สิวหัวดำ (Blackheads)

สิวหัวดำคืออะไร เกิดจากอะไร มีวิธีการรักษาและป้องกันอย่างไรบ้าง? HonestDocs มีคำตอบให้
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สิวหัวดำ (Blackheads)

สิวหัวดำคืออะไร?

สิวหัวดำเป็นสิวขนาดเล็กที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน สาเหตุที่เรียกว่าสิวหัวดำ เพราะตรงยอดมีรูเปิดและมีก้อนสีดำอุดอยู่ สิวชนิดนี้มักเกิดขึ้นที่ใบหน้า แต่ก็สามารถพบที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น

สาเหตุของสิวหัวดำ

ในแต่ละรูขุมขนจะประกอบด้วยขน 1 เส้น และต่อมไขมันที่ทำหน้าที่สร้างไขมัน ไขมันที่สร้างขึ้น เรียกว่า Sebum มีประโยชน์ในการทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาสิว ลดรอยสิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 93%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การสะสมของไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วภายในรูขุมขนจะทำให้เกิดสิวอุดตัน (Comedone) ถ้าผิวหนังด้านบนสิวอุดตันปิดอยู่จะเรียกว่าสิวหัวขาว แต่ถ้าผิวหนังด้านบนสิวอุดตันมีรูเปิดสัมผัสกับอากาศภายนอก จะทำให้สิวเปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งจะเรียกว่าสิวหัวดำ

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นสิวและสิวหัวดำ ได้แก่

  • ร่างกายผลิตไขมันหล่อเลี้ยงผิวหนังมากเกินไป
  • มีการติดเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P. acnes) ที่ผิวหนัง
  • มีการระคายเคืองของรูขุมขน ซึ่งเกิดจากเซลล์ผิวที่ตายแล้ว แต่ไม่หลุดออกจากผิวหนังอย่างที่ควรจะเป็น
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้มีการผลิตไขมันเพิ่มขึ้นในช่วงวัยรุ่น ช่วงมีประจำเดือน หรือระหว่างการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์, ลิเทียม (Lithium) หรือ แอนโดรเจน (Androgens)

บางคนเชื่อว่าอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิดก่อให้เกิดสิว เช่น อาหารและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมซึ่งเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด อาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดสิว

อาการของสิวหัวดำ

สิวชนิดนี้มีสีดำ จึงสังเกตเห็นได้ง่ายบนผิวหนัง อาจมีลักษณะนูนเล็กน้อยและไม่มีอาการเจ็บ เพราะไม่ใช่สิวอักเสบ

วิธีรักษาสิวหัวดำ

ปัจจุบันมีวิธีรักษาสิวหัวดำมากมาย ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่มีขายทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ : มีขายทั้งในรูปแบบครีม เจล และแผ่นแปะบนผิวหนัง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ประกอบไปด้วยสารที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กำจัดน้ำมันส่วนเกิน และกระตุ้นให้มีการหลุดลอกของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ตัวอย่างเช่น Salicylic acid, Benzoyl peroxide และ Resorcinol
  • ยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ : หากรักษาด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีขายทั่วไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาที่มีความแรงมากขึ้น เช่น ยาที่ประกอบไปด้วยวิตามิน A ที่มีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้รูขุมขนอุดตันและกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวใหม่ โดยเป็นยาชนิดทาบนผิวหนัง ได้แก่ Tretinoin, Tazarotene หรือ Adapalene นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งยาทาผิวหนังที่มีส่วนประกอบของยา Benzoyl peroxide และยาปฏิชีวนะกลุ่ม Tetracycline ซึ่งจะมีประโยชน์ในผู้ที่เป็นสิวหัวดำร่วมกับสิวอักเสบหรือสิวซีสต์ (Acne Cysts)
  • การกำจัดสิวหัวดำโดยใช้ที่กดสิว : แพทย์ผิวหนังหรือผู้ที่ผ่านการอบรมด้านการรักษาผิวพรรณ จะใช้อุปกรณ์กดสิวที่เรียกว่า Round Loop Extractor ในการกดสิวอุดตันหัวดำออก โดยเริ่มจากการเปิดรูขุมขนที่อุดตันออกเป็นรูเล็กๆ และใช้อุปกรณ์กดสิวดังกล่าวออกแรงกดลงบนผิวหนังเพื่อเอาสิวอุดตันออก
  • การกรอผิวด้วยผลึกแร่ที่ละเอียดมาก (Microdermabrasion) : แพทย์จะใช้อุปกรณ์ชนิดพิเศษที่มีพื้นผิวหยาบขัดผิว เพื่อลอกเอาหนังกำพร้าชั้นบนสุดออก ซึ่งจะช่วยขจัดการอุดตันของรูขุมขนที่เป็นสาเหตุของสิวหัวดำ
  • การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical peels) : การลอกผิวจะใช้สารเคมีเข้มข้นทาลงบนผิวหนัง โดยทิ้งระยะเวลาไว้สักครู่หนึ่งเพื่อให้ผิวหนังกำพร้าชั้นบนสุดถูกลอกออก แม้ผลิตภัณฑ์สำหรับลอกผิวที่ไม่รุนแรงจะหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่แนะนำให้รักษาจากแพทย์ผิวหนังจะได้ผลที่ดีกว่า
  • การใช้เลเซอร์และแสงในการรักษาสิว (Laser and Light Therapy) : วิธีนี้ใช้เพื่อลดการผลิตน้ำมันบนผิวหนัง และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนังชั้นนอกสุด
  • การรักษาด้วยความเย็น (Cryotherapy)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาสิว ลดรอยสิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 93%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดูผลหลังการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 4 ถึง 6 สัปดาห์ขึ้นไป ถ้าไม่ได้ผลหรือแย่ลง จึงจะพิจารณาเปลี่ยนยารักษา 

หลังจากสิวยุบหมดแล้ว อาจจะให้ผู้ป่วยใช้ยาทาต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การป้องกันการเกิดสิวหัวดำ

คุณสามารถป้องกันการเกิดสิวหัวดำด้วยตัวเองได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  • ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง : ล้างหน้าทุกวันก่อนเข้านอนและหลังตื่นนอน เพื่อกำจัดน้ำมันและสิ่งสกปรก แนะนำให้ล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนและมีส่วนประกอบของสารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P. acnes ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิว
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ทาหน้าที่ปราศจากน้ำมัน : แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ครีมบำรุง โลชั่น และผลิตภัณฑ์กันแดดที่ปราศจากน้ำมันหรือไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน (Noncomedogenic) เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของสิวแย่ลง
  • ลองใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว (Exfoliating Product) : การผลัดเซลล์ผิวด้วยการสครับผิว (Scrubs) และการใช้มาสก์ผลัดเซลล์ผิว จะช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและช่วยลดสิวอุดตัน

14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ngan, V. Oakley, A. DermNet New Zealand (2014). Comedonal Acne. (https://www.dermnetnz.org/topics/acne-vulgaris/)
Kraft J, Freiman A. (2011). Management of acne. CMAJ,183 (7), pp. E430-E435. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21398228)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป