ประเภทของโยคะ ความแตกต่างกันอย่างไร และประโยชน์ของโยคะ

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประเภทของโยคะ ความแตกต่างกันอย่างไร และประโยชน์ของโยคะ

กระบวนการฝึกกาย จิตใจ และจิตวิญญาณให้สอดผสานรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ด้วยท่าทางการฝึกทางกายอย่างช้าๆพร้อมกับการฝึกทางใจที่จดจ่อกับการทำลมหายใจเข้าออกให้จิตสงบนิ่งไปด้วย นั่นคือการเล่นโยคะที่เป็นการออกกำลังกายทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีมาอย่างช้านาน

ประเภทของโยคะ

  1. หฐโยคะ (Hatha Yoga) เป็นการฝึกบริหารร่างกายให้อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ โดยเน้นการยืดหยุ่นที่ร่างกายไปพร้อมๆ กับการกำหนดลมหายใจ ทำให้มีพลังสมดุลทั้งด้านบวกและลบ เน้นการผ่อนคลาย เหมาะกับผู้ที่ไม่เคยฝึกก็สามารถทำได้
  2. วินยาสะโยคะ (Vinyasa Yoga) เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง และจะทำควบคู่กับการกำหนดลมหายใจช้าๆ อย่างนุ่มนวล จากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความกระชับ ลดความเครียด และมีสมาธิ แต่ควรฝึกแบบหฐโยคะมาแล้วระยะหนึ่ง
  3. อัษฎางค์โยคะ (Astanga Yoga) เป็นการฝึกร่างกายและลมหายใจร่วมกับการกำหนดจุดมองของสายตาด้วย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวแบบควบคุมลมหายใจ โดยในแต่ละท่าทางจะมีความต่อเนื่องกัน เหมาะกับผู้ที่ชอบเล่นท่าโยคะยากๆ แต่มีข้อแตกต่างคือวินยาสะโยคะจะมีการเปลี่ยนแปลงท่าไปเรื่อยๆ ในขณะที่อัษฎางค์โยคะจะมีท่าที่เหมือนเดิม
  4. อนุสราโยคะ (Anusara Yoga) เป็นการฝึกโยคะที่ได้ใช้ทุกส่วนในร่างกาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อการรักษาโรค โดยเริ่มจากจิตใจออกมาสู่ร่างกาย ด้วยการฝึกปฏิบัติให้พัฒนาจากจิตใจไปยังร่างกายทุกส่วน
  5. โยคะร้อน (Bikram Yoga) เป็นการฝึกโยคะในห้องที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งความร้อนจะช่วยให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อผ่อนคลายได้ดี ทำให้ร่างกายขจัดของเสียทางเหงื่อได้มากยิ่งขึ้น เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน มีปัญหา ปวดหลังหรือปวดคอ เป็นโยคะที่เล่นได้ทุกเพศทุกวัยโดยไม่ต้องมีประสบการณ์
  6. ไอเยนโยคะ (Iyengar Yoga) เป็นการเล่นโยคะแบบจัดท่าให้กระจายน้ำหนักผ่านแขน ขา และกระดูกสันหลังอย่างเหมาะสม โดยใช้อุปกรณ์ช่วยอย่างเช่นผนังห้อง เก้าอี้ หมอน หรือเข็มขัดโยคะ เหมาะกับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานและต้องการฝึกโยคะ
  7. กฤปาลูโยคะ (Kripalu Yoga) เป็นการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้สมาธิมาก เหมาะกับผู้ที่ต้องการฝึกสมาธิแต่มีปัญหาทางด้านร่างกาย ซึ่งจะเริ่มฝึกใจจากการทำสมาธิของร่างกายตนเองเป็นหลัก
  8. พรีเนทัลโยคะ (Prenatal Yoga) เป็นโยคะที่ปรับท่าทางให้เหมาะกับสตรีมีครรภ์ ช่วยให้คุณแม่มีความแข็งแรงทางร่างกายและจิตใจทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด เป็นการช่วยลดความปวดเมื่อย ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยปรับความดันโลหิตให้ปกติ ลดอาการปวดหลัง ปวดคอ ข้อเท้า เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์ใกล้คลอด และทำให้รูปร่างกลับเข้าสู่สภาพหลังคลอดได้เร็วขึ้น

ประโยชน์ของการเล่นโยคะ

  1. เสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กับข้อพับหรือข้อต่อต่างๆ และทำให้ร่างกายโดยรวมมีความแข็งแรง เช่น อัษฎางค์โยคะ หฐโยคะ หรือไอเยนโยคะ
  2. ทำให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายมากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไหลเวียนได้ดี ช่วยขยายปอดให้แข็งแรง
  3. ช่วยลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนัก กล้ามเนื้อมีความกระชับ รวมทั้งรูปร่างของผู้เล่นสมส่วนยิ่งขึ้น
  4. ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อต่อต่างๆ เหมือนการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น
  5. จัดระเบียบร่างกายให้ดีขึ้น ทำให้มีบุคลิกดีและประสาทสัมผัสดี
  6. ฝึกฝนได้ด้วยตนเอง ไม่สิ้นเปลือง และไม่ต้องใช้เนื้อที่มาก
  7. เป็นการฝึกจิตใจให้มีสมาธิและมีความสงบ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในด้านความจำให้ดีขึ้น

ข้อควรระวังในการเล่นโยคะ

ผู้สูงอายุและหญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และไม่ควรเล่นโยคะหลังอาหารทันที ส่วนสถานที่ฝึกควรเป็นที่โล่งและมีความเงียบสงบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเล่นโยคะเป็นการออกกำลังกายที่ฝึกได้ครบทั้งวงจร เป็นการปรับความสมดุลทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ทั้งนี้การเล่นโยคะจะต้องรู้วิธีการเล่นที่ถูกต้อง ไม่หักโหม และปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะยิ่งส่งผลให้การทำงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันประสบผลสำเร็จเป็นไปได้ด้วยดีนั่นเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Practicing Yoga Benefits Your Health. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/fitness-pictures/10-surprising-health-perks-of-yoga.aspx)
Yoga: Benefits, Intensity Level, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/fitness-exercise/a-z/yoga-workouts)
10 health benefits of doing yoga for just 15 minutes a day. NetDoctor. (https://www.netdoctor.co.uk/healthy-living/fitness/a28508/yoga-health-benefits/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป