กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ปัญญาอ่อน (Intellectual disability)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

หากเด็กคนหนึ่งมีภาวะปัญญาอ่อน สมองของพวกเขาจะมีการพัฒนาน้อยกว่าระดับที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะในด้านสติปัญญาและการปรับตัว นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้ผู้ป่วยภาวะนี้มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ การพูดจา การเข้าสังคม และความพิการทางร่างกายได้อีกด้วย

แพทย์ได้แบ่งภาวะปัญญาอ่อนออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับอ่อน ระดับปานกลาง ระดับรุนแรง และระดับรุนแรงมาก โดยวัดตามค่า IQ และระดับการปรับตัวตามสังคมของเด็ก ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ภาวะปัญญาอ่อนระดับอ่อน
    • ใช้เวลานานในการเรียนรู้เพื่อพูดคุย แต่จะมีการสื่อสารดีเป็นปกติเมื่อพวกเขาเรียนรู้แล้ว
    • สามารถพึ่งพาตนเองได้เมื่อมีอายุมากขึ้น
    • มีปัญหาการอ่านและเขียน
    • พัฒนาการทางสังคมไม่สมวัย
    • ขาดความสามารถในการจัดการรับผิดชอบกับชีวิตสมรส หรือการเป็นพ่อแม่คน
    • มีระดับ IQ ที่ 50-69
  2. ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลาง
    • มีการทำความเข้าใจและใช้ภาษาช้า
    • อาจมีปัญหาด้านการสื่อสารบ้าง
    • สามารถเรียนทักษะการอ่าน เขียน และนับเลขพื้นฐานได้
    • ไม่สามารถอาศัยตัวคนเดียวได้ แต่สามารถไปยังสถานที่คุ้นเคยได้เองบ่อยครั้ง
    • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้หลายประเภท
    • มักจะมี IQ ที่ 35-49
  3. ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรง
    • มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวอย่างเห็นได้ชัด
    • มีความเสียหายร้ายแรงหรือมีพัฒนาการที่ผิดปกติบริเวณระบบประสาทส่วนกลาง
    • มักมี IQ ที่ 20-34
  4. ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมาก
    • ขาดความสามารถในการทำความเข้าใจหรือปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำร้องขอต่าง ๆ
    • อาจเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
    • กลั้นการขับถ่ายไม่ได้
    • สามารถสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูดแบบง่ายที่สุดได้
    • ขาดความสามารถในการดูแลตนเอง ต้องการการดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา
    • มี IQ น้อยกว่า 20

ภาวะปัญญาอ่อนที่อยู่ในระดับรุนแรงขึ้นไป จะถูกวินิจฉัยพบตั้งแต่กำเนิด แต่สำหรับระดับอ่อนจะเริ่มสังเกตเห็นได้เมื่อผู้ป่วยมีการเจริญเติบโตระดับหนึ่งและมีพัฒนาการต่างๆ ที่ไม่ตรงตามเป้า อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้เกือบทุกระดับจะถูกวินิจฉัยพบก่อนที่เด็กจะมีอายุถึง 18 ปี

อาการของภาวะปัญญาอ่อน

ภาวะปัญญาอ่อน จะแสดงอาการแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของภาวะ แต่พฤติกรรมที่มักพบได้ทุกระยะ ได้แก่

  • ก้าวร้าว ดื้อ หัวรั้น
  • ต้องพึ่งพาคนอื่น มองเห็นคุณค่าตนเองต่ำ
  • ปลีกตัวเองจากกิจกรรมสังคม และชอบอยู่เฉยๆ
  • มีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ และมีแนวโน้มทำร้ายตัวเอง
  • มีภาวะซึมเศร้าในช่วงวัยเจริญพันธุ์และวัยรุ่น
  • ขาดการยับยั้งชั่งใจตนเอง มีความอดทนต่ออารมณ์หงุดหงิดต่ำ
  • มีความผิดปกติทางจิต
  • มีปัญหาการใช้สมาธิจดจ่อ และมีปัญหาด้านความทรงจำ
  • มีเกณฑ์เฉลี่ยด้านสติปัญญาน้อยกว่ามาตรฐาน เพราะขาดความอยากรู้อยากเห็น
  • มีการนั่ง คลาน หรือเดินช้ากว่าเด็กคนอื่น
  • มีปัญหาเกี่ยวกับทักษะในการพูดคุย
  • ไม่สามารถเข้าใจถึงผลที่จะตามมาจากสิ่งที่กระทำได้
  • ขาดความสามารถในการคิดเชิงตรรกะ
  • มีพฤติกรรมเด็กๆ ที่ไม่สอดคล้องกับช่วงอายุที่มากขึ้น
  • มีปัญหาการเรียนรู้ และมี IQ ต่ำกว่า 70
  • ขาดความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีปัญหาการสื่อสาร การดูแลตนเอง หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

