ผิวหนังฟกช้ำง่าย (Increased Tendency to Bruise)

อาการฟกช้ำบริเวณต่างๆ มักเกิดจากการกระแทก แต่หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับรอยช้ำควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากโรคร้ายบางชนิดได้
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผิวหนังฟกช้ำง่าย (Increased Tendency to Bruise)

อาการฟกช้ำบริเวณต่างๆ มักเกิดจากการกระแทก แต่หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับรอยช้ำควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากโรคร้ายบางชนิดได้

ภาพรวมของผิวหนังฟกช้ำง่าย

รอยฟกช้ำ (Ecchymosis) เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตกออกหรือฉีกขาด ทำให้เลือดออกมาใต้ผิวจนทำให้สีผิวบริเวณดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รอยฟกช้ำส่วนมากมักเกิดจากการเดินชนสิ่งของ หรือเกิดจากการกระแทก ความถี่ของการเกิดแผลฟกช้ำจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิง เนื่องจากเส้นเลือดฝอยจะแตกหักง่ายขึ้นและผิวหนังจะบางลง ปกติแล้วรอยฟกช้ำที่เกิดขึ้นบางครั้งคราวมักจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพ แต่ถ้าเกิดอาการฟกช้ำบ่อย รอยฟกช้ำมีขนาดใหญ่หรือมีเลือดออกที่อื่นร่วมด้วย ก็อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่รุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

สาเหตุของอาการผิวหนังฟกช้ำง่าย

หากเกิดอาการผิวหนังฟกช้ำง่าย อาจเกิดจากภาวะที่เลือดไม่สามารถแข็งตัวเป็นก้อนจากความผิดปกติทางการแพทย์ต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ เช่น

  • กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s Syndrome) : เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ที่ทำให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนกลูโคคอร์ติซอยด์มากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังบาง เป็นแผลและรอยฟกช้ำง่าย
  • โรคเลือดไหลไม่หยุดจากการขาดปัจจัยแข็งตัวของเลือดชนิด II : เกิดจากการขาดปัจจัยแข็งตัวของเลือดชนิด II หรือ Prothrombin
  • โรคเลือดไหลไม่หยุดจากการขาดปัจจัยแข็งตัวของเลือดชนิด V : เกิดจากการขาดปัจจัยแข็งตัวของเลือดชนิด V หรือ Proaccelerin
  • โรคเลือดไหลไม่หยุดจากการขาดปัจจัยแข็งตัวของเลือดชนิด VII : เกิดจากการขาดปัจจัยแข็งตัวของเลือดชนิด VII หรือ Proconvertin และ Serum Prothrombin Conversion Accelerator
  • โรคเลือดไหลไม่หยุดจากการขาดปัจจัยแข็งตัวของเลือดชนิด X : เกิดการขาดปัจจัยแข็งตัวของเลือดชนิด X หรือ Stuart-Prower Factor
  • โรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ : เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดอยู่ในระดับต่ำหรือไม่มีเลย
  • โรคฮีโมฟีเลียชนิดบี : เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิด X อยู่ในระดับต่ำ หรือไม่มีเลย
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) : เกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นจนทำร่างกายไม่สามารถควบคุมได้
  • ปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ และมีความผิดปกติของเกล็ดเลือด : ผู้ป่วยมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดรอยฟกช้ำง่าย เลือดหยุดไหลยาก
  • โรควอนวิลลิแบรนด์ (von Willebrand disease) : เกิดจากความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดประเภทหนึ่ง

นอกจากภาวะทางการแพทย์แล้ว มียาอีกหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการฟกช้ำได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น

  • กลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด : ยาในกลุ่มนี้จะไปลดความสามารถของร่างกายในการห้ามเลือด ด้วยการยับยั้งการสร้างเกร็ดเลือด หรือยับยั้งกระบวนการแข็งตัวของเลือด ยากลุ่มนี้มักใช้ในการรักษาโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ตัวอย่างยาดังกล่าว ได้แก่ ยา Aspirin ยา Warfarin ยา Clopidogrel ยา Rivaroxaban และ Apixaban
  • ยาสเตียรอยด์ : โดยเฉพาะยาสเตียรอยด์แบบทาเฉพาะที่ (Topical Steroids) ซึ่งมักใช้ในการรักษากลากและผื่นที่ผิวหนัง นอกจากนี้ ยาสเตียรอยด์สำหรับพ่นที่ใช้ในผู้ป่วยหอบหืด ลดอาการแพ้ และไข้หวัดรุนแรง ก็มีผลข้างเคียงนี้เช่นกัน
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) : หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเพิ่มโอกาสเลือดออกได้ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หากรับประทานยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่แล้วร่วมด้วย

การวินิจฉัยอาการผิวหนังฟกช้ำง่าย

หากสังเกตว่าตนเองมีรอยฟกช้ำบ่อยมากขึ้น และมีรอยฟกช้ำขนาดใหญ่ พร้อมมีเลือดไหลซึมบริเวณอื่นๆ ควรเข้าพบแพทย์ที่ทำการวินิจฉัยสาเหตุที่ซ่อนอยู่ ซึ่งแพทย์อาจวินิจฉัยโดยการซักประวัติทางพันธุกรรม และประวัติทางการแพทย์ จากนั้นอาจให้มีการตรวจเลือด และตรวจความสามารถในการแข็งตัวของเลือด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดรอยฟกช้ำ

การรักษารอยฟกช้ำ

ส่วนใหญ่แล้ว รอยฟกช้ำจะหายไปเองในไม่กี่วัน แต่สามารถกระกระตุ้นให้ผิวหนังและร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ด้วยการประคบเย็นเป็นเวลา 15 นาที ร่วมกับยกอวัยวะที่มีรอยช้ำให้สูงเหนือหัวใจ หากรู้สึกปวด สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลหรือยาไอบูโพรเฟนได้

การป้องกันผิวหนังฟกช้ำ

รอยฟกช้ำที่ไม่ได้เกิดจากโรคและการใช้ยาบางประเภทสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเอง เช่น เดินให้ช้าลง และเดินด้วยความระมัดระวัง วางของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และสวมอุปกรณ์ป้องกันเมื่อออกกำลังกาย

ที่มาของข้อมูล

JC Jones MA and Kristeen Cherney, What causes bruises easily? (https://www.healthline.com/symptom/bruises-easily), July 19, 2016.


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bruises Due to Bleeding Disorders - Cleveland Clinic (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15235-bruises)
William C. Shiel Jr., MD, FACP, FACR, Bruises (https://www.medicinenet.com/easy_bruising/symptoms.htm).
Bruising easily: 7 possible causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325525)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)