ประวัติ ความเป็นมา ของการแพทย์แผนไทย โดยใช้ศาสนาต่าง ๆ ประกอบการอธิบาย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ประวัติ ความเป็นมา ของการแพทย์แผนไทย โดยใช้ศาสนาต่าง ๆ ประกอบการอธิบาย

ในการศึกษาความเป็นมาของการแพทย์แผนไทย จำเป็นต้องทำความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งการเกิดของการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนเดิมของประเทศต่าง ๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย จึงขออธิบายความเป็นไปตามยุคต่าง ๆ ของทั่วโลก โดยใช้ศาสนาต่าง ๆ ประกอบการอธิบาย


ยุคศาสนาพราหมณ์

a1.gif ก่อนที่จะมีศาสนาพุทธ ประชาชนโดยทั่วไปทุกมุมโลก ยังมีความเชื่อต่าง ๆ เช่น พระเจ้าภูตผีปีศาจ ซึ่งในแถบเอเชีย เชื่อในพระกฤษณะ และพระพรหม สำหรับที่อินเดียเป็นยุคของศาสนาพราหมณ์ มีตำราการแพทย์ที่มีชื่อเสียงเรียกว่า SAMHITA ได้ถูกเขียนขั้นเมื่อ 743 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นรากฐานทางการแพทย์แผนเดิมของอินเดีย เรียก Ayunvedic Medicine ส่วนที่บริเวณแผ่นดินแถบเอเชียซึ่งเรียกว่า แหลมทอง มีอาณาจักรที่เด่น และมีการบันทึกกล่าถึงไว้ คือ อาณาจักรฟูนัน เป็นชุมชนที่บริเวณแผ่นดินสยาม ซึ่งเชื่อว่าน่าจะอยู่กันแบบชุมชนโบราณ และมีคามเชื่อเรื่องผี เชื่อในลัทธิพราหมณ์จวบจนศาสนาพุทธเกิดขึ้น จึงมีการเผยแพร่ความรู้แนวพุทธมายังแผ่นดินสยามนี้ ในราวปี พ.ศ. 200-600 ณ อาณาจักรทวาราวดี


ยุคศาสนาพุทธ

a1.gif ในยุคนี้การแพทย์อายุรเวทของอินเดียมีความรุ่งเรืองมาก แม้จะถูกครอบครองโดยกรีก ถึง 150 ปี (เมื่อ 350 ปีก่อนคริสกาล) และมีการกระจายของความเชื่อต่าง ๆ จากตะวันตกไปสู่ตะวันออกหรือจากตะวันออกไปสู่ตะวันตก และเชื่อว่าความรู้เรื่องธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เรียกว่ามหาภูตรูป 4 ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ ได้มีการเผยแพร่ไปยังกรีก จนอาจกล่าวได้ว่า Hipocretis ค้นพบ ธาตุดินหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ ซึ่งยังคงเป็นข้อถกเถียงกันว่าผู้ใดพบก่อนกัน แต่อย่างก็ตามอาจสรุปได้ว่า ในสมัย 543 ปีก่อนคริสตกาลความรู้เรื่องธาตุ 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เป็นองค์ประกอบของร่างกาย เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นยูโรปหรือเอเชีย

ไทยได้รับความรู้เหล่านี้มากับพุทธศาสนา โดยที่ประเทศอินเดียในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังประเทศไทย  ในยุคทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคที่การแพทย์อายุรเวทของอินเดียได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา มีการพัฒนาจนรุ่งเรืองและมีการเขียนคัมภีร์ชื่อ CA  ขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 200 ในยุคเดียวกันนี้ชาวไทยหรือชุมชนชาวสยามบนแหลมทองส่วนใหญ่ยังมีการนับถือผี และเจ้า แต่ส่วนหนึ่งก็คงรับเอาศาสนาพุทธมาเป็นแนวปฏิบัติ ดังนั้น จึงเชื่อว่า แนวคิดแบบพุทธในเรื่องขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมทั้งความรู้เรื่องธาตุ 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปในขันธ์ 5 ได้ถูกประยุกต์ในการแพทย์พื้นบ้าน และสะสมประสบการณ์มายาวนานในการใช้สมุนไพร และการใช้อาหารปรับสมดุลของธาตุทั้ง 4 ดังจะเห็นได้ในตำราใบลานที่เขียนไว้เสอมถึงข้อห้ามและของแสลง เมื่อกล่าวถึงธาตุต่าง ๆ

