ออกซิโทซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยไฮโปธาลามัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เล็กมากที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายอย่าง ประกอบไปด้วย ความรู้สึกหิว กระหายน้ำ การนอน อารมณ์ และความต้องการทางเพศ ทั้งนี้ฮอร์โมนออกซิโทซินมีชื่อเล่นว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” เพราะร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้เมื่อเราสร้างความผูกพันธ์กับคนรัก ลูก และแม้แต่สัตว์เลี้ยง ซึ่งออกซิโทซินจะถูกหลั่งออกมาในขณะที่มีเซ็กส์ ตอนคลอดลูก และตอนที่เราจ้องตาคนที่เรารัก หรือเมื่อมีการกอดกัน ทั้งนี้มีการค้นพบว่าออกซิโทซินมีส่วนช่วยควบคุมพฤติกรรมทางสังคม เพราะมันไปเพิ่มความรู้สึกไว้วางใจและกระตุ้นพฤติกรรมที่เอื้อต่อสังคมและศีลธรรม อีกทั้งยังช่วยลดความก้าวร้าวและความเครียด
ออกซิโทซินช่วยเพิ่มความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ระดับของออกซิโทซินมีความเชื่อมโยงกับความเห็นอกเห็นใจ มีบางงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของออกซิโทซินช่วยทำให้เรามีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น และช่วยในการปรับตัวเข้าสังคมสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคออทิสติก ทั้งนี้มีงานวิจัยที่มีผู้เข้าร่วมทดลองเป็นผู้ป่วยโรคออทิสติก 13 คน พบว่า หลังจากที่มีการสูดออกซิโทซิน ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่ให้ความร่วมมือทางสังคมมากที่สุดชัดเจนขึ้น และรายงานถึงความรู้สึกไว้วางใจที่เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า ออกซิโทซินยังทำให้คนเอาใจใส่คนอื่นมากขึ้น และช่วยเพิ่มการเรียนรู้ทางสังคมในผู้ชายที่มีสุขภาพดี
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การลดลงของความเห็นอกเห็นใจในผู้ป่วยโรคประสาทกับการมีระดับออกซิโทซินต่ำลง
นักวิจัยจาก The University of Cardiff แห่งเมืองผู้ดีได้สังเกตผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่อาจทำให้การผลิตออกซิโทซินลดลง สำหรับโรคที่ทำการวิจัยก็คือโรคเบาจืด (Diabetes insipidus - CDI) และภาวะต่อมใต้สมองทำงานบกพร่อง (Hypopituitarism - HP) ทั้งนี้คนที่เป็นโรคเบาจืด ร่างกายจะผลิตอาร์จีนีน วาโซเพรสซินลดลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความคล้ายคลึงกับออกซิโทซินและผลิตภายในไฮโปธาลามัส ส่วนคนที่ตกอยู่ในภาวะ HP ต่อมใต้สมองจะไม่ได้ผลิตฮอร์โมนอย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ดี นักวิจัยตั้งสมมติฐานไว้อยู่ 2 ข้อคือ มีการคาดการณ์ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาจืด และCDI มีระดับออกซิโทซินน้อยลง และมีการทำนายว่า การมีระดับของออกซิโทซินที่ต่ำลงจะทำให้ผู้ป่วยมีความเห็นอกเห็นใจลดลง ซึ่งผู้เข้าร่วมทดลองในงานวิจัยชิ้นนี้มีทั้งหมด 55 คน โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยโรคเบาจืด 20 คน ผู้ป่วยโรค CDI 20 คน และคนที่มีสุขภาพดี 15 คน
ผู้เข้าร่วมทดลองทุกคนจะถูกเก็บน้ำลายตัวอย่างทั้งก่อนและหลังทำแบบทดสอบที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจผู้อื่น ซึ่งประกอบไปด้วยการอ่านความคิดจากดวงตา และการจดจำการแสดงออกทางใบหน้า ผลปรากฏว่า ผู้ป่วยโรคเบาจืด และโรค CDI ทำแบบทดสอบได้แย่อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมทดลองที่มีสุขภาพดี และผู้ป่วยที่มีระดับของออกซิโทซินต่ำที่สุดยังทำแบบทดสอบที่เกี่ยวกับการจดจำการแสดงออกทางใบหน้าแย่ที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ว่างานวิจัยข้างต้นจะมีผลออกมาเช่นนั้น แต่ทั้งนี้เราก็ยังต้องรองานวิจัยอื่นๆ เพื่อยืนยันสิ่งที่ค้นพบอีกทีค่ะ