การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองคือการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) คือสภาวะที่หลอดเลือดแดงมีไขมันอุดตัน, ความดันโลหิตสูง และระดับคอเลสเตอรอลสูง โรคต่างๆ เหล่านี้คือปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำในอนาคต

อาหาร

อาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพราะว่าอาหารเหล่านี้จะทำให้ความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้

ดังนั้นอาหารไขมันต่ำ มีใยอาหารสูง คืออาหารที่แนะนำ ซึ่งรวมถึงผักและผลไม้ (5 ส่วนต่อวัน) และธัญพืชไม่ขัดสีด้วย

เพราะฉะนั้นคุณต้องมั่นใจว่าอาหารที่รับประทานมีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพคือสิ่งสำคัญ ไม่รับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีเกลือสูงและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีแปรรูปอาหารแล้ว

คุณควรจำกัดปริมาณเกลือที่รับประทานไม่ให้เกิน 6 กรัมต่อวัน เพราะการรับประทานเกลือมากเกินไปจะเพิ่มความดันโลหิตได้ ปริมาณเกลือ 6 กรัมเทียบเท่าเกลือประมาณ 1 ช้อนชา

การออกกำลังกาย

การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำคือวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี และการออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับคนโดยทั่วไป คือ ออกกำลังกายชนิดแอโรบิกที่มีความหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ (2 ชั่วโมง 30 นาที) เช่น ปั่นจักรยาน หรือเดินเร็ว

หากคุณฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองแล้ว คุณควรปรึกษาทีมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายที่ดูแลคุณเกี่ยวกับแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ การออกกำลังกายเป็นประจำอาจไม่เหมาะสมในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์แรกหรือ 1 เดือนแรกหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แต่คุณควรเริ่มออกกำลังกายเมื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

หยุดสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างชัดเจน เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบและทำให้มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดมากขึ้น

ถ้าคุณหยุดสูบบุหรี่ได้ คุณจะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ การไม่สูบบุหรี่ยังช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น มะเร็งปอด และโรคหัวใจ ด้วย

สำหรับประเทศไทย คุณสามารถขอรับคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ได้จากสายด่วน 1600

ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตสูงและกระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation)) ซึ่งล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานสูง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากอย่างต่อเนื่องจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 3 เท่า

หากคุณเลือกที่จะยังคงดื่มแอลกอฮอล์อยู่หลังหายจากโรคหลอดเลือดสมองแล้ว คุณควรจำกัดปริมาณการรับประทาน ดังนี้:

  • ผู้ชายและผู้หญิง แนะนำให้ดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 14 หน่วยต่อสัปดาห์
  • หากคุณดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 14 หน่วยสัปดาห์ ขอให้กระจายการดื่มให้ได้อย่างน้อย 3 วันหรือมากกว่านั้น

หากคุณยังฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองไม่เต็มที่ คุณยังไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเท่าที่เขียนไว้ข้างต้น เพราะปริมาณที่เขียนคือปริมาณขีดจำกัดสำหรับคนทั่วไปซึ่งมากเกินไปสำหรับตัวคุณ

การดูแลรักษาโรคอื่นๆ ที่กำลังเป็นอยู่

หากคุณได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation), เบาหวาน หรือ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischaemic attack (TIA)) ดังนั้นคุณต้องมั่นใจว่าโรคต่างๆ เหล่านี้ได้รับการควบคุมเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่กล่าวถึงข้างต้นยังสามารถช่วยควบคุมอาการของโรคดังกล่าวไม่ให้เป็นเพิ่มขึ้นได้ แต่คุณก็ยังจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/stroke#prevention


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stroke Prevention: Get Facts About Diet and Medication. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/stroke_prevention/article.htm)
Preventing Stroke: What You Can Do. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/stroke/prevention.htm)
7 things you can do to prevent a stroke. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/womens-health/8-things-you-can-do-to-prevent-a-stroke)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)