การกอดเป็นยา: กรณีศึกษาว่าด้วยการกอด

ทำไมการกอดจึงเป็นเรื่องดี
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การกอดเป็นยา: กรณีศึกษาว่าด้วยการกอด

ในตอนนี้คุณอาจเคยได้ยินชื่อ Spoonr ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นเพื่อการพบปะทางสังคมที่ช่วยให้คุณค้นหาคนแปลกหน้าที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อกอด ซึ่งชัดเจนว่า Spoonr เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับการกอด ซึ่งไม่ใช่การกอดที่เป็นการนำไปสู่เพศสัมพันธ์ หลังจากกอด คุณอาจได้รับการสนับสนุนโดยการให้คะแนนสำหรับการกอดดังกล่าวใน Spoonr และรายงานการกอดที่ทำให้เกิดความอึดอัดไม่สบายใจ

การสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับการกอดอย่างสุ่มนี้บ่งบอกถึงเนื้อแท้ของมนุษย์ที่ต้องการความใกล้ชิด งานวิจัยบางงานทำโดยอ้างอิงจากวิทยาศาสตร์ของการกอด และทำไมความอบอุ่น ใกล้ชิด และความสบายใจที่ได้รับโดยไม่คาดคิดจึงดีต่อสุขภาพและทำให้เรารู้สึกดีได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แรงสนับสนุนทางอารมณ์ (emotional suppert) และ oxytocin

แรงสนับสนุนทางอารมณ์ในทางบวกเกี่ยวข้องกับหมวดหมู่ที่ซับซ้อนของพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กัน รวมถึง

  • ภาษากาย
  • การแสดงออกทางสีหน้า
  • อารมณ์ของคำพูด
  • การฟังและการตอบสนอง
  • การจับมือ
  • การกอดสั้น ๆ
  • การกอดนาน ๆ

โดยทั่วไปแล้ว พฤติกรรมดังกล่าวมุ่งเน้นไปยังอารมณ์ในเชิงบวก ความใกล้ชิด และความสัมพันธ์ ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยทางจิตวิทยาจำนวนมากแนะนำว่าแรงสนับสนุนทางอารมณ์ในเชิงบวกอาจมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของระบบไหลเวียนเลือดที่ดีกว่า

จากแง่มุมทางชีวเคมี นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแรงสนับสนุนทางอารมณ์ในเชิงบวกอาจส่งผลต่อการทำงานของร่างกายมนุษย์ในส่วนของการทำงานของฮอร์โมนที่เรียกว่าออกซิโทซิน (oxytocin) ถึงแม้ว่าออกซิโทซินจะเป็นที่รู้กันว่ามีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์และความเป็นแม่ แต่ก็มีบทบาทในเรื่องความพึงใจในตัวคู่ครอง การยอมรับทางสังคม ความสงบ การสร้างความสัมพันธ์ และอื่น ๆ

หลังจากการตอบสนองต่อความเครียด เชื่อว่าออกซิโทซินจะระงับการตอบสนองแบบซิมพาเทติกและการทำงานของ hypothalamic-pituitary-adrenal อย่างจำเพาะ ในขณะที่กระตุ้นการควบคุมหัวใจแบบพาราซิมพาเทติก พูดอีกอย่างคือ ในช่วงเวลาที่นานขึ้น ออกซิโทซินอาจทำให้ความเครียดลดลงและทำให้มีผลดีด้านการป้องกันหัวใจ

ยิ่งไปกว่านั้น ตัวรับเอสโตรเจนยังกระตุ้นตัวรับออกซิโทซินที่อยู่ข้าง ๆ ให้ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ผลของออกซิโทซินในผู้หญิงรุนแรงกว่า

งานวิจัยเรื่องการกอด

ในการทดลองกับสัตว์ (หนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ) การลูบนาน ๆ หรือการนวดมีความสัมพันธ์กับระดับออกซิโทซินที่เพิ่มขึ้น สังเกตว่าผลจากฮอร์โมนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่ใช้เวลาหลายวันในการสร้างผลดังกล่าว ที่สำคัญคือการหลั่งออกซิโทซินในหนูทำให้ความดันเลือดลดลงอยู่ในระดับคงที่ ข้อสังเกตดังกล่าวทำให้นักวิจัยคิดว่าการสัมผัสที่อบอุ่นหรือการกอดของผู้คนอาจเพิ่มระดับออกซิโทซินได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกเหนือจากการตรวจระดับออกซิโทซินในเลือด นักวิจัยสามารถผ่าชำแหละหนูเพื่อวิเคราะห์ระดับของ mRNA ที่ใช้สร้างออกซิโทซิน ในทางตรงกันข้ามสามารถทำได้แค่การตรวจระดับออกซิโทซินในเลือดจากผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นมนุษย์ ดังนั้น แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับออกซิโทซินและผลดีด้านการป้องกันหัวใจจะเห็นได้ชัดเจนในสัตว์ แต่ในมนุษย์ ยังเป็นไปได้ว่าอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีบทบาทนอกเหนือไปจากจากออกซิโทซินอีกด้วย

ในการศึกษาเล็ก ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychosomatic medicine ระดับของออกซิโทซินและนอร์อิพิเนฟรีน (อะดรีนาลีน) ได้รับการตรวจวัดในคู่สามีภรรยาชายหญิง 38 คู่ ก่อน ระหว่าง และหลังการกอด นักวิจัยพบระดับออกซิโทซินในเลือดที่สูงกว่า และระดับของนอร์อิพิเนฟรีนในเลือดที่ต่ำกว่าในผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีความสัมพันธ์ที่สนับสนุนกันและเป็นไปในเชิงบวก ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีการแสดงออกถึงแรงสนับสนุนทางอารมณ์ในเชิงบวกเช่นการกอดอยู่บ่อย ๆ

อ้างอิงจากผู้ทำการศึกษาดังกล่าว ผลลัพธ์จะเด่นชัดกว่าในผู้หญิง และนักวิจัยชี้แนะว่าการตอบสนองเป็นวงจรในเชิงบวกจะเพิ่มการสร้างออกซิโทซินมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังสามารถหาความเชื่อมโยงของออกซิโทซินกับระดับความดันโลหิตที่ลดลง และการทำงานแบบซิมพาเทติกของระบบไหลเวียนเลือดในผู้เข้าร่วมที่เป็นผู้หญิงเหล่านี้

ในการศึกษาเล็ก ๆ ที่คล้าย ๆ กันซึ่งตีพิมพ์ใน Biological psychology นักวิจัยอีกกลุ่มตรวจระดับออกซิโทซินและความดันโลหิตในผู้หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือนก่อนและหลังการสัมผัสอย่างอบอุ่นหรือการกอดกับคู่ นักวิจัยเหล่านี้พบเช่นกันว่าในผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีการสนับสนุนกัน ระดับของออกซิโทซินจะสูงกว่า ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจก็ต่ำกว่า

อ้างอิงจากงานวิจัยที่เกิดขึ้น ดูเหมือนว่าการกอดอาจลดความเครียดและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจของคุณ โดยเฉพาะหากคุณเป็นผู้หญิง แต่ต้องยอมรับว่าการศึกษาต่าง ๆ ที่อ้างถึงนั้นเน้นไปยังกลุ่มมีอำนาจ (power) ต่ำกว่า (กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อย) และแสดงถึงกลุ่มตัวอย่างที่เหมือนกัน (คู่ต่างเพศ) อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยจากมุมมองทางสัญชาตญาณแล้ว พวกเราคงเห็นด้วยว่าการกอดทำให้เรารู้สึกดี และผลดีที่ได้รับด้านการทำงานของร่างกายก็ดูสมเหตุผล

ดังนั้น จากที่กล่าวมา เราสนับสนุนให้คุณกอด และรักคู่ของคุณไม่ว่าเขาหรือเธอจะเป็นอย่างไรก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น กอดคู่ของคุณต่อไป และให้การสนับสนุนแก่คู่ของคุณต่อไปในอีกหลายปีที่จะมาถึง เห็นได้ชัดว่าผลดีของการสัมผัสอย่างอบอุ่นใช้เวลาทำเพียงน้อยนิด ดังนั้น หากคุณยังไม่ได้ทำ ก็เป็นความคิดที่ดีที่คุณจะหันไปกอดคนที่รักทันที หรือให้แรงสนับสนุนทางอารมณ์แก่คนที่รักจนเป็นนิสัย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Holistic Health - Herbal Medicine, Massage, and More. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/holistic-health-overview-4581952)
Using ‘hug drugs’ to understand affiliative behavior: the value of the social neurochemistry perspective. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4127031/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป