โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยง โดยถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และจำเป็นต้องรักษาโดยรีบด่วน เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าใด จะลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้มากเท่านั้น

บทนำโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคหลอดเลือดสมองคือภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และจำเป็นต้องรักษาโดยรีบด่วน เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าใด จะลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้มากเท่านั้น

หากคุณสงสัยว่าตัวคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลทันทีที่เบอร์ 1669

อาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมอง

อาการหลักของโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้:

  • อาการที่ใบหน้า-อ่อนแรงที่ใบหน้าครึ่งซีก ผู้ป่วยอาจไม่สามารถยิ้มได้ หรือปากเบี้ยว มุมปากตก
  • อาการที่แขน-ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองอาจไม่สามารถยกแขนขึ้นได้ เพราะมีอาการอ่อนแรงหรือชาที่แขนข้างใดข้างหนึ่ง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด-พูดไม่ชัด พูดติด พูดไม่ได้ หรือผู้ป่วยอาจไม่สามารถพูดคุยสื่อสารได้แม้ว่าจะตื่นอยู่ก็ตาม

หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลทันทีที่เบอร์ 1669

ทำไมจึงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

สมองก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนและสารอาหารจากเลือดเพื่อใช้ในการทำงานอย่างถูกต้อง หากเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกขัดขวาง (สมองขาดเลือด) ทำให้เซลล์สมองตาย สมองได้รับความเสียหาย เกิดความพิการ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมองมีอยู่ 2 ชนิด คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (ischaemic)-เกิดขึ้นจากการที่เส้นเลือดในสมองมีลิ่มเลือดเกิดขึ้น ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกขัดขวางนำไปสู่ภาวะสมองขาดเลือด(พบประมาณ 85% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด)
  • โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (haemorrhagic)-เกิดขึ้นจากเส้นเลือดที่อ่อนแอในสมองเกิดการแตกขึ้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเตือนที่เรียกว่า ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischaemic attack (TIA)) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสมองมีการขาดเลือดชั่วคราว มักมีอาการประมาณ 30 นาที จนถึงหลายชั่วโมง แล้วหายไป เมื่อมีอาการเตือนนี้จะต้องรีบทำการรักษาทันที เพราะอาการเตือนนี้หมายความว่าคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในระยะเวลาอันใกล้นี้

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ในประเทศสหราชอาณาจักร โรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญ โดยในแต่ละปีจะมีคนมากถึง 110,000 คน ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองในประเทศอังกฤษ และถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 3 อันดับแรก รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง และความเสียหายของสมองที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองคือสาเหตุหลักของความพิการในผู้ใหญ่ในประเทศสหราชอาณาจักร

สำหรับในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองคือสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจ

ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากสุด แต่ว่าโรคนี้ก็สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุ รวมถึงในเด็กด้วย

หากคุณเป็นชาวเอเชียใต้, ชาวแอฟริกัน หรือชาวแคริบเบียน คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนอื่น เพราะคนในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

การสูบบุหรี่ น้ำหนักตัวมาก ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่เป็นประโยชน์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับ การมีระดับคอเลสเตอรอลสูง มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) และเป็นผู้ป่วยเบาหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคหลอดเลือดสมองรักษาได้อย่างไร

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองจะขึ้นกับชนิดของโรคหลอดเลือดสมองที่คุณเป็น รวมไปถึงบริเวณของสมองที่ได้รับผลกระทบและสาเหตุของการเกิดโรคด้วย

ส่วนใหญ่แล้วโรคหลอดเลือดสมองจะรักษาด้วยการใช้ยา ได้แก่ ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและช่วยละลายลิ่มเลือด ยาลดความดันโลหิต และยาลดระดับคอเลสเตอรอล

ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการบวมของสมองและลดความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกเพิ่มเติมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (haemorrhagic strokes)

การใช้ชีวิตหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจะเสียชีวิต ส่วนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่มักจะเกิดปัญหาในระยะยาวตามมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นที่สมอง

ผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นเวลานานก่อนที่จะฟื้นตัวกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ในขณะที่ผู้ป่วยหลายๆ รายไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่และจะต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพื่อให้ตัวผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้

ตัวอย่างเช่น ผู้ดูแลต้องเข้ามาที่บ้านของผู้ป่วยเพื่อช่วยซักผ้าและแต่งตัวให้กับผู้ป่วย  หรือมาอยู่เป็นเพื่อนกับผู้ป่วย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยช่วยเหลือคุณได้ ได้แก่ นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักบำบัดเรื่องการพูด พยาบาลผู้เชี่ยวชาญ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่

คุณสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยการมีวิถีชีวิตของการมีสุขภาพที่ดี เช่น รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะและไม่สูบบุหรี่

การลดความดันโลหิตสูงและการลดระดับคอเลสเตอรอลด้วยการใช้ยา จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมาก เช่นเดียวกับการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหากคุณมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation)

หากคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหมายความว่าคุณจะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ที่มา : https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/stroke


32 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stroke: Causes, symptoms, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/7624)
Benjamin Wedro, MD, FACEP, FAAEM , Stroke (https://www.medicinenet.com/stroke_symptoms_and_treatment/article.htm).
Types of Stroke. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/stroke/types_of_stroke.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)