สิวในจมูก

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สิวในจมูก

สิวที่ขึ้นในจมูกนัน้นอาจจะทำให้เกิดความรำคาญหรืออาจจเป็นอาการของการติดเชื้อภายในจมูก ดังนั้นการทำความเข้าใจความแตกต่างและวิธีในการดูแลสิวที่ติดเชื้อจะช่วยลดโอกาสที่จะแพร่เชื้อหรืออาการแย่ลงได้

สาเหตุ

ผิวหนังของคุณนั้นมีรูขุมขนอยู่มากมายและมักจะเป็นที่อยู่ของเซลล์ขน ใต้ผิวหนัง รูขุมขนนั้นจะมีต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ำมันเพื่อช่วยทำให้ผิวหนังและขนนั้นนุ่ม  บางครั้งรูขุมขนนั้นก็อาจจะอุดตันจากน้ำมันที่มากเกินไปหรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเมื่อมันเริ่มสะสมอยู่ในรูขุมขนก็จะทำให้เกิดสิว ถึงแม้ว่าส่วนมากสิวนั้นมักจะเกิดบนใบหน้า แต่ก็อาจจะเกิดภายในจมูกนั้น  รูขุมขนนั้นไม่เพียงแต่มีน้ำมันส่วนเกินเท่านั้นแต่ยังมีแบคทีเรียที่สามารถเดินทางเข้ามาในรูขุมขนและทำให้เกิดรอยแดง การระคายเคืองและการอักเสบที่ทำให้สิวนั้นปวดขึ้นมาได้ แบคทีเรียเหล่านี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในจมูกเช่น nasal vestibulitis และ nasal furuncles

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 

Nasal vestibulitis นั้นเป็นภาวะที่ทำให้เกิดตุ่มนูนแดงอักเสบ หรือเป็นกลุ่มของตุ่มที่มีสีแดงหรือขาวส่วนมากมักจะพบที่รูจมูก และมักเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus นิสัยต่างๆ เช่นการแคะจมูกหรือการสั่งน้ำมูกบ่อยเกินไปสามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้

Nasal furuncles นั้นเป็นการอักเสบในชั้นที่ลึกกว่า และมีความรุนแรงมากกว่าเพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะ cellulitis ซึ่งเป็ฯการติดเชื้อที่ผิวหนังที่ลามอย่างรวดเร็วและอาจจะเข้าสู่กระแสเลือดได้ ภาวะนี้จะทำให้ผิวหนังนั้นบวม แดง และในบางกรณีอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เชื้อที่มักจะทำให้เกิดโรคนี้เช่น Staphylococcus และ Streptococcus รวมถึงสายพันธุ์ที่ดื้อยา ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นเนื่องจากรักษาได้ยากและมีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ในบางราย

สิวที่มีการติดเชื้อภายในจมูกนั้นอาจจะเป็นอันตรายได้เนื่องจากเส้นเลือดภายในจมูกนั้นสามารถนำเลือดเข้าสู่สมองได้ และอาจจะเกิดภาวะ cavernous sinus thrombosis ได้แม้ว่าจะพบได้น้อย ภาวะนี้เกิดจากการที่ฝีที่ติดเชื้อในจมูกนั้นทำให้เกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำขนาดใหญ่ที่ฐานของกะโหลกที่ชื่อ cavernous sinus

อาการที่พบประกอบด้วย

  • ปวดหรือปวดหัว
  • การมองเห็นผิดปกติ
  • ง่วงนอน
  • ตาบวม
  • มองเห็นภาพซ้อนและปวดตา
  • รูม่านตามีขนาดไม่เท่ากัน
  • มีไข้สูงผิดปกติ

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

หากคุณมีสิวในจมูก ควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีปัญหาในการมองเห็นหรือเห็นภาพซ้อน
  • มึนศีรษะ
  • ผื่นแดง บวม และเจ็บที่เกิดหลังจากมีไข้
  • มีอาการสับสนฉับพลัน
  • รูม่านตาไม่เท่ากัน
  • หากสิวด้านในจมูกนั้นมีอาการแย่ลงหรือปวดมากขึ้นควรไปพบแพทย์

การวินิจฉัย

  • แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นเช่น
  • ในตอนแรกนั้นมีลักษณะอย่างไร และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
  • มีอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิวที่เกิดขึ้นในจมูกหรือไม่
  • คุณเริ่มสังเกตเห็นตั้งแต่เมื่อไหร่
  • มีเลือดหรือหนองออกมาจากสิวหรือไม่
  • แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและดูสิว อาจมีการตรวจทางรังสีวินิจฉัยเช่นการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยระบุอาการของการติดเชื้อภายใน
  • แพทย์ยังอาจจะมีการเจาะเลือดไปตรวจและอาจจะเก็บตัวอย่างของสารที่อยู่ภายนสิว เพื่อดูเชื้อที่ก่อโรค หากพบว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียก็สามารถใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมได้

การรักษา

การรักษาสิวภายในจมูกนั้นขึ้นกับสาเหตุ สิวส่วนมากมักจะหายไปได้เองด้วยการดูแลที่บ้านและต้องใช้เวลา การติดเชื้อแบคทีเรียนั้นมักจะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เช่นการใช้ยาแบบทา การติดเชื้อที่รุนแรงนั้นอาจจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำ

ในบางกรณี อาจจะต้องใช้การผ่าตัดเพื่อป้องกันการบวม

การดูแลที่บ้าน

  •  การใช้ยาลดการอักเสบนั้นอาจจะช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากการที่มีสิวในจมูกได้ เช่น พาราเซตามอลและ ibuprofen
  •  การประคบอุ่นที่จมูกระหว่าง 15-20 นาทีวันละ 3 ครั้งนั้นสามารถช่วยลดอาการปวดและความไม่สบายตัวที่เกิดจากสิวได้
  •  การแกะ เกา หรือพยายามที่จะบีบสิวนั้นจะทำให้รูขุมขนนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้น ควรปล่อยให้สิวนั้นหายเองโดยไม่ไปยุ่งกับมันเพื่อป้องกันอาการที่อาจจะรุนแรงในอนาคต

การป้องกัน

 หลีกเลี่ยงการแคะจมูกหรือการสั่งจมูกแรงๆ บ่อยๆ จะช่วยป้องกันการระคายเคืองถายในจมูกที่อาจทำให้เกิดสิวได้


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน, สิวเสี้ยน ตอนที่ 1 (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=479), 21/8/2560

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)