กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ภาวะน้ำมูกไหลลงคอ

เกิดได้จากหลายสาเหตุ ต้องหมั่นสังเกตตนเองเพื่อหาทางรักษาและป้องกันการซ้ำ
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 15 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะน้ำมูกไหลลงคอ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • น้ำมูก คือสารคัดหลั่งที่จมูกและคอสร้างขึ้น เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ กรองสิ่งสกปรก แต่โดยปกติแล้วคุณจะกลืนมูกเหล่านี้ไปโดยไม่รู้ตัว จนเริ่มรู้สึกว่ามีเสมหะสะสมอยู่ที่ด้านหลังของลำคอ 
  • สาเหตุของภาวะน้ำมูกลงคอที่พบบ่อยที่สุดก็คือ ภูมิแพ้ ส่วนสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อในโพรงจมูก อากาศเปลี่ยน อาหารเผ็ด ยาบางชนิด
  • การรักษาภาวะน้ำมูกลงคอ อาจลองทำหลายๆ วิธีต่อไปนี้เพื่อหาวิธีที่เหมาะ เช่น น้ำเกลือล้างจมูก หนุนศีรษะให้สูงเวลานอน ดื่มน้ำอุ่นมากๆ แต่หากพบว่าน้ำมูกมีสีเขียว กลิ่นแรง หรือมีไข้ ควรไปพบแพทย์
  • การป้องกันภาวะน้ำมูกไหลลงคอ เช่น กินยาแพ้แพ้ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้ ดูแลบ้านให้มีฝุ่นน้อยที่สุด เปลี่ยนไส้กรองอากาศชนิดกันไรฝุ่น และอาบน้ำก่อนเข้านอน 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ 

น้ำมูก คือ สารคัดหลั่งที่จมูกและคอสร้างขึ้น เมื่อเกิดภาวะดังต่อไปนี้ ไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ หวัด   ภาวะน้ำมูกไหลลงคอนั้นเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยต่อมที่อยู่ในจมูกและคอนั้นจะมีการสร้างมูกออกมาด้วยจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้

  • ต่อสู้กับการติดเชื้อ
  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุโพรงจมูก
  • กรองสิ่งสกปรก

แต่โดยปกติแล้วคุณจะกลืนมูกเหล่านี้ไปโดยไม่รู้ตัว เพียงแต่เมื่อร่างกายสร้างมูกออกมามากขึ้น คุณจะเริ่มรู้สึกว่ามีเสมหะสะสมอยู่ที่ด้านหลังของลำคอ และอาจรู้สึกว่า มันเริ่มไหลลงคอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการที่พบบ่อยของภาวะนี้ประกอบด้วย

  • รู้สึกว่าอยากไอตลอดเวลาเพื่อให้คอโล่ง
  • ไอรุนแรงมากขึ้นในเวลากลางคืน
  • คลื่นไส้จากการที่มีน้ำมูกนั้นลงไปที่กระเพาะอาหาร
  • เจ็บคอและแสบคอ
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น

สาเหตุ

แม้จะมีหลายภาวะที่อาจทำให้เกิดภาวะนี้ได้  แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ โรคภูมิแพ้   ดังนั้นหากคุณได้รับการตรวจและทราบว่า แพ้อะไรก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้คุณเกิดอาการแพ้นั่นเอง  อีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ การที่กระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่กั้นจมูกทั้ง 2 ข้างนั้นเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้โพรงจมูกด้านหนึ่งนั้นเล็กและทำให้ไม่สามารถกำจัดมูกออกได้เพียงพอ ทำให้เกิดเสมหะไหลลงคอได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ประกอบด้วย

  • อุณหภูมิที่เย็น
  • การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่
  • การติดเชื้อในโพรงจมูก
  • การตั้งครรภ์
  • อากาศเปลี่ยนแปลง
  • อากาศแห้ง
  • อาหารที่เผ็ด
  • ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาคุมกำเนิด

บางกรณีปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะนี้อาจไม่ได้เกิดจากการที่มีมูกมาก แต่เกิดจากคอไม่สามารถกำจัดพวกมันออกไปได้ เช่น การมีปัญหาเรื่องการกลืน หรือโรคกรดไหลย้อน จะทำให้เกิดการสะสมเสมหะในลำคอได้

การรักษาที่บ้าน

คุณสามารถลองใช้หลายๆ วิธีเพื่อช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหลลงคอได้ ตัวอย่างเช่น 

  • ใช้ยาลดอาการคัดจมูกที่มีส่วนประกอบของ phenylephrine และ pseudoephedrine (ต้องจ่ายโดยแพทย์)
  • ใช้น้ำเกลือพ่นจมูก จะสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับโพรงจมูกและลดอาการเสมหะไหลลงคอได้ หากคุณยังคงมีอาการต่อเนื่อง แพทย์อาจจะใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์แบบพ่น 
  • ใช้น้ำเกลือล้างจมูก จะสามารถช่วยลดมูกส่วนเกินได้
  • หนุนศีรษะให้สูงขึ้นเวลานอน จะสามารถช่วยกำจัดเสมหะเหล่านี้ได้สะดวกขึ้น
  • การดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำร้อน เช่น ชา หรือซุปไก่ สามารถทำให้น้ำมูกลดลงและป้องกันการขาดน้ำได้
  •  อย่าลืมดื่มน้ำมากๆ เพราะจะช่วยทำให้มูกบางลงและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับโพรงจมูก สามารถช่วยลดอาการได้

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

 ควรไปพบแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้ หรือเป็นเรื้อรังนานกว่า 10 วัน

  • มูกสีเขียว เหลือง หรือเป็นเลือด
  • มูกมีกลิ่นแรง
  • มีไข้
  • หายใจมีเสียงวี๊ด 

เพราะอาการเหล่านี้นั้นอาจจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียและต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา

ในกรณีที่เกิดจากความผิดปกติของกระดูกอ่อนที่กั้นโพรงจมูก การผ่าตัดแก้ไขนั้นอาจจะเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาได้อย่างถาวร  ระหว่างการผ่าตัดแพทย์จะทำการยืดกระดูกอ่อนดังกล่าวและปรับให้มาอยู่ตรงกลาง และอาจมีการตัดบางส่วนออก

หากคุณคิดว่า ตนเองเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนและทำให้มีปัญหาเสมหะไหลลงคอ แพทย์อาจจะมีการตรวจและสั่งจ่ายยาเพื่อรักษาโรคอื่นๆ ควบคู่ด้วย

การป้องกัน 

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดเสมหะไหลลงคอคือ ลดการสัมผัสกับสารที่แพ้ให้ได้มากที่สุด โดยควรจะ

  • รับประทานยาแก้แพ้เป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้
  • ดูแลบ้านให้สะอาดและปราศจากฝุ่นให้ได้มากที่สุด
  • ใช้ผ้าปูที่นอน หรือปลอกหมอนชนิดกันไรฝุ่น
  • เปลี่ยนไส้กรองอากาศของเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ
  • อาบน้ำก่อนเข้านอน 
  •  หากคุณมีอาการอื่นร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treatments for post-nasal drip. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/treatments-for-post-nasal-drip)
Postnasal drip: Symptoms, causes, and home remedies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319636)
What Is Postnasal Drip: Sore Throat & More From Sinus Drainage. WebMD. (https://www.webmd.com/allergies/postnasal-drip#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)