ผู้ป่วยภาวะปัญญาอ่อนบางรายยังอาจมีลักษณะทางร่างกายที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่าง เช่น ตัวเตี้ยหรือมีความผิดปกติของใบหน้า

สาเหตุการเกิดภาวะปัญญาอ่อน

แพทย์สามารถระบุหาสาเหตุการเกิดภาวะปัญญาอ่อนระดับอ่อนได้เพียง 1 ใน 3 และสำหรับระดับปานกลางถึงรุนแรงมากเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น โดยสาเหตุที่พบมีดังต่อไปนี้

  • ทารกได้รับผลกระทบทางลบก่อนคลอด เช่น การติดเชื้อหรือการสัมผัสกับแอลกอฮอล์ ยาเสพติด และสารพิษอื่นๆ
  • เกิดเหตุการณ์ผิดปกติระหว่างคลอด เช่น ขาดออกซิเจน หรือคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะทางพันธุกรรม เช่น โรคฟินิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria (PKU)) หรือโรคเกาเชอร์ (Tay-Sachs Disease)
  • ภาวะผิดปกติทางโครโมโซม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
  • ภาวะตะกั่วหรือปรอทเป็นพิษ
  • ภาวะทุพโภชนาการรุนแรง หรือปัญหาด้านโภชนาการอื่นๆ
  • โรคภัยของเด็ก เช่น โรคไอกรน (Whooping Cough) หัดเยอรมัน (Measles) หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
  • การได้รับบาดเจ็บที่สมองรุนแรง

การวินิจฉัยภาวะปัญญาอ่อน

ตามปกติแล้ว แพทย์จะทำการประเมินภาวะปัญญาอ่อน 3 ขั้นตอน คือ การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง การสังเกตเด็ก และการทดสอบมาตรฐาน

เด็กจะได้รับการทดสอบมาตรฐานต่างๆ เช่น Stanford-Binet Intelligence Test ที่จะช่วยให้แพทย์ระบุถึงค่า IQ ของพวกเขาได้ และอาจมีการทดสอบอื่นๆ เช่น Vineland Adaptive Behavior Scales ที่เป็นการทดสอบประเมินทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและความสามารถในการเข้าสังคมของเด็ก โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปเทียบกับข้อมูลของเด็กในช่วงอายุเดียวกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กระบวนการประเมินเด็กที่เข้าข่ายว่าจะมีภาวะปัญญาอ่อน อาจรวมไปถึงการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ กุมารแพทย์แขนงประสาทวิทยา หรือด้านพัฒนาการของเด็ก และนักกายภาพบำบัด

ภาวะอื่นๆ เช่น ภาวะสูญเสียการได้ยิน มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ความผิดปกติทางประสาทวิทยา, และปัญหาด้านอารมณ์ สามารถทำให้เกิดพัฒนาการล่าช้าได้ ดังนั้น แพทย์จึงควรต้องตัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากภาวะเหล่านี้ก่อนสรุปผลวินิจฉัยว่าเด็กมีภาวะปัญญาอ่อน

การรักษาภาวะปัญญาอ่อน

เป้าหมายของการรักษาเพื่อช่วยให้เด็กมีความพร้อมเข้ารับการศึกษา มีทักษะการเข้าสังคม และการใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ จึงมีทั้งการบำบัดพฤติกรรม การทำกิจกรรมบำบัด การรับคำปรึกษา และในบางกรณีก็เป็นการใช้ยา

หากการรักษาเป็นไปได้ด้วยดี เมื่อเด็กโตขึ้น พวกเขาจะสามารถทำงานที่ใช้สติปัญญาพื้นฐานได้ และยังสามารถใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นได้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันก็มีบริการช่วยเหลือสำหรับผู้ใหญ่ที่มีภาวะปัญญาอ่อนมากมายที่ช่วยให้พวกเขาใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่เหมือนคนทั่วไป


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Intellectual and developmental disabilities. (2018). (https://report.nih.gov/nihfactsheets/ViewFactSheet.aspx?csid=100)
Intellectual and developmental disabilities. (2018). (https://report.nih.gov/nihfactsheets/ViewFactSheet.aspx?csid=100)
Bhandari, S. WebMD (2018). Intellectual Disability (Mental Retardation). (https://www.webmd.com/parenting/baby/intellectual-disability-mental-retardation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
พบว่าลูกเป็นโรคเทอเนอร์ ตอนคลอดออกมาแล้ว อยากรู้. เขาจะปัญญาอ่อนไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
พบว่าลูกเป็นโรคเทอเนอร์ ตอนคลอดออกมาแล้ว อยากรู้. เขาจะปัญญาอ่อนไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)