หากไม่จำเป็น ก็ไม่ควรใช้ยาใด ๆ ในขณะตั้งครรภ์ แต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น การไม่รักษาอาจส่งผลเสียที่รุนแรงยิ่งกว่าอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา แพทย์ก็จะพิจารณายาที่เหมาะสมและมีความเสี่ยงน้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้
วัณโรคในหญิงตั้งครรภ์ปล่อยไว้ไม่รักษาได้ไหม?
ในกรณีของ “วัณโรคในหญิงตั้งครรภ์” การไม่รักษา นอกจากจะมีความเสี่ยงต่อทารก ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- คลอดก่อนกำหนด
- เกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์
- ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์
- เพิ่มอัตราการตายปริกำเนิด
- แพร่เชื้อให้กับทารกแล้ว
- อาจทำให้การติดเชื้อรุนแรงมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อชีวิตมารดา
ดังนั้นจึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาโดยเร็ว
สามารถใช้ยารักษาได้หรือไม่?
ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาสูตร 2HRZE/4HR กับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกราย (ยกเว้นวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง และวัณโรคกระดูกและข้อ ที่ต้องใช้ยานานขึ้น และอาจต้องเปลี่ยนยาบางตัวให้เหมาะสม)
ซึ่ง 2HRZE/4HR หมายถึง ใน 2 เดือนแรก จะมีการใช้ยา Isoniazid(H) + Rifampicin(R) + Pyrazinamide(Z) + Ethambutol(E) หลังจากนั้นจึงใช้ Isoniazid(H) + Rifampicin(R) ต่ออีก 4 เดือน รวมทั้งหมดเป็น 6 เดือนนั่นเอง
เนื่องจากสูตรยามาตรฐานดังกล่าวประกอบด้วยตัวยาหลายชนิด และจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดังนั้น ลองมาดูกันนะคะว่ายาแต่ละชนิดมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงไรถ้าจะใช้ในขณะตั้งครรภ์
ยา | คำแนะนำ (อ้างอิงจาก Drug in Pregnancy and Lactation 10th edition) |
Isoniazid | Compatible—Maternal Benefit >> Embryo–Fetal Risk |
ไม่พบรายงานว่า Isoniazid ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในมนุษย์ ดังนั้น สมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Thoracic Societyหรือ ATS) แนะนำให้ใช้ยานี้เพื่อรักษาวัณโรคในขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากการไม่รักษาจะยิ่งทำให้เกิดอันตรายมากขึ้นทั้งต่อมารดาและทารก | |
Rifampicin | Compatible |
จากการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาวัณโรคในระหว่างตั้งครรภ์ ไม่พบว่า Rifampicin ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในมนุษย์ จึงใช้ยานี้เพื่อรักษาวัณโรคในหญิงตั้งครรภ์ได้ แต่ควรให้วิตามินเค 1 (phylloquinone) แก่ทารกหลังคลอด เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น | |
Pyrazinamide | Compatible—Maternal Benefit >> Embryo–Fetal Risk |
ในอดีตไม่แนะนำให้ใช้ Pyrazinamide เป็นทางเลือกแรกเพื่อรักษาวัณโรคในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากขาดข้อมูลที่เพียงพอมาสนับสนุนเรื่องความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม จากการติดตามการใช้ ยังไม่พบรายงานว่ามีอันตรายต่อทารก และเนื่องจากการไม่รักษาจะส่งผลเสียมากกว่า ปัจจุบันจึงไม่ได้จำกัดการใช้ยานี้ | |
Ethambutol | Compatible |
ยังไม่พบรายงานความผิดปกติแต่กำเนิด และจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสนับสนุนว่ามีความปลอดภัยที่จะใช้ Ethambutol ในขณะตั้งครรภ์ จึงแนะนำให้ใช้ยานี้เพื่อรักษาวัณโรคในหญิงตั้งครรภ์ได้ |
จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์ก็สามารถใช้ยาสูตรมาตรฐาน 2HRZE/4HR เพื่อรักษาวัณโรคได้เช่นเดียวกับผู้ป่วยรายใหม่ทั่วไปนะคะ โดยคำนวณขนาดการใช้ให้เหมาะสมตามน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แต่เนื่องจากยา Isoniazid มีผลยับยั้งการสร้างวิตามินบี 6 (Pyridoxine) และหญิงตั้งครรภ์ก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะขาดวิตามินบี 6 อยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ “แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561” จึงแนะนำให้เสริมวิตามินบี 6 วันละ 50 – 100 มิลลิกรัม ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่มีการใช้ยา Isoniazid เพื่อป้องกันภาวะปลายประสาทอักเสบค่ะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง