สิ่งน่ารู้ ในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (ORAL PILLS)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สิ่งน่ารู้ ในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (ORAL PILLS)

a4.gif ในปัจจุบันมักเป็นยาชนิดที่เป็นแบบฮอร์โมนรวมซึ่งหมายถึง ยาที่แต่ละเม็ดประกอบด้วย ฮอร์โมน 2 ชนิด คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสโตรเจน (Progestrogen) โดยที่ชุดหนึ่ง ๆ อาจมี 21 เม็ดหรือ 28 เม็ดก็ได้ โดยในชุด 28 เม็ด 7 เม็ดสุดท้ายจะไม่มีฮอร์โมนอยู่เลย

สำหรับกลไกการออกฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดออกฤทธิ์โดย

  1. ระงับการตกไข่ ซึ่งเป็นฤทธิ์ที่สำคัญที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์
  2. การเปลี่ยนเยื่อบุโพรงมดลูก ให้อยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์
  3. ฤทธิ์ทำให้เมือกที่ปากมดลูกเป็นด่าง เหนียวขึ้น ทำให้อสุจิผ่านเข้าได้ยาก

a4.gif พบว่าประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นมีถึง 98% คือ มีอัตราเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ 2 ราย ต่อหญิง 100 ราย ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดสม่ำเสมอนานเป็นเวลา 1 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด

ชนิด 28 เม็ด


 

a4.gif เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในบริเวณที่ให้รับประทานเริ่มต้น โดยเริ่มรับประทานในวันแรกที่มีประจำเดือน รับประทานติดต่อกันจนหมดชุด แล้วเริ่มรับประทานชุดใหม่อีกโดยไม่ต้องหยุด

ชนิด 21 เม็ด


 

a4.gif ให้เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในวันที่ 5 ของการมีประจำเดือน รับประทานจนหมดชุด แล้วหยุดรอให้มีระดู ซึ่งจะมีประมาณวันที่ 2-4 หลังจากหยุดยา แล้วจึงเริ่มชุดใหม่ในวันที่ 5 ของรอบเดือนเช่นเดิม หรือในกรณีที่ระดูไม่มาอาจจะใช้วิธีเว้นระยะ 7 วันหลังยาชุดแรกหมด แล้เริ่มชุดใหม่ต่อไปเลย โดยไม่ต้องคำนึงถึงวันการมาของระดู

a4.gif สำหรับการรับประทานยาคุมกำเนิด ในกรณีหลังคลอดบุตร ถ้าเป็นการตั้งครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ควรให้เริ่มรับประทานหลังคลอด 2 สัปดาห์ ส่วนในกรณีตั้งครรภ์มีอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ควรเริ่มรับประทานยาหลังคลอดทันทีเลย

 

ในสตรีที่ให้น้ำนมบุตร ควรคุมกำเนิดโดยวิธีอื่นไปก่อน จนกว่าจะหยุดให้นมบุตรจึงใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดได้

เวลารับประทานยาที่เหมาะสม ควรเป็นเวลาหลังอาหารเย็น เพื่อลดอาการข้างเคียงและควรรับประทานยาเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อป้องกันการลืม และทำให้ระดับยาในเลือดสม่ำเสมอ เป็นการลดอัตราการเกิดเลือดออกกะปริบกะปรอย

ถ้าลืมรับประทานยา 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ และรับประทานเม็ดต่อไปตามปกติ แต่ถ้าลืมรับประทาน 2 เม็ดควรหยุดยาแล้วใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นรออีก 7 น แล้วจึงเริ่มรับประทานยาแผงใหม่

ในกรณีที่รับประทานยาสม่ำเสมอไม่ลืม แล้วมีการขาดระดู ให้รับประทานยาต่อไปตามปกติ ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าขาดระดู 2 เดือน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ กรณีที่ลืมรับประทานยาแล้ขาดระดูแม้เพียงเดือนเดียวก็ควรไปปรึกษาแพทย์ ตรวจดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Birth Control Basics: Everything You Need to Know About Contraception to Avoid Pregnancy. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/sexual-health/birth-control/)
5 Things You Need to Know About Birth Control. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/things-to-know-about-birth-control-4065394)
Birth Control Pill: Side Effects, Effectiveness, How the Pill Works, and Types. WebMD. (https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-pills#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์
โรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะแท้งคุกคามและภาวะซีดอย่างรุนแรงสามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอค

อ่านเพิ่ม
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?
สามารถตั้งครรภ์หลังจากการผ่าตัดมดลูกหรือไม่?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หลังจากผ่าตัดมดลูกว่าเป็นไปได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม