ไมเกรน โรคปวดหัวเรื้อรัง มีแนวทางรักษาอย่างไรเมื่ออาการกำเริบ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไมเกรน โรคปวดหัวเรื้อรัง มีแนวทางรักษาอย่างไรเมื่ออาการกำเริบ

อาการไมเกรน เป็นโรคปวดหัวเรื้อรังชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ประมาณร้อยละ 10 - 20 ในคนทั่วไป ไมเกรนสามารถเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ในช่วงของวัยรุ่น และอาการจะกำเริบเป็นครั้งคราว และอาจจะหายได้เองหลังช่วงอายุ 55 ปีเป็นต้นไป แต่ก็มีผู้ป่วยหลายคนที่มีอาการไมเกรนเรื้อรังตลอดชีวิต ถึงอย่างไรก็ตาม โรคไมเกรนนี้เป็นโรคที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นแต่อย่างใด

อาการของโรคไมเกรน

อาการเป็นเหมือนกันหมดคือ มีอาการปวดหัว ตุบๆ ตามจังหวะการเต้นของหัวใจที่บริเวณขมับข้างเดียว แต่ก็มีส่วนน้อยที่เป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย และอาการจะแย่ลงกว่าเดิมถ้าผู้ป่วยโดนแสง เสียง หรือเคลื่อนไหวไปมา และหากปล่อยไว้ไม่หาวิธีการแก้ไข ก็อาจจะเป็นติดต่อกันนานถึง 72 ชั่วโมงจึงจะทุเลาและหายไปเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต้นเหตุให้อาการกำเริบ

ไมเกรนนั้นเป็นอาการปวดหัวเรื้อรัง โดยจะเกิดอาการปวดหัวได้ ก็มีสาเหตุจากสิ่งเร้าดังนี้ 

  • ทางตา : แสงจ้า แสงแดด แสงระยิบระยับต่างๆ การเพ่งสายตานานๆ 
  • ทางหู : ได้ยินเสียงดัง 
  • ทางจมูก : ได้กลิ่นสารเคมี กลิ่นกาแฟ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นฉุนต่างๆ 
  • ทางลิ้น :  อาหารและยาบางอย่าง 
  • ทางกาย : อากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด อาการ้อนอบอ้าวก่อนฝนตก อดนอน เมื่อยล้า มีประจำเดือน เจ็บปวดตามร่างกายเช่นบาดแผลต่างๆ 
  • ทางใจ : อาการเครียด 

การรักษาอาการเมื่อไมเกรนกำเริบ

ทานยาแก้ปวดในทันทีที่มีอาการ บางคนก่อนที่จะมีอาการกำเริบจากไมเกรน ก็จะมีอาการเตือนก่อน เมื่อรู้ตัวว่ากำลังจะเกิดอาการขึ้นให้รีบทานยาแก้ปวดในทันที อย่ารอให้นานเกินครึ่งชั่วโมงหลังสัญญาณเตือน เพราะยาจะช่วยได้น้อยลง หลังจากทานยาแล้วให้หาที่พักผ่อนในห้องเงียบๆ แสงน้อยๆ และมีอากาศปลอดโปร่งโล่งสบาย และควรหยุดทำกิจกรรมทุกอย่างไว้ชั่วคราวจนอาการทุเลาลงใน 30 - 60 นาที

การทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล ให้ทานครั้งละ 1 - 2 เม็ด ถ้าทานอย่างถูกช่วงเวลาหรือทานทันทีที่มีอาการจะช่วยลดอาการปวดได้ถึง 70 - 80%

หากทานยาพาราเซตามอลอย่างถูกหลักวิธีแล้วแต่ยังไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอยาแก้ปวดชนิดอื่นแทน ซึ่งมีให้เลือหลายตัวและควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้นไม่ควรหาซื้อยามาทานเองเพราะอาจจะติดยา ขาดยาไม่ได้และอาจจะก่อให้เกิดโรคอื่นตามมาได้

หมั่นสังเกตว่าอาการไมเกรนของตัวเองกำเริบจากอะไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อเจอแล้วว่ามีอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดอาการไมเกรนกำเริบ ก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดอาการกำเริบเช่น อย่าอดนอน อย่าทานอาหารผิดเวลา อย่าโดนแสงจ้า อย่าเพ่งจอคอมนาน อย่าดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้น แต่หากเลี่ยงไม่ได้ก็ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อให้แพทย์จ่ายยามาเพื่อป้องกันการเกิดอาการ

อาการไมเกรนถึงจะเป็นอาการเรื้อรังที่เป็นเกือบตลอดชีวิต แต่ถ้ารู้ถึงสาเหตุและรู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดอาการ ก็จะลดความทรมานที่เกิดจากอาการกำเริบได้ อีกทั้งต้องทานยาให้ทันก็จะช่วยลดความทรมานจากโรคนี้ได้เช่นกัน

 


37 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Migraine Headache Treatment & Management: Approach Considerations, Emergency Department Considerations, Reduction of Migraine Triggers. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/1142556-treatment)
15 natural and home remedies for migraine relief. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322814)
Relief from Chronic Migraine: Medications and Other Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/relief-from-chronic-migraine)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป