กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ไตรกลีเซอไรด์สูง ทำอย่างไรดี?

เรียนรู้สาเหตุและอาการที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และวิธีปฏิบัติตัวเบื้องต้นเพื่อทำให้ค่าไขมันตัวนี้ดีขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไตรกลีเซอไรด์สูง ทำอย่างไรดี?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไตรกลีเซอไรด์คือ ไขมันขนิดหนึ่ง ซึ่งสร้างมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปมากเกินความจำเป็นของปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ในแต่ละวัน เพื่อให้กลายเป็นพลังงานสำรองของร่างกายต่อไปนั่นเอง 
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ปกติควรมีค่าอยู่ต่ำกว่า 150 mg/dL. ส่วนระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมีค่าอยู่ที่ 200-499 mg/dL.
  • ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงอาจทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ เช่น เส้นเลือดแดงตีบ ทำให้โรคหัวใจและหลอดเลือดแย่ลง เกิดไขมันพอกตับ เกิดไขมันสะสมใต้ผิวหนัง และอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเมตาบอลิกมากขึ้นในผู้สูงอายุ 
  • หากไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับสูง ร่วมกับมีโรคประจำตัว หรือตรวจพบความเสี่ยงของโรคเมตาบอลิกอื่นๆ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเริ่มทำการรักษา โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพื่อลดไตรกลีเซอไรด์ลงทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

ไตรกลีเซอไรด์คือ ไขมันขนิดหนึ่ง ซึ่งสร้างมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ไม่จะว่ารับประทานแป้งหรือไขมัน หากได้รับมากเกินความจำเป็นของปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ในแต่ละวันแล้ว 

สารอาหารเหล่านี้จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และกลายเป็นพลังงานสำรองของร่างกายต่อไปนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ไตรกลีเซอไรด์ที่ร่างกายสามารถเก็บสะสมสามารถเปลี่ยนไปอยู่ในรูปเซลล์ไขมันส่วนเกินได้ อีกทั้งยังสะสมที่ตับได้อีกด้วย

อาการที่บอกว่า มีไตรกลีเซอไรด์สูง

โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อมีไตรกลีเซอไรด์สูงมักไม่มีอาการใดๆเลย แต่พบว่า ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงอาจทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้

  • ทำให้เส้นเลือดแดงตีบ ทำให้โรคหัวใจและหลอดเลือดแย่ลง
  • ไขมันจะไปสะสมที่ตับเป็นจำนวนมาก จนเกิดภาวะที่เรียกว่า "ไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver)" ซึ่งนำไปสู่ตับวายได้ ไขมันที่สะสมมากนี้ยังสามารถก่อให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องร้าวไปถึงหลังอย่างมาก และปวดตลอดเวลา 
  • เกิดไขมันสะสมใต้ผิวหนัง หรือที่เรียกว่า "eruptive xanthoma"
  • นอกจากนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีไตรกลีเซอไรด์สูงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเมตาบอลิกมากขึ้น ซึ่งทำให้มีอาการปวดศีรษะ หรือวิงเวียนศีรษะได้บ้าง

เราสามารถรู้เท่าทันระดับไตรีกลีเซอไรด์ในเลือดได้ด้วยการไปตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งในโปรแกรมทั่วไปมักประกอบไปด้วย การวัดระดับความดันโลหิต การตรวจเช็คระดับน้ำตาล ระดับไขมันต่างๆ ในเลือด 

นอกจากนี้หากจะเสริมโปรแกรมตรวจตับลงไปด้วยก็ดีไม่น้อย เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพให้ครบด้าน 

ตัวเลขระดับไตรกลีเซอไรด์

  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ปกติควรมีค่าอยู่ต่ำกว่า 150 mg/dL.
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่ต้องเฝ้าระวังมีค่าอยู่ที่ 151-199 mg/dL.
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมีค่าอยู่ที่ 200-499 mg/dL.
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากมีค่าอยู่ที่ 500 mg/dL. ขึ้นไป

ข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่ควรทำเมื่อตรวจพบว่า มีไตรกลีเซอไรด์สูง?

หากไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับสูง ร่วมกับมีโรคประจำตัว หรือตรวจพบความเสี่ยงของโรคเมตาบอลิกอื่นๆ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเริ่มทำการรักษา โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพื่อลดไตรกลีเซอไรด์ลงทันที 

นอกจากนี้ยังคงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ดังนี้

  • เลือกรับประทานอาหารเฉพาะที่ให้พลังงานเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่รับประทานอาหารจนมากเกินไป เพราะจะทำให้พลังงานที่ได้รับเกินมาจากอาหารเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์เพิ่มชึ้นอีก
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เปลี่ยนเป็นอาหารไขมันต่ำ หรือปราศจากไขมันก็ได้ เช่น เปลี่ยนจากการรับประทานเนื้อแดงเป็นเนื้อที่มีไขมันต่ำกว่า เช่น ปลา หรืออกไก่ หากเลือกดื่มนมควรเลือกนมที่พร่องไขมัน
  • ลดการรับประทานอาหารจำพวกไขมันลงให้เหลือพลังงานจากอาหารจำพวกไขมันเพียง 30 % ของพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับใน 1 วัน
  • เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ยังไม่ผ่านการขัดสี (Complex carbohydrate) เช่น โฮลวีต ข้าวกล้องลดการบริโภคแป้งขาวและน้ำตาลลง
  • เลือกรับประทานอาหารไขมันดีที่มีโอเมก้า 3 อยู่มาก เช่น แซลมอน ทูน่า ซาร์ดีน  ซึ่งสามารถลดไขมันไม่ดี ลงได้
  • รับประทานผักและผลไม้สดมากๆ เพื่อเพิ่มปริมาณใยอาหารต่อวัน
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่เพื่อลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ
  • หากมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ตาม BMI แนะนำให้ลดน้ำหนักด้วย (คำนวณค่า BMI ได้ที่นี่)
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที 
  • หากไม่สะดวกออกกำลังกาย แนะนำให้เพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ร่างกายได้ขยับตัวตลอดเวลา เช่น เดินขึ้น-ลงบันได แทนการใช้ลิฟต์ เดินไปเปิด-ปิดประตูรั้วเอง แทนการใช้รีโมท
  • รับประทานอาหารเสริม เช่น น้ำมันปลา ไนอาซิน สามารถช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ลงได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนเริ่มรับประทาน

การควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตนเองตั้งแต่วันนี้ตามวิธีที่เราแนะนำ หากไม่อยากตกอยู่ในภาวะป่วยจากการมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดสูง 

เพราะถึงตอนนั้นคุณอาจมีโรคร่วมอื่นๆ ด้วยแล้วก็ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันพอกตับ โรคตับ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Yuan G, Al-Shali KZ, Hegele RA (April 2007). "Hypertriglyceridemia: its etiology, effects and treatment". CMAJ. 176 (8): 1113–20. doi:10.1503/cmaj.060963. PMC 1839776. PMID 17420495.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
เข้าใจ "ไตรกลีเซอไรด์" แบบครบถ้วน ที่นี่!
เข้าใจ "ไตรกลีเซอไรด์" แบบครบถ้วน ที่นี่!

รู้จักไตรกลีเซอไรด์ สิ่งที่สัมพันธ์กับไขมันและคอเลสเตอรอล พร้อมวิธีปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายคงค่าไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสม

อ่านเพิ่ม