การรักษารอยช้ำ

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรักษารอยช้ำ

รอยช้ำนั้นเป็นผลจากการได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนังที่ทำให้เส้นเลือดแตกออก ส่วนมากมักสามารถหายเองได้ แต่คุณสามารถใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อลดอาการปวดและลดรอยช้ำได้

น้ำแข็ง

ให้ประคบน้ำแข็งทันทีหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อลดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณดังกล่าว การใช้ความเย็นนั้นจะช่วยลดเลือดที่ออกมาในเนื้อเยื่ออีกด้วย ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้รอยช้ำนั้นเห็นชัดและลดอาการบวม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณสามารถใช้ ice pack ถุงน้ำแข็ง หรือถุงผักแช่แข็งก็ได้ก่อนนำมาห่อด้วยผ้าขนหนูแล้วนำมาประคบเป็นเวลา 10 นาทีต่อครั้ง รอ 20 นาทีก่อนประคบซ้ำ

ความร้อน

คุณสามารถประคบร้อนเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ซึ่งจะช่วยกำจัดเลือดที่ค้างอยู่หลังจากที่รอยช้ำนั้นเกิดขึ้นแล้ว การประคบร้อนยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งและลดอาการปวดอีกด้วย คุณสามารถใช้แผ่นความร้อนหรือขวดน้ำร้อนหรืออาจจะใช้การแช่น้ำร้อน

การพันผ้าพันแผล

คุณสามารถใช้ผ้ายืดพันบริเวณที่มีรอยช้ำ วิธีนี้จะช่วยบีบเนื้อเยื่อและป้องกันไม่ให้เลือดนั้นออกนอกเส้นเลือด และยังช่วยลดความรุนแรงของอาการช้ำและลดอาการปวดและบวม

ยกแขน/ขาให้สูง

ยกบริเวณที่มีรอยช้ำขึ้นสูงเหนือหัวใจ วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดและช่วยให้สารน้ำนั้นออกจากบริเวณที่ช้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดความดันที่เกิดขึ้นและยังเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้พักซึ่งจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

Arnica

Arnica นั้นเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่เชื่อว่าสามารถลดอาการบวมและอักเสบได้ทำให้น่าจะสามารถใช้รักษารอยช้ำได้ งานวิจัยหนึ่งพบว่าการทาครีมที่มีส่วนผสมของ arnica นั้นสามารถลดรอยช้ำจากการใช้เลเซอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือคุณอาจจะทาเจลบริเวณที่มีรอยช้ำวันละหลายๆ ครั้ง

ครีมที่มีวิตามินเค

วิตามินเคนั้นเป็นสารอาหารที่สำคัญในการแข็งตัวของเลือด ครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินเคนั้นพบว่าสามารถลดความรุนแรงของอาการบวมหลังจากการรักษาด้วยเลเซอร์ได้ วิธีใช้ ให้ทาครีมดังกล่าวเบาๆ ลงบนบริเวณที่มีรอยช้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อะโลเวร่า

อะโลเวร่านั้นพบว่าสามารถลดอาการปวดและการอักเสบได้ คุณสามารถใช้ทาลงบนบริเวณที่มีรอยช้ำได้โดยตรง แต่ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเจลนั้นเป็นอะโลเวร่าบริสุทธิ์และไม่มีสารอื่นๆ

วิตามินซี

วิตามินซีนั้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้การหายของแผลได้ คุณสามารถพบวิตามินซีทั้งในรูปแบบเจล ครีม หรือซีรั่มและสามารถใช้ที่บริเวณที่มีรอยช้ำโดยตรง หรืออาจจะทานเป็นอาหารเสริมหรือทานผักและผลไม้สดมากๆ แทนก็ได้

สับปะรด

สับปะรดนั้นมีเอนไซม์ Bromelain ซึ่งสามารถช่วยลดความรุนแรงของรอยช้ำและลดการอักเสบได้ คุณสามารถเลือกรับประทานสับปะรดหรือทานอาหารเสริมที่มี bromelain ก็ได้ หรืออาจจะใช้ครีมที่มี bromelain ทา 

Comfrey

Comfrey นั้นเป็นพืชที่มักใช้รักษาโรคผิวหนังและการอักเสบที่ผิวหนัง ครีมที่มี Comfrey นั้นพบว่าสามารถช่วยให้แผลหายได้และมีการใช้เพื่อลดรอยช้ำ

คุณสามารถทาครีมที่รอยช้ำได้วันละหลายครั้ง หรืออาจจะใช้ใบ comfrey แห้งด้วยการนำมาใส่ในน้ำเดือดเป็นเวลา 10 นาทีก่อนกรองน้ำออกและนำใบนั้นมาห่อในผ้าก่อนมาประคบที่บริเวณที่เป็นรอยช้ำ

สรุป

รอยช้ำนั้นอาจจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงจะหาย การพักผ่อนนั้นจะช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้ดีที่สุด และการใช้วิธีข้างต้นนั้นก็อาจจะช่วยให้รอยช้ำนั้นหายได้เร็วขึ้น ควรสังเกตว่ารอยช้ำของคุณนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง อย่าลืมว่ารอยช้ำนั้นอาจจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อพลิกรุนแรงหรือมีกระดูกหักได้

ควรไปพบแพทย์หากอาการบาดเจ็บนั้นดูไม่รุนแรงแต่ยังคงมีอาการปวดหลังจากผ่านไปแล้ว 3 วัน

  • คุณมีตุ่มนูนขึ้นเหนือรอยช้ำ
  • คุณมีรอยช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • สังเกตเห็นเลือดในปัสสาวะหรืออุจจาระ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการที่แสดงถึงโรคที่ร้ายแรงได้

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นพ.วธวรรธน์ ลิ้มทองกุล, อาการฟกช้ำและปวดเคล็ด (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94/), 13 มิถุนายน 2562

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป