เต้านมโตในผู้ชาย (Breast Enlargement in Men)

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในเกือบทุกช่วงชีวิต และสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เว้นแต่จะเกิดความเจ็บปวดหรือรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เต้านมโตในผู้ชาย (Breast Enlargement in Men)

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในเกือบทุกช่วงชีวิต และสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เว้นแต่จะเกิดความเจ็บปวดหรือรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย คือภาวะที่ผู้ชายมีเนื้อเยื่อเต้านมมากกว่าปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงวัยเด็ก ช่วงวัยรุ่น หรือเมื่อสูงอายุ ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด สามารถพบอาการเต้านมโตได้ที่เต้านมข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะไขมันจับในเต้านม หรือภาวะเต้านมเทียม (Pseudogynecomastia) ที่มีสาเหตุมาจากความอ้วนและการมีไขมันจับในเนื้อเยื่อเต้านม โดยทั่วไปแล้วผู้ชายที่มีภาวะเต้านมโตไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เว้นแต่ภาวะนี้จะไปทำลายความมั่นใจ และความนับถือตนเอง ซึ่งอาจทำให้บางคนแยกตัวออกจากการทำกิจกรรมในสังคมด้วยความอาย หากเป็นกรณีนี้แพทย์จะรักษาให้ด้วยการใช้ยา หรือการผ่าตัด

อาการของผู้ชายที่มีภาวะเต้านมโต

อาการของผู้ชายที่มีภาวะเต้านมโต ได้แก่ เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น มีของเหลวไหลจากเต้านม และมีอาการกดเจ็บที่เต้านม

สาเหตุของภาวะเต้านมโตในผู้ชาย

สาเหตุสำคัญของการมีภาวะเต้านมโตในผู้ชาย คือการลดลงของเทสโทสเทอโรนที่เป็นฮอร์โมนเพศชาย ร่วมกับการมีเอสโตรเจนที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติในช่วงต่างๆ ของชีวิต และจะเกิดขึ้นในช่วงวัยทารกแรกเกิด ในเด็กที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น และในผู้สูงอายุ เรียกได้ว่าภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Andropause)

เด็กทารกแรกเกิดเพศชายที่ดูดนมแม่ มักจะมีภาวะเต้านมโต เพราะในน้ำนมแม่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก จึงอาจทำให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น และจะค่อยๆ กลับสู่สภาวะปกติเมื่อเลิกดื่มแม่

ส่วนในเด็กวัยรุ่นผู้ชาย ถึงจะมีการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนที่เป็นฮอร์โมนเพศชายอีกชนิดออกมา แต่ก็มีการผลิตเอสโตรเจนออกมาด้วย จึงอาจทำให้เกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชายได้ โดยภาวะนี้มักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและหายไปเองเมื่อระดับฮอร์โมนกลับเข้าสู่สมดุลอีกครั้ง

ส่วนภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของภาวะเต้านมโตได้แก่ เนื้องอกหรือมะเร็งอัณฑะ ภาวะตับวาย ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป และภาวะไตวาย และนอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิดอย่างสเตียรอยด์ และยาบ้า ก็ทำให้ระดับเอสโตรเจนในร่างกายสูงขึ้น จนทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การวินิจฉัยภาวะเต้านมโตในผู้ชาย

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย หมายถึงเนื้อเยื่อเต้านมจะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 0.5 เซนติเมตร ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจร่างกายที่บริเวณเต้านมและที่อวัยวะเพศ รวมถึงซักประวัติทางการแพทย์ หากยังไม่ทราบสาเหตุของภาวะนี้อย่างแน่ชัด แพทย์อาจพิจารณาให้มีการเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมนและเข้ารับตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) เพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อเต้านมและตรวจหาเนื้องอกผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในเต้านม

ในบางกรณีอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI scans) การตรวจซีทีสแกน (CT scans) การตรวจเอกซเรย์ (X-rays) หรือการเจาะเก็บชิ้นเนื้อไปตรวจในห้องปฏิบัติการ

การรักษาภาวะเต้านมโตในผู้ชาย

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย สามารถยุบลงได้เองโดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เว้นแต่จะมีสาเหตุมาจากภาวะอื่นๆ ซึ่งจะต้องมีการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุแทน เพื่อให้เต้านมยุบตัวลง ในกรณีที่ภาวะเต้านมโตทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง หรือทำให้เกิดความอับอายผู้อื่น ก็มีวิธีการรักษาดังนี้

  • การผ่าตัด : เพื่อกำจัดไขมันและเนื้อเยื่อเต้านมส่วนเกินออก ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเอาเต้านมออกได้ หากผู้ที่มีภาวะเต้านมโตซึ่งส่งผลต่อความอับอายหรือปัญหาด้านสภาพจิตใจ
  • การใช้ยา : ยาที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายอาจถูกนำมาใช้รักษาภาวะเต้านมโตในผู้ชาย เช่น Tamoxifen และ Raloxifene

ที่มาของข้อมูล

April Khan and Marijane Leonard, What Causes Breast Enlargement in Men? (https://www.healthline.com/symptom/breast-enlargement-in-men), February 24, 2016.


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Breast disorders in men. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/mens-health/breast_disorders_in_men)
Male Breast Enlargement (Gynecomastia) Symptoms, Causes, Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/men/features/male-breast-enlargement-gynecomastia#1)
Breast Enlargement in Men (Gynecomastia). Healthline. (https://www.healthline.com/health/gynecomastia#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป