ความหมายของของเส้นเลือดฝอยในตาแตก
เส้นเลือดฝอยในตาแตก (Subconjunctival Hemorrhage) หรือเรียกได้อีกอย่างว่า "ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตา" คือ อาการตาแดงก่ำที่เป็นกันได้ทั่วไป โดยเฉพาะเวลาหลังตื่นนอนในตอนเช้า ซึ่งบางครั้งก็อาจสร้างความตกใจให้เราได้
แต่ความจริงแล้ว ภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตกมักไม่มีอันตรายร้ายแรง และเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง อาการตาแดงก็จะหายไปเอง ซึ่งโดยส่วนมาก สาเหตุของภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตกมักจะเกิดจากความดันในตาสูงขึ้นอย่างกะทันหัน หรือดวงตาถูกกระทบกระเทือน หรือเกิดความระคายเคืองขึ้นในดวงตา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เส้นเลือดฝอยในตาแตกเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
- การขยี้ตา: ในขณะขยี้ตา หากนิ้วหรือเล็บมือของคุณไปสะกิดโดนดวงตา ก็อาจทำให้เส้นเลือดฝอยในตาแตกได้ ซึ่งสาเหตุนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมความเคยชินของหลายคนที่เมื่อตื่นนอนมาแล้ว ก็จะต้องขยี้ตาจนทำให้เกิดอาการตาแดงขึ้น
- ความดันโลหิตสูง: ผู้ที่เป็นโรคความดันสูงอยู่แล้ว แรงดันในหลอดเลือดอาจทำให้เส้นเลือดฝอยในตาแตกได้ จึงมีโอกาสเกิดอาการตาแดงได้บ่อย
- การเกิดอุบัติเหตุ: การกระทบกระเทือนที่ศีรษะหรือใบหน้าอย่างรุนแรง จะทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ฐานกะโหลกศีรษะฉีกขาด และเกิดแรงดันสูงจนทำให้หลอดเลือดฝอยในตาแตก ซึ่งถือเป็นภาวะอันตราย หากไม่รีบรักษา ดวงตาอาจเกิดแรงดันสูงมากจนกลายเป็นต้อหินและตาบอดได้
- การไอ หรือจาม: รวมถึงการอาเจียนอย่างรุนแรงด้วย เพราะจะทำให้เกิดแรงดันในร่างกายสูงอย่างกะทันหัน จนเส้นเลือดฝอยในตาแตก
- การยกของหนัก: การออกแรงยกของหนักจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมถึงแรงดันในลูกตาด้วย และทำให้เส้นเลือดฝอยแตกได้
- การดำน้ำ: เพราะแรงดันน้ำจากภายนอกในที่ระดับน้ำลึกนั้นมีปริมาณมหาศาล ซึ่งทำให้แรงดันในตาสูงขึ้นจนเส้นเลือดฝอยในตาแตกได้ ผู้ที่เพิ่งดำน้ำมาใหม่ๆ หรือเพิ่งฝึกการดำน้ำจึงมักมีอาการตาแดงได้บ่อย
- การติดเชื้อ: การติดเชื้อที่เยื่อบุตานั้นมีสาเหตุได้จากทั้งเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เกิดอาการตาแดงได้บ่อยๆ และส่วนมากอาการตาแดงจากสาเหตุนี้ก็มักจะมาพร้อมกับอาการแสบเคืองตา ปวดตา และตาอักเสบด้วย
- ความผิดปกติที่หลอดเลือดสมอง: เช่น เมื่อหลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดงในสมองเชื่อมต่อกันผิดปกติ หรือหลอดเลือดดำในสมองเกิดการอุดตัน ทำให้มีแรงดันในสมอง และลูกตาเพิ่
- มขึ้น จนทำให้มีภาวะเลือดออกผิดปกติในสมอง และดวงตาได้
ซึ่งภาวะดังกล่าวมักจะส่งผลข้างเคียงให้เกิดอาการปวดตา ปวดศีรษะ และอาจอันตรายถึงขึ้นชักและสมองฝ่อได้ด้วย
นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นการเกิดเลือดออกใต้เยื่อบุตาได้ เช่น การรับประทานยาที่ยับยั้งการแข็งตัวของเลือดอย่าง วาฟาริน (Wafarin) และแอสไพริน (Aspirin) รวมทั้งการรับประทานสมุนไพรใบแปะก๊วยด้วย
เส้นเลือดฝอยในตาแตกเป็นอันตรายหรือไม่?
โดยทั่วไป ภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตกมักไม่มีอันตรายรุนแรง และสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจจะยังมีอาการระคายเคืองตาอยู่บ้าง ซึ่งคุณสามารถใช้ยาหยอดตา หรือน้ำตาเทียมเพื่อบรรเทาอาการได้
แต่หากพบว่าอาการตาแดงที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น แสบเคืองตา ตาบวมขึ้น ปวดตา ปวดศีรษะ การมองเห็นแย่ลง คุณควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน และไม่ควรซื้อยาหยอดตามาใช้เองโดยไม่อยู่ในการควบคุมของแพทย์
เส้นเลือดฝอยในตาแตกมักเกิดที่บริเวณตาขาว แต่บางครั้งก็อาจเกิดที่เส้นเลือดฝอยในตาดำได้เช่นกัน ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุที่รุนแรงกว่า เช่น การติดเชื้อจนอักเสบ หรือเกิดบาดแผลที่นัยน์ตา และจะส่งผลกระทบทำให้การมองเห็นแย่ลง
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมองเห็นภาพเป็นจุดๆ และมีเลือดไหลออกจากดวงตาด้วย
การรักษา และการดูแลตนเองเมื่อเส้นเลือดฝอยในตาแตก
หากผู้ป่วยมีอาการตาแดงเพียงอย่างเดียว และไม่พบอาการรุนแรงอื่นๆ ร่วมด้วยก็ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่หาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลดวงตาอย่างเหมาะสม เท่านี้อาการตาแดงก็สามารถหายเองได้
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หรือหากมีอาการระคายเคืองตาเล็กน้อย ก็สามารถมาพบแพทย์เพื่อขอยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการได้
แต่สิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องรักษาให้หายจริงๆ นั้นไม่ใช่อาการตาแดง แต่เป็น "สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาแดง" ต่างหาก เช่น มีความดันโลหิตสูง ไอเรื้อรัง เพราะโรค และกลุ่มอาการเหล่านี้จะสามารถลุกลามไปถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่นได้ด้วย
และในระหว่างที่ยังมีอาการตาแดงอยู่ ผู้ป่วยควรงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงทุกชนิด เช่น การยกของหนัก ว่ายน้ำ ดำน้ำ รวมถึงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากด้วย เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้จะกระตุ้นให้ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตารุนแรงขึ้นได้
การป้องกันเส้นเลือดฝอยในตาแตก
- หลีกเลี่ยงการใช้สายตามากเกินไป แต่หากต้องทำงานที่จำเป็นต้องเพ่งจ้องหน้าจอนานๆ ควรหาเวลาหยุดพักสายตาเป็นระยะๆ
- ไม่ขยี้ตารุนแรง และหมั่นล้างมือให้สะอาดเสมอ
- หลีกเลี่ยงการออกแรงมากเกินไป เช่น การยกของหนัก หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหม
- ควบคุมโรคที่เป็นต้นเหตุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง การไอจามเรื้อรัง
เส้นเลือดฝอยในตาแตกสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมที่คุณอาจเคยชินทุกวันอย่างการขยี้ตา หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไป คุณควรหมั่นสังเกต และบังคับตนเองให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยแตกไปมากกว่านี้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจตา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android