กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

โรคหัวใจทางพันธุกรรม (Inherited Cardiac Conditions)

โรคหัวใจทางพันธุกรรม (Inherited Cardiac Conditions)
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคหัวใจทางพันธุกรรม (Inherited Cardiac Conditions)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะหัวใจทางพันธุกรรม (Inherited Cardiac Conditions: ICC) เกิดจากความผิดปกติ หรือการกลายพันธุ์ของยีนหนึ่งตัว หรือมากกว่า
  • โรคหัวใจทางพันธุกรรมแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของหัวใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ
  • การวินิจฉัยว่า มีภาวะนี้หรือไม่ มีหลายวิธี เช่น การสืบประวัติครอบครัว การตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า การวิ่งสายพาน
  • การรักษามีหลายวิธีตามระดับความรุนแรงของโรค เช่น การปรับพฤติกรรม การใช้ยา การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ
  • ภาวะหัวใจทางพันธุกรรมอาจไม่แสดงอาการเสมอไป บางคนจึงไม่ว่ารู้ว่า ตนเองมีภาวะนี้อยู่ จะรู้ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือต้องตรวจยีนจึงพบ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

ภาวะหัวใจทางพันธุกรรม (Inherited Cardiac Conditions: ICC) หรือชื่อเรียกว่า Inherited Cardiovascular Diseases: ICVD เกิดจากความผิดปกติ หรือการกลายพันธุ์ของยีนหนึ่งตัว หรือมากกว่า 

หากว่า คนคนหนึ่งมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ จะมีโอกาสสูงถึง 50% ที่ยีนนั้นๆ จะส่งต่อให้ลูกหลาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะเหล่านี้อาจไม่แสดงอาการเสมอไป บางคนจึงไม่ว่ารู้ว่า ตนเองมีภาวะนี้อยู่ จะรู้ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Death: SCD) หรือต้องตรวจยีนจึงพบ

สัญญาณและอาการจากโรคหัวใจทางพันธุกรรม

เนื่องจากผู้ป่วยภาวะ ICC บางรายอาจไม่มีสัญญาณ หรืออาการใดๆ แต่ถ้ามีภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทางพันธุกรรม (Familial Arrhythmia) ก็อาจพบอาการเหล่านี้ได้

  • ใจสั่น (Palpitations)
  • หมดสติ หรือเกือบจะเป็นลม

ประเภทของโรคหัวใจทางพันธุกรรม

โรคหัวใจทางพันธุกรรมแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ 3 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 โรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathies) เช่น 

  • Hypertrophic cardiomyopathy (กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ)
  • Dilated cardiomyopathy (กล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวมากกว่าปกติ)
  • Restrictive cardiomyopathy (กล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวได้น้อยกว่าปกติ)
  • Noncompaction cardiomyopathy (กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวได้น้อยกว่าปกติ)
  • Arrhythmogenic dysplasia/ cardiomyopathy (กล้ามเนื้อหัวใจฝ่อกว่าปกติ)

ประเภทที่ 2 โรคที่เกี่ยวกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Channelopathies) เช่น

  • Brugada syndrome (กลุ่มอาการไหลตาย)
  • Catecholaminergic polymorphic ventricular (CPVT) tachycardia
  • Long QT syndrome
  • Short QT syndrome

ประเภทที่ 3 โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ (Certain aortic diseases) เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Marfan syndrome 
  • Loeys-Dietz syndrome   

นอกจาก 3 ประเภทนี้แล้ว ยังมีโรคที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยว่า มีภาวะนี้หรือไม่ มีหลายวิธี บางวิธีก็ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา เช่น

  • การสืบประวัติครอบครัว
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  • การวิ่งสายพาน (EST)
  • การติดเครื่องติดตาม 24 ชั่วโมง
  • การทำ CT Scan หรือการทำ MRI
  • การตรวจยีน

การรักษาโรคหัวใจทางพันธุกรรม

ภาวะต่างๆ จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่แตกต่างกันตามระดับความรุนแรงของโรคและอาการ วิธีรักษาโดยทั่วไปมีดังนี้

  • การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เช่น พักพ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด งดการสุบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • การใช้ยา
  • การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (Implantable Cardioverter Defibrillators: ICDs)
  • การปลูกถ่ายหัวใจ (ในกรณีหายาก)

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้ยา เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ (ถ้ามี) และข้อควรระวังต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ  

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
S.G. Priori, A.A. Wilde, M. Horie, et al. Executive summary: HRS/EHRA/APHRS expert consensus statement on the diagnosis and management of patients with inherited primary arrhythmia syndromes. Europace, 15 (2013), pp. 1389-1406.
P.M. Elliott, A. Anastasakis, M.A. Borger, et al. 2014 ESC Guidelines on diagnosis and management of hypertrophic cardiomyopathy: the Task Force for the Diagnosis and Management of Hypertrophic Cardiomyopathy of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J, 35 (2014), pp. 2733-2779.
P. Elliott, B. Andersson, E. Arbustini, et al. Classification of the cardiomyopathies: a position statement from the European Society Of Cardiology Working Group on Myocardial and Pericardial Diseases. Eur Heart J., 29 (2008), pp. 270-276.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)