ต่อมาในราว ค.ศ. 450 ไทยมีอาณาจักรเด่น ๆ 2 แห่ง คือ อาณาจักรศรีวิชัย และละโว้ซึ่งเป็นตำนานได้กล่าวถึง พระนางจามเทวีซึ่งถูกส่งไปครองเมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูน) ได้นำหมอยา 500 คน พร้อมทั้งศิลปและวัฒนธรรมไปแลกเปลี่ยนผสมผสานกับวัฒนธรรมล้านนาของอาณาจักรล้านนาเป็นที่น่าสังเกตว่าได้มีหมอยาขึ้นแล้วในสมัยนั้น ต่อมาในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ (ระหว่างปี ค.ศ.800-1100) ได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้รวบรวมหอมพื้นบ้านจัดตั้งเป็นโรงพยาบาล เรียกว่า อโรคยศาลา โดยในศิลาจารึกได้กล่าวถึงโรงพยาบาลว่า มีคนในพื้นที่เป็นหัวหน้า มีหมอ 2 คน พยาบาล 2 คน มีเภสัช มีนักสถิติ และนักหุงต้มรวมเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 98 คน จะเห็นได้ว่าอัตรากำลังมากกว่าโรงพยาบาลขนาด 10 เตียงในปัจจุบันเสียอีก จากศิลาจารึกได้บรรยายถึงเหตุผลของการตั้งโรงพยาบาลดังกล่าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่รต้องการทะนุบำรุงราษฎรหลังศึกสงคราม ซึ่งกิจวัตรประจำวันของอโรคยศาลา คือ ตอนเช้ามีการบวงสรวงพระโภสัชยคุรุไวฑูรย์ประภาด้วยอาหารและยา แล้วนำมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่มารับบริการ ประเด็นนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า ชุมชนในแผ่นดินสยามตั้งแต่อีสานเหนือจดอีสานใต้ เคยมีโรงพยาบาล ซึ่งรวมกลุ่มให้บริการทางการแพทย์โดยหมอพื้นบ้านชาวสยามนี่เอง ซึ่งหากมีการนำหมออินเดียมาให้การรักษาก็คงจะมีการบันทึกไว้แล้วและการแพทย์สมัยนั้นจะอิงหลักความเชื่อของชีวิตตามศาสนาพุทธลัทธิมหายานผสมผสานกับความเชื่อในการแพทย์พื้นบ้านแต่ละภูมิภาค

a1.gif สำหรับอินเดียในยุคเดียวกันนี้ราว ค.ศ. 1192 การแพทย์แบบอายุรเวทได้ถูกทำลายลงโดยชาวมุสลิม ซึ่งเข้าครองครองอินเดีย มีการทำลายพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ พร้อมกับเผยแพร่การแพทย์แบบ ยูนานิ (Unani) เข้าไปแทนที่ มีการตั้งโรงพยาบาลยูนานิขึ้นนับเป็นยุคมืดของการแพทย์แบบอายุรเวท และถูกกดต่อเนื่องไปถึง 600 ปี ทำให้การแพทย์อายุรเวท มีการใช้หลงเหลืออยู่ในชุมชนหรือชนบท รวมทั้งภาคเอกชนเท่านั้น จนถึงปี ค.ศ. 1857 อินเดียได้ถูกครอบครองโดยอังกฤษ ทำให้การแพทย์แผนตะวัตตกได้เผยแพร่เข้ามาในอินเดีย จนเมื่อได้รับเอกราชแล้ว อินเดียจึงได้หันกลับมาใช้ภูมิปัญญาเดิม โดยฟื้นฟูการแพทย์อายุรเวทขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1904
 


a1.gif สำหรับแผ่นดินสยาม หลังจากสิ้นยุคเจ้าชัยวรมันที่ 7 อโรคยศาลาได้เสื่อมลม และสลายไปด้วยอิทธิพลทางการเมืองเพราะขอมเริ่มเสื่อมอำนาจ และพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ไม่นับถือศาสนาพุทธ จึงไม่สนับสนุนอโรคยศาลาอีกต่อไป ประกอบกับศาสนาพุทธลัทธิหินยานได้เผยแพร่จากลังกามาสู่ไทย คำถามจึงมีอยู่ว่าหมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทั้งหมดหายไปไหน มีบทบาทอย่างไรต่อไป

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
A survey of the training of traditional, complementary, and alternative medicine in universities in Thailand. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6366357/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป