ตาแห้ง (Dry Eyes)

ตาแห้ง เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตาที่สามารถพบได้บ่อย เนื่องจากสามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การผลิตน้ำตาไม่เพียงพอ น้ำตามีคุณภาพต่ำ และการใช้ยาบางชนิด
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตาแห้ง (Dry Eyes)

ตาแห้ง เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตาที่สามารถพบได้บ่อย เนื่องจากสามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การผลิตน้ำตาไม่เพียงพอ น้ำตามีคุณภาพต่ำ และการใช้ยาบางชนิด

อาการตาแห้ง (Dry Eyes) เกิดจากดวงตาไม่สามารถผลิตน้ำตาได้เพียงพอ หรือผลิตน้ำตาที่ไม่สามารถทำให้ดวงตาชุ่มชื้นได้ อาการนี้มักมาพร้อมกับการแสบและระคายเคืองดวงตา อาจเกิดขึ้นตลอดเวลา หรือเกิดในช่วงใดช่วงหนึ่งก็ได้ เช่น บางคนอาจตาแห้งหลังจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือเมื่อตาโดนลม โดยทั่วไปแล้วมักเกิดกับตาทั้งสองข้างพร้อมกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากอาการตาแห้งไม่ได้รับการรักษา ก็อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและนำไปสู่การติดเชื้อ รวมถึงอาจทำให้เกิดบาดแผลบนกระจกตา และในบางคนอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น (แต่พบได้น้อยมาก)

สาเหตุของอาการตาแห้ง

อาการตาแห้งเกิดได้จากสาเหตุที่หลากหลาย แต่สาเหตุที่พบได้มากที่สุด คือ

  • การผลิตน้ำตาได้ไม่เพียงพอ (Keratoconjunctivitis Sicca) : คนส่วนมากที่มีอาการตาแห้งมักเกิดจากดวงตาผลิตน้ำตาได้น้อย ซึ่งอาจเกิดจาก
    • อายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน ความเสี่ยงต่ออาการตาแห้งจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
    • ขาดวิตามิน เอ ภาวะนี้พบได้ค่อนข้างน้อย
    • ความผิดปกติด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคลูปัส โรคโจเกร็น ซินโดรม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อ หรือความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
    • ต่อมน้ำตาเกิดการบาดเจ็บเสียหาย จากบาดแผล การอักเสบ การสัมผัสสารเคมี การสัมผัสความร้อน และการสัมผัสรังสี
    • การผ่าตัดตาโดยใช้เลเซอร์ เช่น การทำเลสิก อาจเกิดอาการตาแห้งชั่วคราวได้
  • น้ำตามีคุณภาพต่ำ : ผู้ที่มีอาการตาแห้ง อาจเกิดจากน้ำตามีองค์ประกอบของสารต่างๆ ไม่สมดุล เช่น ต่อมมัยโบเมียน (Meibomian gland) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำมันสำหรับดวงตาเกิดการอุดตัน ทำให้น้ำตาในส่วนที่เป็นน้ำมันน้อยลง ส่งผลให้น้ำตาเหือดแห้งเร็วขึ้น จึงทำให้น้ำตามีคุณภาพต่ำ
  • การใช้ยาบางชนิด : ยาหลายชนิดอาจส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งได้ เช่น
    • ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง
    • ยาหดหลอดเลือด
    • ยาต้านฮิสตามีน
    • ยาต้านโรคซึมเศร้า
    • ยาคุมกำเนิด
    • การบำบัดโดยใช้ฮอร์โมน
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : บางครั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็อาจส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งได้ เช่น
    • การสัมผัสลมแรง และฝุ่นควัน
    • อากาศแห้ง
    • การใช้คอมพิวเตอร์ การอ่านหนังสือ และการขับรถเป็นเวลานาน
  • ปัจจัยอื่นๆ : ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการตาแห้ง ได้แก่
    • การจ้องมองนานๆ โดยไม่กระพริบตา
    • การอักเสบที่ผิวเปลือกตา (Blepharitis)
    • การพลิกเปลือกตาเข้าหรือออก
    • การใช้คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

เมื่อมีอาการคัน แดง แสบ ระคายเคืองที่ดวงตาเป็นเวลานาน รวมถึงมองเห็นไม่ชัดเจน ทัศนวิสัยแย่ลงกะทันหัน ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการตรวจด้วยวิธีต่างๆ เช่น การวัดปริมาณน้ำตา หรือวัดว่าน้ำตาระเหยจากพื้นผิวลูกตาได้เร็วผิดปกติหรือไม่

การรักษาอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหยอดตา หรือน้ำตาเทียม ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปในร้านขายยา อาจบอกได้ยากว่ายาหยอดตาหรือน้ำตาเทียมแบบไหนที่เหมาะกับดวงตาของคุณ ดังนั้น คุณอาจลองใช้ผลิตภัณฑ์หลายๆ ยี่ห้อเปรียบเทียบกันดู เพื่อหาตัวที่ชอบที่สุด นอกจากนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นสำหรับดวงตา หรือการประคบร้อนที่ดวงตา ก็อาจช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้เช่นกัน

หากมีอาการรุนแรง โดยที่ยาหยอดตาและน้ำตาเทียมไม่ได้ช่วยให้อาการทุเลาลง แพทย์อาจสั่งยาบางชนิดให้ เช่น ยาหยอดตาไซโคลสปอรีน (Restatis) หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับใช้เฉพาะที่

แต่ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก จักษุแพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเพื่ออุดท่อน้ำตาที่บริเวณมุมเปลือกตา และใส่วัสดุที่เรียกว่า Lacrimal plugs เพื่อชะลอการไหลของน้ำตา ซึ่งผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวด หรืออาจไม่รู้สึกว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตาเลยก็ได้

การป้องกันอาการตาแห้ง

อาการตาแห้งอาจไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยบางอย่างในสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลให้เกิดอาการได้ เช่น

  • กระพริบตา หรือหลับตาเป็นช่วงๆ เมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ลมจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมเป่าตาเป็นเวลานาน
  • สวมแว่นกันแดดเมื่อออกไปข้างนอก
  • หลีกเลี่ยงฝุ่นและควันบุหรี่
ที่มาของข้อมูล

Jacquelyn, What Causes Dry Eyes? (https://www.healthline.com/symptom/dry-eyes), March 2016


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป