่อความหมายต่อกันไม่ได้

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  (Children with behaviorally and emotional disorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง เด็กที่ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติแบบเด็กปกตินานๆ ไม่ได้ หรือเด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม สร้างความไม่พอใจให้กับผู้อื่น ทำให้เด็กพิเศษกลุ่มนี้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อยสอดคล้องกับสภาพการณ์

7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  (Children with learning disabilities)
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง โดยมีความบกพร่องหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป ทำให้เด็กพิเศษเหล่านี้มีปัญหาทางการใช้ภาษา การพูด และการเขียน 

อย่างไรก็ตาม ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดแรงเสริม ด้อยโอกาสทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม หรือเป็นเพราะครูสอนไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกายอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

8. เด็กออทิสติก  (Autistic)
เด็กออทิสติก หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรมสังคมและความสามารถทางสติปัญญา  ในการรับรู้อาการต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนเป็นระยะๆ  เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างไปจากเด็กคนอื่นๆ ที่เป็นเด็กออทิสติกเหมือนกัน 
เนื่องจากเด็กออทิสติกจะแสดงอาการความรุนแรงมากน้อยต่างกัน ประกอบกับเด็กแต่ละคนมีบุคลิกภาพของตัวเอง ทำให้ต้องจัดวิธีการดูแลเฉพาะแต่ละบุคคล ผู้ปกครองจึงควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

อาการออทิสติกนั้นจะคงอยู่ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถสอนให้เขาดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานได้ เช่น การรับประทานอาหาร การดูแลตัวเอง สามารถสอนงานฝีมือเพื่อเลี้ยงชีพได้ เป็นต้น    

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบพัฒนาการทางทักษะด้านต่างๆ ของเด็กออทิสติกใน 4 ด้าน คือ 

  • ด้านทักษะการเคลื่อนไหว 
  • ด้านทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรงขนาดและพื้นที่ 
  • ด้านทักษะภาษาและการสื่อความหมาย 
  • ด้านทักษะทางสังคม  

จะพบว่า เด็กออทิสติกมีพัฒนาการด้านภาษาและพัฒนาการด้านสังคมต่ำมาก แต่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านการรับรู้รูปทรงขนาดและพื้นที่สูง ถ้าความแตกต่างระหว่างทักษะ 2 อย่างแรก ต่ำกว่าทักษะ 2 อย่างหลังมากเท่าใด ความเป็นไปได้ของออทิสติกก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น โดยพัฒนาการที่ผิดปกตินี้ อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดชีวิต ส่วนใหญ่มักจะเริ่มปรากฎอาการในระยะ 3 ปีแรกของชีวิต

9. เด็กพิการซ้ำซ้อน  (Children with multiple handicaps)
เด็กพิเศษกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องมากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อน-ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด  ฯลฯ

เด็กยากจน หรือเด็กด้อยโอกาส 

เด็กพิเศษกลุ่มนี้เป็นเด็กที่ต้องอยู่ในสภาวะยากลำบาก หรือเจอปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต และจะมีชีวิตความเป็นอยู่ด้อยกว่าเด็กปกติทั่วไปมาก ขาดโอกาส หรือไม่มีโอกาสที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา ทำให้ไม่ได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตใจ 

ตัวอย่างเด็กพิเศษกลุ่มนี้ เช่น เด็กต่างด้าว เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม ปล่อยปละละเลย ถูกทอดทิ้ง หรือถูกทารุณกรรม ฯลฯ จัดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เด็กพิเศษ, กระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำ หนดประเภทและหลักเกณฑ์ของ คนพิการทางการศึกษา (http://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/ministry%20law/1-42%20handicap%20MoE.pdf), 2552
International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) (https://www.who.int/classifications/icf/en/), 2 March 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป