ตารางการฉีดวัคซีนในทารกแรกเกิดถึงเด็ก 16 ปี

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 16 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

หลายคนมีความสับสนระหว่างวัคซีนกับเซรุ่ม ซึ่งทำให้หาข้อมูลและตัดสินใจกันผิดๆ ฉะนั้นบทความนี้จะมาไขความกระจ่างให้เข้าใจว่าวัคซีนคืออะไรกันแน่

วัคซีนคืออะไร?

การฉีดวัคซีน คือ การฉีดเชื้อโรคชนิดนั้นเข้าสู่ร่างกาย แต่เป็นเชื้อโรคที่ถูกฆ่าแล้วหรือเป็นเชื้อโรคที่ถูกทำให้สงบแล้ว ไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งเมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย มันจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ย์ (ภูมิคุ้มกัน) ซึ่งเมื่อสร้างได้แล้วภูมิคุ้มกันนี้จะอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ทำให้มีภูมิต้านทานโรคนั้นๆ บางชนิดแอนติบอดี้ย์จะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต คือฉีดครั้งเดียวก็พอ บางชนิดจะอยู่นาน 10 ปี หรือ 20 ปี เมื่อครบช่วงเวลาก็ต้องฉีดวัคซีนเพิ่มอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

มาตราฐานการฉีดวัคซีนในประเทศไทย

  • ทารกแรกเกิด - วัคซีนบีซีจี (BCG) ป้องกันวัณโรค
  • ทารกอายุ 2 เดือน และ 4 เดือน- วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน, ฮิปวัคซีน
  • ทารกอายุ 9 เดือน - วัคซีนป้องกันโรคหัด
  • เด็กอายุ 15 เดือน - วัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) ป้องกันหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
  • อายุ 18 เดือน - วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน
  • อายุ 2 ปี - วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์
  • อายุ 3 ปี - วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ และให้ฉีดทุก 3 ปี
  • อายุ 4-6 ปี - วัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก, โปลิโอชนิดกิน
  • อายุ 14-16 ปี - วัคซีน ดี ที ชนิดผู้ใหญ่

นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอื่นๆ เช่น วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ฯลฯ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนบาดทะยักคืออะไร จำเป็นต้องฉีดไหม ใครควรฉีดบ้าง ราคาเท่าไร?


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Travel vaccinations. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/travel-vaccinations/)
Why do I now agree with vaccination? My experience. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323254)
Thailand - Traveler view | Travelers' Health. Centers for Disease Control and Prevention. (https://wwwnc.cdc.gov/travel/destinations/traveler/none/thailand)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
บาดทะยัก
บาดทะยัก

บาดทะยัก เชื้อร้ายจากบาดแผลที่ร้ายแรงกว่าที่คิด

อ่านเพิ่ม